พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตายจากโรคหัวใจวายหลังเลิกงาน: ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับงานที่ทำ
ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคหัวใจวายหลังจากเลิกสัมมนาอันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างแล้วเป็นเวลาถึงประมาณ 10 ชั่วโมง เช่นนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างนั้นถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา: การกลับเข้าทำงานตามคำพิพากษา ไม่รวมถึงการนับอายุงานต่อเนื่อง หากมิได้ขอโดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ได้บรรยายสภาพแห่งคำขอบังคับว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 7,159,417.58 บาท หรือให้จำเลยยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และให้จำเลยแต่งตั้งโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่น้อยกว่าตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่โจทก์ได้รับขณะเลิกจ้าง โจทก์หาได้มีคำขอบังคับให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันไม่ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิมย่อมหมายความว่าไม่นับอายุการทำงานของโจทก์ในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับคดีให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันได้ เพราะจะเป็นการเกินไปกว่าคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อช่วยเหลือคดี แก้ไขเอกสารแจ้งความ ทำให้โทษเบาลง มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานแจ้งความ-แก้ไขข้อหา-ปลอมเอกสาร: จำเลยไม่มีอำนาจแก้ไขหนังสือมอบอำนาจผู้บังคับบัญชา
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำราจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควรคุมทอาคารพ.ศ.2522มาตรา70ไปแจ้งคีวามและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่ การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลังเป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานครดังนี้ จำลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจแก้ไขเอกสารราชการแจ้งข้อหา แม้ได้รับมอบอำนาจแจ้งความแล้ว การกระทำเข้าข่ายปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยได้นำหนังสือมอบอำนาจของผู้ช่วยหัวหน้าเขตซึ่งมีถึงสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลขอให้ดำเนินคดีแก่ ม. ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ไปแจ้งความและมอบหนังสือมอบอำนาจให้แก่พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยย่อมหมดหน้าที่การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ม. และแก้ไขเอกสารดังกล่าวในภายหลัง เป็นการกระทำนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการ มิใช่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นหนังสือราชการของผู้บังคับบัญชาของจำเลยไม่ใช่หนังสือของจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจที่จะแก้ไขจากมาตรา 70 เป็นมาตรา 65 ซึ่งมีอัตราโทษน้อยกว่า กรณีอาจเกิดความเสียหายแก่พนักงานสอบสวนหรือทางราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งในคดีแรงงานและการวินิจฉัยความรับผิดจากหน้าที่การงาน ศาลฎีกาพิพากษากลับ
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถยนต์ของลูกค้าให้แก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ปฏิบัติผิดต่อหน้าที่นั้น ย่อมเป็นกรณีที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงานเช่นเดียวกัน ถือว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์จำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้
การที่ศาลชั้นต้นยกเอาข้อเท็จจริงในส่วนที่ว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าในสภาพเรียบร้อยเพราะโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ระมัดระวังเป็นเหตุให้ผูใต้บังคับบัญชาของโจทก์นำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัวจนเกิดอุบัติเหตุเสียหายขึ้นวินิจฉัยนั้นปรากฏว่าจำเลยหาได้ถือเหตุดังกล่าวเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบเพราะไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่ศาลชั้นต้นยกเอาข้อเท็จจริงในส่วนที่ว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้าในสภาพเรียบร้อยเพราะโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ระมัดระวังเป็นเหตุให้ผูใต้บังคับบัญชาของโจทก์นำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัวจนเกิดอุบัติเหตุเสียหายขึ้นวินิจฉัยนั้นปรากฏว่าจำเลยหาได้ถือเหตุดังกล่าวเรียกร้องให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าเสียหายไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบเพราะไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และจ่ายเป็นรายเดือนตามที่ศาลแรงงานพิพากษา
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดีกรมแรงงาน
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายเท่านั้น"เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดี กรมแรงงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดี กรมแรงงาน มอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้ว ยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาล แรงงานกลาง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวน จึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและศาลต้องพิพากษาตามรูปแบบที่โจทก์ขอ
การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ข้อ 22 ซึ่งกำหนดว่า "การจ่ายค่าทดแทนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน แต่การจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียวเต็มจำนวนจะทำได้ก็แต่โดยอนุมัติของอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายเท่านั้น" เมื่อคดีของโจทก์ไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานมอบหมายได้พิจารณาอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์ในคราวเดียวเต็มจำนวนแล้วยังปรากฏจากคำขอบังคับแห่งคำฟ้องของโจทก์ว่า ให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนรายเดือนให้แก่โจทก์เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน แสดงว่า โจทก์ต้องการให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนให้จำเลยเป็นรายเดือนที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนคราวเดียวเต็มจำนวนจึงเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่ตามสัญญาจ้าง – ความรับผิดต่อความเสียหาย – แม้หนี้เดิมระงับก็ไม่กระทบ
จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกจ้างจงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ โดยขายสินค้าเงินเชื่อให้แก่ลูกค้าของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเกินวงเงินที่โจทก์อนุญาต และเกินวงเงินที่ธนาคารมีหนังสือค้ำประกันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ต่อมาจะมีการแปลงหนี้จากหนี้ที่ลูกค้าซื้อสินค้าเชื่อมาเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเดิมแทนทำให้หนี้ค่าซื้อสินค้าระงับไปก็ตาม ก็หาทำให้มูลหนี้ที่จำเลยที่ ๑จงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหมดสิ้นไปไม่ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ ๑ รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างได้.