พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมีไว้ซึ่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การกระทำโดยรู้เห็นเป็นใจและการพิสูจน์ความผิด
กัญชาของกลางมีน้ำหนักสุทธิ 1,900 กิโลกรัม ก่อนที่ ส.ผู้ร่วมกระทำผิดอีกคนหนึ่งจะไปรับจำเลยมาดูกัญชาของกลางที่บ้านเกิดเหตุ ส. ได้นำกัญชาของกลางซึ่งมีจำนวนมากมาเก็บไว้ที่บ้านเกิดเหตุด้วยวิธีการอันเร้นลับ บ้านดังกล่าวมีกำแพงทึบประตูเข้าก็เป็นบานทึบแน่นหนามีคนเฝ้าระแวดระวังอยู่ตลอดเวลายากที่บุคคลภายนอกทั่วไปจะล่วงรู้และเข้าไปได้ การที่ ส. ขับรถยนต์ไปรับจำเลยจากโรงแรมพามายังบ้านเกิดเหตุและขึ้นไปตรวจดูกัญชาของกลางบนบ้านชั้นสอง ซึ่งเป็นที่เก็บกัญชานานประมาณ 10 นาทีแล้วลงมาพร้อมกับ ส.นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้มีส่วนรู้เห็นและร่วมกับ ส. นำกัญชาของกลางมาเก็บไว้ที่บ้านเกิดเหตุ และได้ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาของกลางเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3326/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันมีไว้ซึ่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การกระทำที่แสดงเจตนาในการรู้เห็นและร่วมมือ
กัญชาของกลางจำนวนมากมีน้ำหนักสุทธิ 1,900 กิโลกรัมก่อนที่ ส. ผู้ร่วมกระทำผิดอีกคนหนึ่งจะไปรับจำเลยมาดูกัญชาของกลางที่บ้านเกิดเหตุ ส. ได้นำกัญชาของกลางมาเก็บไว้ที่บ้านเกิดเหตุด้วยวิธีการอันเร้นลับ บ้านดังกล่าวมีกำแพงทึบประตูเข้าก็เป็นบานทึบแน่นหนามีคนเฝ้าระแวด ระวังอยู่ตลอดเวลายากที่บุคคลภายนอกทั่วไปจะล่วงรู้และเข้าไปได้ เช่นนี้การที่ ส.ขับรถยนต์ไปรับจำเลยจากโรงแรมพามายังบ้านเกิดเหตุและขึ้นไปตรวจดูกัญชาของกลางบนบ้านชั้นสอง ซึ่งเป็นที่เก็บกัญชานานประมาณ10 นาที แล้วลงมาพร้อมกับ ส. นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้มีส่วนรู้เห็นและร่วมกับ ส. นำกัญชาของกลางมาเก็บไว้ที่บ้านเกิดเหตุ และได้ร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาของกลางเพื่อจำหน่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผลความล่าช้าที่ไม่เพียงพอ
ทนายจำเลยได้รับว่าความมาแต่ต้น มีรายละเอียดคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งหมดพร้อมคำพิพากษา กับเอกสารในคดีตามที่ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาไว้เพื่อใช้ศึกษาประกอบในการอุทธรณ์ ทั้งรูปคดีไม่ได้มีความสลับซับซ้อนเป็นพิเศษถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยศึกษารายละเอียดและข้อเท็จจริงไม่ทัน นับแต่จำเลยแจ้งความประสงค์จะอุทธรณ์ ทนายจำเลยก็ยังมีเวลาอีก 3 วันที่จะทำอุทธรณ์ได้ทัน ข้ออ้างของทนายจำเลยตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 7 วันที่ว่า จำเลยเพิ่งติดต่อทนายความได้และแจ้งความประสงค์จะอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผล 'เพิ่งติดต่อทนาย' ไม่เพียงพอเมื่อทนายได้รับว่าความมาตั้งแต่ต้นและมีข้อมูลครบถ้วน
ทนายจำเลยได้รับว่าความมาแต่ต้น มีรายละเอียดคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งหมดพร้อมคำพิพากษา กับเอกสารในคดีตามที่ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาไว้เพื่อใช้ศึกษาประกอบในการอุทธรณ์ ทั้งรูปคดีไม่ได้มีความสลับซับซ้อนเป็นพิเศษถึงกับจะเป็นเหตุให้ทนายจำเลยศึกษารายละเอียดและข้อเท็จจริงไม่ทัน นับแต่จำเลยแจ้งความประสงค์จะอุทธรณ์ ทนายจำเลยก็ยังมีเวลาอีก 3 วันที่จะทำอุทธรณ์ได้ทัน ข้ออ้างของทนายจำเลยตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 7 วันที่ว่า จำเลยเพิ่งติดต่อทนายความได้และแจ้งความประสงค์จะอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันศาลจะพึงขยายระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักลอบส่งออกแร่ดีบุก การพิจารณาโทษบทที่หนักกว่าระหว่าง พ.ร.บ.แร่ และ พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบก ลง เรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตรเพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามลักลอบนำแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร การพิจารณาโทษตามกฎหมายแร่และศุลกากร
จำเลยขนแร่ดีบุกซึ่งแต่งและย่าง แห้งแล้วบรรจุไว้ในกระสอบที่มีน้ำหนักเท่ากันจำนวนถึง 853 กระสอบ จากบนบกลงเรือหางยาวนำไปเก็บไว้บนแพซึ่งจอดอยู่กลางทะเลลึกห่างจากฝั่งถึง 2 กิโลเมตร เพื่อรอเรือใหญ่มาขนต่อไปอีกทอดหนึ่ง โดยแพก็มีเครื่องยนต์ถึง 2 เครื่อง ซึ่งสามารถนำแร่ดีบุกต่อไปยังเรือใหญ่เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรได้โดยง่าย แสดงว่าจำเลยมีเจตนาลักลอบส่งแร่ดีบุกออกนอกราชอาณาจักร และถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักร
ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129, 152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27, 102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ
ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 129, 152 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 และพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27, 102 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และการพิจารณาว่าบทกฎหมายใดเป็นบทหนักหรือเบากว่ากันนั้นจะต้องพิเคราะห์จากอัตราโทษจำคุก ปรากฏว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 152 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 23 กับโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี นั้น มีอัตราโทษสูงสุดเท่ากันคือจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ความผิดฐานพยายามลักลอบนำแร่ออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 มีอัตราโทษเท่ากับการทำความผิดสำเร็จ ดังนั้น โทษจำคุกตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ดังกล่าวจึงหนักกว่าโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติแร่ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกจ้างของนายจ้างไม่ต้องระบุเหตุในคำสั่งเลิกจ้าง เหตุผลสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้
การที่ นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เป็นเรื่องที่ นายจ้าง ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับว่าจะต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นด้วย เมื่อลูกจ้างนำคดีมาฟ้อง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในคำให้การ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องระบุเหตุ และสิทธิของนายจ้างในการอ้างเหตุในคำให้การ
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นเรื่องที่นายจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับว่าจะต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นด้วย เมื่อลูกจ้างนำคดีมาฟ้อง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในคำให้การ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย: ศาลพิจารณาอายุงานต่อเนื่องจากสัญญาจ้างหลายฉบับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยโดยการทำสัญญาใหม่ซ้ำๆ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2