คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บริษัทเสียหาย โดยอาศัยระเบียบข้อบังคับเดิมที่ใช้บังคับ ณ วันเกิดเหตุ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบของจำเลยเนื่องจากโจทก์ขับรถจำเลยชนกับรถผู้อื่นโจทก์เห็นว่าคำสั่งและระเบียบของจำเลยดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การต่อสู้ว่าระเบียบและคำสั่งของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นจึงมีว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
โจทก์ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุก่อนที่ระเบียบฉบับใหม่ของจำเลยจะใช้บังคับระเบียบฉบับใหม่จึงไม่มีผลบังคับสำหรับกรณีโจทก์ คดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าระเบียบฉบับใหม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ กรณีต้องบังคับตามระเบียบฉบับเดิมซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและใช้บังคับในขณะเกิดอุบัติเหตุ เมื่อได้ความว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งระเบียบฉบับเดิมระบุโทษให้ไล่ออกฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าระเบียบของจำเลยฉบับใหม่ไม่มีผลบังคับในกรณีของโจทก์ การกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้อ้างมาในฟ้อง จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานโดยอาศัยระเบียบข้อบังคับบริษัท การบังคับใช้ระเบียบที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และการประเมินความเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบของจำเลยเนื่องจากโจทก์ขับรถจำเลยชนกับรถผู้อื่น โจทก์เห็นว่าคำสั่งและระเบียบของจำเลยดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรมจำเลยให้การต่อสู้ว่าระเบียบและคำสั่งของจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และชอบด้วยกฎหมายแล้ว เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นจึงมีว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่
โจทก์ขับรถไปเกิดอุบัติเหตุก่อนที่ระเบียบฉบับใหม่ของจำเลยจะใช้บังคับระเบียบฉบับใหม่จึงไม่มีผลบังคับสำหรับกรณีโจทก์ คดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าระเบียบฉบับใหม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ กรณีต้องบังคับตามระเบียบฉบับเดิมซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและใช้บังคับในขณะเกิดอุบัติเหตุ เมื่อได้ความว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงซึ่งระเบียบฉบับเดิมระบุโทษให้ไล่ออกฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าระเบียบของจำเลยฉบับใหม่ไม่มีผลบังคับในกรณีของโจทก์การกระทำของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่มิได้อ้างมาในฟ้อง จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างคนต่างด้าว - หน้าที่ขออนุญาตทำงาน - การคิดค่าเสียหายจากความผิดสัญญา
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่จำเลยรับจะจัดการขออนุญาตทำงานให้แก่โจทก์ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าว เป็นเพียงแต่จำเลยรับจะเป็นผู้ไปดำเนินการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตของโจทก์เท่านั้น เป็นคนละเรื่องกับการเป็นผู้ขออนุญาตนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 10
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องร่วมกันรับผิดจ่ายเงินเดือนและค่าครองชีพให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนและค่าครองชีพนั่นเอง ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างคนต่างด้าว ความรับผิดของผู้จ้างในการขออนุญาตทำงาน และการพิพากษาค่าเสียหายที่สอดคล้องกับคำฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ที่จำเลยรับจะจัดการขออนุญาตทำงานให้แก่โจทก์ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าว เป็นเพียงแต่จำเลยรับจะเป็นผู้ไปดำเนินการติดต่อกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตของโจทก์เท่านั้นเป็นคนละเรื่องกับการเป็นผู้ขออนุญาตนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มาตรา 10
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างอันเนื่องมาจากความผิดของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยต้องร่วมกันรับผิดจ่ายเงินเดือนและค่าครองชีพให้แก่โจทก์ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนและค่าครองชีพนั่นเองที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างมิใช่การเลิกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาพักงาน
การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ตามสัญญาจ้างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอาจเป็นเพราะเกรงว่าจะทำให้งานของนายจ้างเสียหาย จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตลอดเวลาที่สั่งพักงานนั้น และเงินนี้เป็นค่าจ้างมิใช่ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาทเมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.33 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงานลูกจ้างมิใช่การเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาพักงาน
การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง โจทก์จำเลยยังคงเป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ตามสัญญาจ้าง การพักงานเป็นเพียงนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานอาจเป็นเพราะเกรงว่าจะทำให้งานของนายจ้างเสียหาย จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างตลอดเวลาที่สั่งพักงานนั้น และเงินนี้เป็นค่าจ้างมิใช่ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างระหว่างถูกพักงานเป็นเงิน 22,403 บาท เมื่อได้ความว่าค่าจ้างระหว่างโจทก์ถูกพักงานเป็นเงิน 23,343.73 บาท ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน 23,343.33 บาทตามความเป็นธรรมที่โจทก์ควรจะได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3306/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การพิสูจน์การลาพักผ่อนเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาค่าชดเชย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ความจริงโจทก์ไม่ได้ไปทำงานเพราะได้ขอลาพักผ่อนประจำปีต่อจำเลยแล้ว ดังนี้ข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องมีว่า โจทก์ได้ขอลาพักผ่อนประจำปีต่อจำเลยแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรดังนั้นการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยจึงต้องขาดงานไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการชี้ขาดตัดสินคดีนอกฟ้องนอกประเด็นและเมื่อศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ขอลาพักผ่อนประจำปีต่อจำเลยแล้วหรือไม่ จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมายไปทีเดียวได้จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุและการคำนวณค่าชดเชย: ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง, ค่ายังชีพภาคใต้ไม่รวม
การที่จำเลยมีระเบียบการให้พนักงานออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นเพียงการกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงจ้างพนักงานโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ (ฉบับที่ 5)ข้อ 2 จะมีข้อความว่าการเลิกจ้างให้หมายความรวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายด้วย แต่ต่อมาประกาศดังกล่าว (ฉบับที่ 6) ข้อ 2 ไม่มีข้อความนี้ก็ตาม ก็หาใช่เป็นเรื่องประกาศ (ฉบับที่ 6) มิได้ประสงค์ให้ถือว่าการที่ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่
เมื่อจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนเป็นประจำเพราะเห็นว่าค่าจ้างไม่สมดุลย์กับภาวะการครองชีพ อันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของพนักงานให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่ายังชีพภาคใต้ให้เฉพาะพนักงานใน 14 จังหวัดภาคใต้เท่านั้นเป็นการจ่ายโดยถือลักษณะของท้องที่ที่พนักงานเหล่านั้นประจำทำงานเป็นเกณฑ์ เมื่อพนักงานย้ายออกนอกเขต 14 จังหวัดดังกล่าวก็จะไม่ได้รับค่ายังชีพต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยในค่าชดเชยคงเรียกดอกเบี้ยจากค่าเสียหายเท่านั้น ที่ศาลแรงงานฯ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยเมื่อเกษียณอายุ และฐานคำนวณค่าชดเชย (ค่าจ้าง, ค่าครองชีพ)
การที่จำเลยมีระเบียบการให้พนักงานออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์เป็นเพียงการกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงจ้างพนักงานโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ (ฉบับที่ 5) ข้อ 2 จะมีข้อความว่าการเลิกจ้างให้หมายความรวมทั้งกรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายด้วย แต่ต่อมาประกาศดังกล่าว (ฉบับที่ 6) ข้อ 2 ไม่มีข้อความนี้ก็ตาม ก็หาใช่เป็นเรื่องประกาศ (ฉบับที่ 6) มิได้ประสงค์ให้ถือว่าการที่ลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุมิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่
เมื่อจำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่พนักงานทุกคนเป็นประจำเพราะเห็นว่าค่าจ้างไม่สมดุลย์กับภาวะการครองชีพ อันเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานของพนักงานให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงถือได้ว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายค่ายังชีพภาคใต้ให้เฉพาะพนักงานใน 14 จังหวัดภาคใต้เท่านั้นเป็นการจ่ายโดยถือลักษณะของท้องที่ที่พนักงานเหล่านั้นประจำทำงานเป็นเกณฑ์ เมื่อพนักงานย้ายออกนอกเขต 14 จังหวัดดังกล่าวก็จะไม่ได้รับค่ายังชีพต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้เรียกร้องดอกเบี้ยในค่าชดเชยคงเรียกดอกเบี้ยจากค่าเสียหายเท่านั้น ที่ศาลแรงงานฯ พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากมีมลทินมัวหมอง มิใช่จากความจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ศาลยืนค่าชดเชยตามสิทธิ
โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเป็นผู้มีมลทินมัวหมอง มิใช่เพราะกระทำผิดตามข้อกล่าวหาว่า ประพฤติตนไม่สมควร แอบอ้างชื่อผู้ใหญ่ไปเรียกและรับค่าตอบแทนในการวิ่งเต้นช่วยเหลือบุคคลเข้าเป็นพนักงาน ติดต่อกับพนักงานอื่นให้ช่วยเหลือบุคคลเข้าทำงานโดยจะให้เงินเป็นค่าตอบแทน ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามข้อ 47(2) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ อันจำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความย่อมมีอำนาจพิพากษาเกินกว่าคำขอบังคับได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอค่าชดเชยมา 18,120 บาท อันเป็นการคำนวณผิดพลาด โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 18,180 บาท การที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ 18,180 บาท จึงเป็นการชอบแล้ว
of 116