คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 52

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6535-6775/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และการคำนวณค่าต่างๆ
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 และ 103 และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท. มิได้บังคับว่ามติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานที่ให้ยื่นข้อเรียกร้องจะต้องมีรายละเอียดว่าให้เรียกร้องสิ่งใดเช่น ค่าจ้าง สวัสดิการ เป็นจำนวนเท่าไร และตั้งใครเป็นผู้แทนในการเจรจา ตามที่จำเลยอ้าง ดังนั้น มติที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงาน ท. ที่เพียงแต่ระบุให้สหภาพแรงงาน ท. ยื่นข้อเรียกร้องซึ่งเป็นกิจการอันมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของสมาชิกไว้ลอย ๆ โดยไม่มีรายละเอียดดังกล่าว จึงเป็นมติที่ชอบตาม มาตรา 103 (2) และข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ท.
ข้อความที่ว่า "ประธานกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาเราไม่ได้ยื่นข้อเรียกร้องเลย ฉะนั้นในปีนี้เราจำเป็นจะต้องยื่นข้อเรียกร้องก่อนสิ้นปี 2539 นี้ จึงอยากให้ที่ประชุมลงมติว่าเราจะยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่ยื่น" มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าเป็นเพียงคำกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลของประธานต่อที่ประชุมใหญ่ว่าเพราะเหตุใดจึงขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะให้ยื่นข้อเรียกร้องหรือไม่เท่านั้น หาได้หมายความว่าให้ที่ประชุมลงมติว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในสิ้นปี 2539 ด้วยไม่ เมื่อที่ประชุมใหญ่มิได้ลงมติไว้อย่างชัดแจ้งว่าให้ยื่นข้อเรียกร้องภายในปี 2539 และไม่มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องกระทำในระยะเวลาใด สหภาพแรงงาน ท. จึงสามารถยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยได้ภายในระยะเวลาอันสมควร ที่ประชุมใหญ่ลงมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2539 จนถึงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ไม่ปรากฏว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้ยื่นข้อเรียกร้องมาก่อน การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ท. เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2540 จึงเป็นการยื่นข้อเรียกร้องโดยมติของที่ประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว
การที่สหภาพแรงงาน ท. ทำหนังสือแจ้งข้อพิพาทแรงงานให้พนักงานประนอมข้อพิพาททราบตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 21 ในวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ โดยไปยื่นต่อ ส. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเวรประจำที่ทำการของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน จึงถือได้ว่าสหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อพิพาทแรงงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานแล้ว
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อจำเลยไม่ยอมจ่ายย่อมถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันเลิกจ้างโดยมิพักต้องเรียกร้องหรือทวงถาม จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ที่ 19 ถึงที่ 241 ตั้งแต่วันเลิกจ้าง และเพื่อความเป็นธรรมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 18 นับแต่วันเลิกจ้างด้วย แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ได้อุทธรณ์ก็ตาม
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้าง และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวหรือไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการทำงานระงับสิ้นเมื่อมีสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ ศาลพิพากษาเกินฟ้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงานและอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 5 ในส่วนนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่ 1ที่เกิดจากการทำงาน และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลังคือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4638/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันระงับสิ้นเมื่อสัญญาหลักเปลี่ยนแปลง และการพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีแรงงาน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า จำเลยที่ 5 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และต่อมาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินค่าสินค้าไม่ส่งมอบให้โจทก์อันเป็นความเสียหายจากการทำงาน ซึ่งจำเลยที่ 5 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน และอธิบดีผู้พิพากษาแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ในส่วนนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดดังกล่าว ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่เกิดจากการทำงานและความผิดของจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงาน จึงระงับสิ้นไป ทั้งฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่าโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับหลัง คือหนี้ที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่ขอให้บังคับตามสัญญาค้ำประกันการทำงาน การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันการทำงานจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ไม่มีการนำสืบรายละเอียดวิธีการคำนวณ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่16 มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้ไม่มีการนำสืบจำนวนเงินโดยละเอียด ศาลวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2 บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9317/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและการบังคับใช้กฎหมายแรงงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ จำนวน 1 เดือน กับ 16 วัน เป็นเงิน 107,333 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบถึงวิธีการคิดคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่มีพยานโจทก์คนใดเบิกความถึงเงินจำนวนตามฟ้องเลยก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างอัตราค่าจ้างเดือนละเท่าใด สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ และจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่เท่าใดโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ย่อมเพียงพอที่ศาลแรงงานจะวินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่เพียงใด ไม่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากที่คู่ความนำสืบไว้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 และตามมาตรา 2บัญญัติให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2541 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 164 ที่บัญญัติให้คดีที่ยังอยู่ ในระหว่างการพิจารณาของศาลให้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย หรือประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมซึ่งออกตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 จนกว่าคดีนั้น ๆ จะถึงที่สุด การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยคดีนี้ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7646/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าจ้างค้างจ่ายรายวันจากอัตราจ้างรายเดือน โดยอ้างอิงอัตรา 30 วันต่อเดือน ตามกฎหมาย
โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2539 แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 จึงขาดไป โจทก์ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนซึ่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดให้นับเป็นอย่างอื่น จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคท้าย ให้ถือว่า เดือนหนึ่งมี 30 วัน
โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 37,500 บาท หารด้วย 30 เป็นค่าจ้างวันละ 1,250 บาท แต่เนื่องจาก ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ 56,250 บาท ซึ่งเท่ากับให้จำเลยชำระค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2539 ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 จำเลยจึงต้องชำระค่าจ้างเพิ่มอีก 2 วัน คิดเป็นเงิน 2,500 บาท แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในข้อนี้ แต่คำฟ้องโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2540 มาด้วยแล้ว จึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายค่าจ้างส่วนนี้ให้โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174-7185/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การพิสูจน์เหตุเลิกจ้าง และขอบเขตอำนาจศาลในการพิพากษาค่าชดเชยเกินคำขอ
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่วง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9 ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่สืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสองแต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาท มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน40,500 บาท ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาท แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาท แม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าวศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง-ค่าชดเชย: ศาลแรงงานพิจารณาพยานหลักฐานและคำนวณค่าชดเชยผิดพลาด
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานมิได้นำเหตุผลที่โจทก์ทั้งสิบสองกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างมาพิจารณา แต่นำคำเบิกความของพยานที่ไม่เกี่ยวกับการเลิกจ้าง มาเป็นเหตุผลในการตัดสินคดี เมื่อนำคำพยานจำเลยมาพิจารณาจะเห็นได้ว่าเป็นเพียงคำชี้แจงถึงผลที่จะตามมาถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง มิใช่เป็นคำสั่งเลิกจ้าง คำพูดดังกล่าวเป็นการพูดขณะที่มีอารมณ์โกรธ มิใช่คำสั่งเด็ดขาดว่าหากไม่พิมพ์ลายนิ้วมือให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง อีกทั้งไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่เป็นช่าง 8 คน ด้วยในวันเดียวพร้อม ๆ กัน และโจทก์ทั้งสิบสองจงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำเลยและได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏชัดว่า โจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 3 มิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ขณะโจทก์ที่ 4 ถึงโจทก์ที่ 7 และโจทก์ที่ 9ถึงโจทก์ที่ 12 ถูกจำเลยเลิกจ้าง มิได้เป็นผู้ได้ยินหรือทราบข้อความโดยตรงในเหตุการณ์ดังกล่าว คำเบิกความของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 3 จึงเป็นพยานบอกเล่า ศาลมิอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ดี และโจทก์ทั้งสิบสองมีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนมิอาจรับฟังน้ำหนักให้พอที่จะเชื่อได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง ศาลจึงมิอาจจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสิบสองก็ดี แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบสอง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 13,500 บาทมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน คิดเป็นเงิน 40,500 บาทศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 12,150 บาทแต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จำนวน 72,900 บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 36,450 บาทแม้จำเลยอุทธรณ์ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 40,500 บาท ตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าว ศาลก็ต้องพิพากษาให้ตามที่โจทก์มีสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715-4716/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522บัญญัติเรื่องการจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้เป็นไปโดยประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การจดประเด็นข้อพิพาทและการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 39 ประกอบมาตรา 50 ได้บัญญัติให้อำนาจศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกัน หรือให้คู่ความนำพยานมาสืบ หรือมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้เสมอก่อนที่ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฟัง ทั้งนี้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 29,38,42,43 และมาตรา 45 การที่ศาลแรงงานสอบข้อเท็จจริงก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น หลังจากศาลแรงงานจดประเด็นข้อพิพาทแล้ว ศาลแรงงานจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์และจำเลยเตรียมข้อเท็จจริงทั้งในสำนวนและพยานหลักฐานที่จะใช้สนับสนุนข้ออ้างข้อเถียงให้พร้อมเพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายยอมรับได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีพยานหลักฐานแสดงต่อศาลแรงงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทั้งจำเลยยังมีพยานบุคคลเป็นพยานอีก 1 ปาก พยานจำเลยย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่าพยานโจทก์ การที่ศาลแรงงานรับฟังคำกล่าวอ้างของโจทก์ว่าโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ตามคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยอ้างว่า โจทก์ทุจริตโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่แอบอ้างบุคคลหลายคนแต่งตั้งเป็นสมาชิกของจำเลยแล้วสั่งซื้อสินค้าไปจากจำเลยเป็นจำนวนมาก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระจำเลยเรียกให้บุคคลที่โจทก์แอบอ้างชำระหนี้ ปรากฏว่าสมาชิกบางรายไม่มีตัวตน บางรายไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกและไม่เคยสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างหรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ในการแต่งตั้งสมาชิก ต่อสมาชิกดังกล่าวสั่งซื้อสินค้าจากจำเลย และค้างชำระค่าสินค้า เมื่อปรากฏว่า การที่สาวจำหน่ายทั้งสิบคนที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระนั้น โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแม้ในการแต่งตั้งสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. โจทก์ได้จดบันทึกข้อมูลตามคำบอกเล่าของบุคคลดังกล่าวลงในทะเบียนแต่งตั้งโดยโจทก์มิได้ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ตาม แต่เมื่อเป็นคนละกรณีกับสาวจำหน่ายที่ชื่อ ก. และ ร. ตามที่จำเลยฟ้องแย้ง โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งแก่จำเลย
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างฟ้องจำเลยผู้เป็นนายจ้างต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินทดรองจ่าย แม้จำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าทุจริตต่อหน้าที่ และจำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการที่สาวจำหน่ายที่โจทก์แต่งตั้งได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยและมียอดหนี้ค้างชำระจากโจทก์ ก็เป็นเพียงการฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระเท่านั้น ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา นอกจากนี้คดีอาญาซึ่งจำเลยแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของพนักงานอัยการหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นการที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีนี้โดยไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงชอบแล้ว
of 116