พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายในคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยตามสิทธิเรียกร้อง แม้บทกฎหมายที่อ้างไม่ตรงกับสถานะนายจ้าง
คำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาหากครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะอ้างบทกฎหมายอันเป็นการอ้างกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับแก่กิจการของจำเลยก็ตาม แต่ในการวินิจฉัยคดี ศาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการปรับบทกฎหมายเพื่อให้ตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ คดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องโดยเรียกร้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ เป็นการพิพากษาที่ถูกต้องตามบทกฎหมายที่อ้างถึงข้างต้นแล้ว จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194-2195/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาชี้ การพิจารณาคำร้องเลิกจ้างต้องพิจารณาประเด็นการกระทำผิดระเบียบข้อบังคับจริง และเหตุผลในการเลิกจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 โดยอ้างว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าผู้คัดค้านทั้งสองได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวของผู้ร้องหรือไม่และหากผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีมีเหตุอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองด้วยการเลิกจ้างได้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาหลักฐานเพื่อฟังข้อเท็จจริงว่าผู้คัดค้านทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องหรือไม่แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่าสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองด้วยการเลิกจ้างหรือไม่เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยที่ตรงประเด็นแห่งคดีแล้ว และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการสอบสวนของผู้ร้องรายงานมา คำสั่งของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 51วรรคหนึ่งและมาตรา 52 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9380/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การนำเอกสารข้อมูลธุรกิจออกนอกบริษัท ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง แต่ศาลแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ย
โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางธุรกิจของจำเลยนำเอกสารซึ่งข้อความในเอกสารเป็นศัพท์เฉพาะที่โจทก์แปลจากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยเพื่อความสะดวกในการลงบัญชีและเพื่อชี้แจงหรือตอบคำถามของผู้สอบบัญชีเอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสำคัญตามกฎหมายที่มีไว้สำหรับแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้เอกสารจะมีราคาทุนและราคาสินค้าอันเป็นข้อมูลทางธุรกิจการค้าของจำเลยที่ปกปิดมิให้บุคคลภายนอกล่วงรู้ แต่โจทก์ก็มิได้นำเอกสารดังกล่าวนี้ไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก การที่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นออกไปนอกบริษัทจำเลยเพื่อประกอบการศึกษางานโดยมิได้นำไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้มีคำขอมาในคำฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา52 ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยในค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้มีคำขอมาในคำฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา52 ซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9021/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำอนาจารของกรรมการผู้จัดการไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากเป็นการกระทำส่วนตัว
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมอ้างว่าถูก ช. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์กระทำอนาจารจนจำเลยไม่อาจทนอยู่ปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยปกติสุขได้ ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลย โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ที่จำเลยอ้างว่า ช. กระทำอนาจารเป็นความเท็จ โจทก์ไม่เคยกระทำการอันไม่เป็นธรรมหรือกระทำตามที่จำเลยกล่าวอ้าง จำเลยออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวให้โจทก์ทราบ คดีจึงมีประเด็นว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงหรือไม่ และการกระทำของ ช. มีผลทำให้ถือได้ว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าแม้คดีจะฟังได้ว่า ช. กระทำอนาจารจำเลยจริงก็เป็นเพียงการกระทำความผิดในทางอาญาและเป็นการกระทำโดยส่วนตัวของ ช. ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานแทนบริษัทโจทก์ ไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน เป็นการวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้ว
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด ฯลฯ เมื่อ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำอนาจารของ ช. เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ ทั้งมิได้เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้จำเลยทนทำงานได้อีกต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด ฯลฯ เมื่อ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า การกระทำอนาจารของ ช. เป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัว ไม่ใช่การกระทำในหน้าที่การงานในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ ทั้งมิได้เป็นการกระทำเพื่อไม่ให้จำเลยทนทำงานได้อีกต่อไป จึงไม่เป็นการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลแรงงานกลาง และการอุทธรณ์ดุลพินิจค่าเสียหายในคดีแรงงาน
ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่) มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลแรงงานกลาง จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ที่บัญญัติว่า "ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โจทก์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้นก็ได้ ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลแรงงานกลาง เมื่อศาลแรงงานกลาง สั่งรับคดีนั้นไว้พิจารณาแล้ว ให้ศาลแรงงานกลางออกไปนั่งพิจารณาพิพากษา ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น" ในปัจจุบันศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด จากบทบัญญัติดังกล่าวศาลแรงงานกลางย่อมมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานได้ทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดเชียงใหม่)ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกไปนั่งพิจารณาพิพากษาคดีนี้ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอุทธรณ์โดยแสดงเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับไม่ถึง 60,000 บาท และศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายโดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆ ที่โจทก์นำสืบ ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแสดงว่าประสงค์ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ แต่ไม่ได้กำหนดไว้ให้ชัด ศาลฎีกาจึงกำหนดให้ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, การคำนวณดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย และการใช้สิทธิฟ้องร้องของลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายซึ่งคำนวณแล้วเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงาน และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายเพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท แต่ต้องถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดไม่เคลือบคลุม
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
แม้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาท"ก็ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้
การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับมาพอให้วินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยาน เป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี อุทธรณ์จำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความของจำเลยภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. จึงผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายเป็นหนี้เงิน ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458-6461/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาท การแถลงรับข้อเท็จจริง และดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
โจทก์ทั้งสี่บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ในอัตราวันละ 30 บาท โจทก์แต่ละคนได้รับเฉลี่ยเดือนละ 780 บาท ต่อมาจำเลยไม่จ่ายค่าเชื่อมมิกซ์ซึ่งคำนวณแล้วโจทก์แต่ละคนได้รับเป็นเงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงิน ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยจ่ายค่าเชื่อมมิกซ์เพียงอัตราเดือนละ 500 บาท ทั้งที่ในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับเดือนละ 780 บาท ก็ตาม ก็ถือได้แน่นอนว่าโจทก์เรียกร้องเงินจำนวนนี้ตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสี่ไม่เคลือบคลุม
แม้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงาน จดประเด็นข้อพิพาท" ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมดังที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 29 หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วก็ถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความ ภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความมีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา อันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. ทนายจำเลยจึงต้องผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์ทั้งสี่เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้าง ส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และ 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งบิดเบือนข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดเป็นจำนวนเงินไว้แล้ว หนี้ดังกล่าวต้องชำระเป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วัน ผิดนัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็น ผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใด จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
แม้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 จะใช้คำว่า "ให้ศาลแรงงาน จดประเด็นข้อพิพาท" ก็มิใช่บทบังคับศาลเด็ดขาดให้ต้องจดประเด็นข้อพิพาททุกคดี คงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะจดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ก็ได้ เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรมดังที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 29 หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้วก็ถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่คู่ความทำได้ เมื่อจำเลยตั้ง ภ. เป็นทนายความ ภ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความมีสิทธิกระทำการแทนจำเลยเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา อันรวมถึงการแถลงรับข้อเท็จจริงด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำแถลงรับของ ภ. ทนายจำเลยจึงต้องผูกพันจำเลยด้วย
โจทก์ทั้งสี่เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางและชักชวนให้ลูกจ้างอื่นร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงานและฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเนื่องจากจำเลยปรับลดค่าจ้างโดยไม่มีอำนาจ การกระทำของโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าจ้าง ส่วนที่จำเลยปรับลดอันเป็นค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และ 54 และใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นของจำเลยกระทำตามก็เป็นการชักชวนให้ลูกจ้างอื่นใช้สิทธิตามกฎหมายเช่นกัน การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อุทธรณ์ของจำเลยซึ่งบิดเบือนข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องเรียกมา ศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดเป็นจำนวนเงินไว้แล้ว หนี้ดังกล่าวต้องชำระเป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ซึ่งจำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายนับแต่วัน ผิดนัดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ใช่หนี้เงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็น ผู้ผิดนัดและรับผิดชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ต่อเมื่อลูกจ้างทวงถาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใด จึงต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรมศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิพากษานอกประเด็น และการวินิจฉัยปรับบทฐานปลอมเอกสารในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ข้อที่ไม่รับกันจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลแรงงานกลางจดไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ทำการทุจริต จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ผลแห่งการเลิกจ้างจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์อันเป็นผลของการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้จึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น. ขอเบิกเงินค่ามัดจำคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิก เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างการที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยให้การก็ชอบที่จะวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าเป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การไว้หรือไม่ด้วย การไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทำบันทึกขอเบิกเงินค่ามัดจำเสื้อฟอร์มของ น. คืนและทำใบเบิกจ่ายเงินเสนอผู้บังคับบัญชาระบุว่า น. ขอเบิกเงินค่ามัดจำคืนโดยลงชื่อ น. ในใบเบิกจ่ายเงินช่องผู้ขอเบิกทั้ง ๆ ที่ น. ไม่มีสิทธิเบิกและไม่ได้ขอเบิก เป็นทั้งการทุจริตต่อหน้าที่และกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างการที่ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้กระทำการตามที่จำเลยให้การก็ชอบที่จะวินิจฉัยปรับบทด้วยว่าเป็นการปลอมเอกสารใบเบิกจ่ายเงินอันเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามที่จำเลยให้การไว้หรือไม่ด้วย การไม่วินิจฉัยปรับบทดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานขับรถที่ดื่มสุราก่อนทำงาน ไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่วินิจฉัยและมีคำสั่งว่าการที่โจทก์เลิกจ้าง ป. เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ให้โจทก์รับ ป. กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานตั้งเป็นประเด็นว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวหรือไม่แต่กลับวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 วรรคหนึ่ง แล้วพิพากษายกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 หรือไม่ เป็นการวินิจฉัยปรับบทกฎหมายไม่ตรงกับคำฟ้องและประเด็นแห่งคดีที่กำหนดไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส. ที่บ้านของ ส. ต่อมา ป. เข้าทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติ แต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้ฟังไม่ได้ว่า ป. มึนเมาในขณะทำงาน แต่เมื่อ ป. ดื่มสุราก่อนมาทำงาน เพียงไม่นาน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเข้าใจได้ว่า ป. มึนเมาสุรา โจทก์เลิกจ้าง ป. ด้วยเหตุนี้ มิใช่โจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากเหตุต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งเอกสารพัสดุภัณฑ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ป. เป็นพนักงานขับรถส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภาคพื้นดินของโจทก์ได้ดื่มสุรากับ ส. ที่บ้านของ ส. ต่อมา ป. เข้าทำงานที่บริษัทโจทก์โดยอาการหน้าแดงและพูดเสียงดังกว่าปกติ แต่ ป. มีหน้าที่ขับยานพาหนะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือบริษัทโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ แม้ฟังไม่ได้ว่า ป. มึนเมาในขณะทำงาน แต่เมื่อ ป. ดื่มสุราก่อนมาทำงาน เพียงไม่นาน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเข้าใจได้ว่า ป. มึนเมาสุรา โจทก์เลิกจ้าง ป. ด้วยเหตุนี้ มิใช่โจทก์เลิกจ้าง ป. เนื่องจากเหตุต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีประเด็นสัญญาจ้างและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ค่าเสียหายตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ไม่ผ่านการทดลองงานการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์เอกสารสัญญาจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็เพื่อวินิจฉัยตามคำท้าว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีการทดลองงานหรือไม่ และการที่ศาลแรงงานพิเคราะห์คำว่าพนักงานทดลองงานและคำว่าพนักงานสัญญาจ้างในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานโดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน แต่มิใช่เป็นการทดลองงานเป็นการวินิจฉัยคดีตรงตามคำท้าว่าจำเลยจ้างโจทก์โดยมีการทดลองงานหรือไม่แล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากจำเลยแพ้คดีตามคำท้าถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ หมายความว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีตามคำท้าแล้ว จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานและจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานต้องใช้ดุลพินิจกำหนดให้โดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ด้วย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเต็มตามฟ้องให้แก่โจทก์ โดยมิได้พิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ชอบสมควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวต่อไป