พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1318-1319/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯหมายถึงการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดตามที่ระบุไว้ ไม่มีข้อความยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษมิให้ถือว่า การที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุครบเกษียณอายุตามกฎหมายมิใช่เป็นการเลิกจ้าง และพนักงานจะครบเกษียณอายุเมื่อมีอายุเท่าใดอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกฎหมายและระเบียบของนายจ้าง จึงหาใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของนายจ้างหาได้จำกัดแต่เฉพาะจ่ายแก่พนักงานที่เลิกจ้างเท่านั้นไม่ พนักงานที่ลาออกโดยไม่มีความผิดใด ๆ และทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ หรือพนักงานที่ถึงแก่กรรมโดยการถึงแก่กรรมนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ก็มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายแตกต่างกับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โดยมีลักษณะเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนที่ลูกจ้างทำงานตลอดมาจนออกจากงานลาออก หรือถึงแก่กรรม อันเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เงินบำเหน็จจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างมิใช่ค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯเมื่อไม่จ่ายย่อมถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน เมื่อผิดนัดก็ต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเป็นเงิน 33,900 บาทแต่ลูกจ้างฟ้องขอค่าชดเชยมา 33,600 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง 33,900 บาท ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรมแรงงานต่อการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และข้อจำกัดการวินิจฉัยนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นอยู่ในกรมแรงงาน การปฏิบัติงานของสำนักงานนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีอธิบดีกรมแรงงานเป็นประธาน เมื่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนปฏิบัติงานเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ กรมแรงงานต้องรับผิด ในการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนนั้นด้วยโจทก์จึงชอบ ที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ ไม่ต้องฟ้องกรรมการทุกคน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจ้างพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้ม เป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูง อยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียดโรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะ ทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาตดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อ ความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจ้างพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้ม เป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูง อยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียดโรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะ ทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาตดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อ ความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ศาลต้องวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในคำฟ้องเท่านั้น
สำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้นอยู่ในกรมแรงงาน การปฏิบัติงานของสำนักงานนี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ซึ่งมีอธิบดีกรมแรงงานเป็นประธานต้องรับผิดในการกระทำของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนนั้นด้วย โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องกรมแรงงานได้ ไม่ต้องฟ้องกรรมการทุกคน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจายพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้มเป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียด โรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาต ดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน และให้กรมแรงงานจำเลยจ่ายเงินทดแทนและค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทนอ้างว่าโจทก์เดินไปเข้าห้องส้วมตามกระดานที่นายจายพาดไว้ไม่เรียบร้อย โจทก์หกล้มเป็นอัมพาต แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว มาทำงานล่วงเวลาหลายวันทำให้เกิดความเคร่งเครียด โรคความดันโลหิตสูงทวีความรุนแรงขึ้น ในที่สุดล้มป่วยลงขณะทำงานให้นายจ้างและเป็นอัมพาต ดังนี้ จะวินิจฉัยว่าโจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานมิได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 52 ไม่เข้าข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอได้หากเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในคำฟ้อง
แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในกรณีเลิกจ้าง โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้ามาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจที่จะพิพากษาเกินคำขอ โดยให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์คนละ 15 วันในคดีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอเพื่อความเป็นธรรมในคดีเลิกจ้าง
แม้โจทก์มิได้ขอค่าจ้างในกรณีเลิกจ้างโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้ามาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจที่จะพิพากษาเกินคำขอ โดยให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างแก่โจทก์คนละ15 วันในคดีดังกล่าวได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรม