พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างหลังเลิกกิจการ: ผู้ชำระบัญชียังมีหน้าที่ชำระหนี้สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย
แม้ร้านสหกรณ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จำกัด จำเลยที่ 1 จะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511มาตรา 89 ให้ถือว่ายังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีสภาพการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่1 ยังไม่สิ้นสุดลง การเป็นนายจ้างลูกจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่สิ้นสุดลงโดยการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 และเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยยังมิได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงมีหน้าที่จัดการชำระหนี้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา90 และ 94 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ดังกล่าวจึงหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังเลิกกิจการ: ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ค่าจ้างให้ลูกจ้าง แม้กิจการจะเลิกแล้ว
แม้ร้านสหกรณ์โรงงานกระดาษบางปะอิน จำกัด จำเลยที่ 1 จะได้เลิกกิจการไปแล้วก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 89 ให้ถือว่ายังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีของผู้ชำระบัญชีสภาพการเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่1 ยังไม่สิ้นสุดลง การเป็นนายจ้างลูกจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่สิ้นสุดลงโดยการเลิกกิจการของจำเลยที่ 1 และเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยยังมิได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีจึงมีหน้าที่จัดการชำระหนี้แก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 90 และ 94 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีชำระหนี้ดังกล่าวจึงหาเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์เลิกกิจการ ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลเพื่อชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้สินแก่ลูกจ้าง
สหกรณ์แม้จะได้เลิกกิจการไปแล้ว ก็ยังถือว่าคงดำรง อยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ดังนั้นสภาพการเป็นนิติบุคคลของสหกรณ์ยังไม่สิ้นสุดลง นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างของสหกรณ์กับสหกรณ์นายจ้างจึงหาได้สิ้นสุดลงไม่ การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ผู้ชำระบัญชี มีหน้าที่สะสาง ติดตามทรัพย์สินของสหกรณ์ที่มีอยู่มาจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จะถือว่านายจ้างผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างทวงถามเมื่อใดแล้วลูกจ้างก็ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและคำขอบังคับในคดีแรงงาน ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากเจตนาชัดเจน แม้ไม่แก้ไขคำขอบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่า จำเลยได้หักเงินสะสมไว้เป็นรายเดือนในระหว่างปฏิบัติงาน โจทก์ควรได้เงินสะสมดังกล่าวแต่จำเลยไม่จ่ายให้ แม้โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้รับกับคำฟ้องที่แก้ไขก็ตามแต่ตามเนื้อความที่ขอแก้ไขนั้นแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ได้แจ้งชัดว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเรียกร้องเงินสะสมจากจำเลย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้ครบถ้วนเพียงเท่านี้ไม่ถือว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้วพิพากษาหรือสั่งตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องที่ศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น หาเป็นการพิพากษาหรือสั่งที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 52 ไม่
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 และมาตรา 56.
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 และมาตรา 56.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและขอบเขตการบังคับคดีในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้ แม้ไม่แก้ไขคำขอบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่า จำเลยได้หักเงินสะสมไว้เป็นรายเดือนในระหว่างปฏิบัติงาน โจทก์ควรได้เงินสะสมดังกล่าวแต่จำเลยไม่จ่ายให้ แม้โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้รับกับคำฟ้องที่แก้ไขก็ตามแต่ตามเนื้อความที่ขอแก้ไขนั้นแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ได้แจ้งชัดว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเรียกร้องเงินสะสมจากจำเลย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้ครบถ้วนเพียงเท่านี้ไม่ถือว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้วพิพากษาหรือสั่งตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องที่ศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น หาเป็นการพิพากษาหรือสั่งที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 52 ไม่
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31 และมาตรา 56
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31 และมาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องพิจารณาจากเหตุตามคำร้องเท่านั้น ศาลมิอาจนำเหตุอื่นนอกคำร้องมาวินิจฉัยได้ และประเด็นเรื่องอำนาจมอบอำนาจต้องยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ ส. หรือ อ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้อง ดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่า ผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้น ข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใด ศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสีย จะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่.
นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง เมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใด ศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะ เมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสีย จะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่.
นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง เมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, เหตุเลิกจ้าง, การพิจารณาข้อเท็จจริงนอกคำร้อง: ศาลฎีกาตัดสินให้ยกคำร้องเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลที่อาศัยไม่ตรงกับคำร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงว่าผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้ร้องไม่เคยมอบอำนาจให้ส.หรืออ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องดังนี้ประเด็นในคำคัดค้านจึงมีเพียงว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้ดำเนินคดีนี้หรือไม่เท่านั้นข้อที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะตราที่ประทับในหนังสือนั้นมิใช่ตราของผู้ร้องและมิใช่ตราที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้. เหตุขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างตามคำร้องของนายจ้างเป็นประการใดศาลแรงงานชอบที่จะพิจารณาแต่เหตุนั้นโดยเฉพาะเมื่อเหตุตามคำร้องรับฟังไม่ได้ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องเสียจะนำเหตุที่มิใช่ข้ออ้างไว้อันเป็นเหตุนอกคำร้องนอกประเด็นมาพิจารณาแล้วยกเอาเหตุนั้นมาเป็นข้อเลิกจ้างหาชอบด้วยกระบวนพิจารณาไม่. นายจ้างขออนุญาตเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยอ้างเหตุว่าสินค้าของนายจ้างสูญหายเกิดจากลูกจ้างทุจริตหรือเกิดจากการร่วมทุจริตกับผู้อื่นหรือเกิดจากการประมาทเลินเล่อของลูกจ้างเมื่อเหตุตามคำร้องฟังไม่ได้ศาลแรงงานกลางจะยกเอาเหตุที่ลูกจ้างเคยทำคำแถลงการณ์ในลักษณะชักชวนให้พนักงานกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชามาเป็นเหตุเลิกจ้างไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและสิทธิการได้รับค่าชดเชย รวมถึงดอกเบี้ยตามคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47 ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการเลิกจ้างกันแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ ส่วนนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้หรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ
การกระทำของลูกจ้างแม้มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ตามข้อบังคับหรือระเบียบวินัยเกี่ยวกับการทำงาน แต่ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 483 นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยตั้งแต่วันฟ้องการที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินต้นค่าชดเชยตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยที่ไม่ปรากฏเหตุใด ๆ เพื่อความเป็นธรรม จึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5037/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นกับการรับผิดในค่าจ้าง: ต้องมีฐานะนายจ้างตามกฎหมาย จึงจะรับผิดได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 เป็นบทบังคับให้ผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างมีหน้าที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้างของลูกจ้างในหนี้เงินบางประเภทดังที่กำหนดไว้มิได้หมายความว่าผู้รับเหมาชั้นต้นมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างไปด้วย สภาพของการเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยและจำเลยให้การว่ามิได้เป็นนายจ้าง ไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ หากโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ข้อ 7 ก็ชอบที่จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงฐานะของจำเลยให้แจ้งชัด ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า แม้จำเลยมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ก็ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นนั้น เป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องและคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงาน ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมและจ่ายค่าจ้างในระหว่าง ถูกเลิกจ้าง เป็นการฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งมีประเด็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่น การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยล่วงเลยไปด้วยว่าความผิดของโจทก์ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์โดยที่โจทก์มิได้มีคำขอมาด้วย เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง และไม่ใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานกลางจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอได้ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31