พบผลลัพธ์ทั้งหมด 433 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป. และจ. ป. และ จ. ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป. และ จ. ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป. กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป. ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป. กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไรซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้วการที่ จ. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก.สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ. เองจ. ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ป. ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลผูกพันทางกฎหมาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดินให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความในบันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทความผิดจากกฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ หลังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงสถานะยา
ภายหลังจำเลยกระทำผิดแล้วได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่วันที่16 ตุลาคม 2539 กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1แม้จะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 เนื่องจากมีอัตราโทษเบากว่าความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ ก็ตาม การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต กับความผิดฐานมีเมทแอมเฟ-ตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นความผิดคนละบทมาตรากัน หามีบทใดเป็นบทเฉพาะแก่กันไม่ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย และที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ.มาตรา 90 ซึ่งต้องปรับบทความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย และเมื่อปรากฏว่าภายหลังที่จำเลยกระทำความผิด ได้มีประกาศกระทรวง-สาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) กำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันมีผลทำให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ในคดีนี้ไม่เกิน 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ซึ่งมีอัตราโทษที่เบากว่าฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิ จึงเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ.มาตรา 3 กรณีจึงต้องปรับบทความผิดตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 ด้วย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องเด็กคืนจากบุคคลที่มิใช่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย และการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงชัดเจน
คำว่า "บุคคลอื่น" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1567(4) หมายถึง บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร ดังนั้นเมื่อจำเลยกับโจทก์มิใช่สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ ทั้งมิได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย และไม่มีสิทธิตามมาตรา 1567(1) ถึง (14) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ คู่ความมีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างตามคำฟ้องหรือคำให้การของตนแสดงให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ตนกล่าวอ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างในคำฟ้องและคำให้การเห็น ได้ชัดแจ้งแล้ว คู่ความก็ไม่จำต้องนำพยานเข้าสืบอีก เพราะแม้จะสืบพยานศาลก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การได้อีก ในกรณีเช่นนี้ศาลมีอำนาจสั่งให้ งดสืบพยานได้ คำร้องขอเพิ่มคำฟ้องฎีกาซึ่งเพิ่มประเด็นจากคำฟ้องฎีกาฉบับเดิม ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 247 ที่จะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาเดียวกันการยื่นคำฟ้องฎีกา หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกคืนบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครอง และผลของการยื่นเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเกินกำหนด
บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดา มารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1)ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้ จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกบุตรคืน – ผู้ใช้อำนาจปกครอง – การเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาพ้นกำหนด
บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (4) หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งได้แก่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร
จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย ย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามกฎหมาย ย่อมไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1567 (1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้
คำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นจากฎีกาเดิมจะต้องยื่นภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวนี้แล้วจะขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาไม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาของจำเลยไว้ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว แม้คดีใหม่อ้างครอบครองปรปักษ์ก็ไม่ต่างกัน
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวาเป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยวินิจฉัยแล้วเด็ดขาด แม้มีการอ้างเหตุครอบครองปรปักษ์ก็ไม่เปลี่ยนแปลง
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นบุตร และสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะ และขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที 1 สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ตั้งครรภ์ภายหลังได้เสียกับโจทก์และจำเลยที่ 2 เกิดแต่จำเลยที่ 1 ขณะเป็นภริยาโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุตรโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เฉพาะประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์อีก แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานใหม่ คือ ระบบการตรวจเลือด ดี.เอ็น.เอ. เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์หรือไม่เป็นเพียงการกล่าวอ้างพยานหลักฐานใหม่เพื่อนำสืบในประเด็นซึ่งคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าว ก็หาอาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในคดีนี้จึงชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนต่อสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ว่า โจทก์ไม่เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยจำเลยที่ 1 ได้ขอให้ทางสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะ เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถเบิกจ่ายจาก ทางราชการได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิสามีเป็น ผู้เบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตร แต่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้สมาคมฯ จึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ร้องต่อศาลขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวเพื่อใช้สิทธิเบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตรจากทางราชการ การที่จำเลยที่ 1ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ดังกล่าวเป็นการร้องขอความช่วยเหลือตามสิทธิแห่งกฎหมาย เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นสามีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้