พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: วินิจฉัยถึงที่สุดหลังอธิบดีศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้ว ห้ามอุทธรณ์
คดีที่ศาลแรงงานกลางส่งสำนวนคดีไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคดีนั้นอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางแล้วคำวินิจฉัยดังกล่าวย่อมถึงที่สุดต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เป็นของศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดห้ามฎีกา
อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวรวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคำร้องขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เป็นที่สุด ไม่อาจฎีกาได้
กรณีที่พิพาทกันในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้น อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้รวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เป็นของศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดห้ามฎีกา
อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวรวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาคำร้องขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
กรณีที่พิพาทกันในชั้นขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์นั้น อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตเป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้รวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33-34/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเกษียณอายุเป็นเหตุเลิกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ กำหนดให้พนักงานพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุ 60 ปี บริบูรณ์นั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่เป็นข้อตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกับจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจำเลยหาได้ถูกผูกพันที่จะต้องจ้าง โจทก์จนกว่าจะมีอายุ 60 ปี บริบูรณ์จำเลยอาจเลิกจ้างเมื่อโจทก์ขาดคุณสมบัติอื่นที่กำหนดไว้หรือโจทก์สมัครใจลาออกจากตำแหน่งก่อน การที่โจทก์รับทราบข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานจำเลยถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง ส่วนที่บทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ถือว่าขาดคุณสมบัติและพ้นจากตำแหน่งนั้นการกำหนดคุณสมบัติทั่ว ๆ ไปเท่านั้น กรณีจะเป็นการเลิกจ้างหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งตามประกาศดังกล่าวได้ให้ความหมายการเลิกจ้างไว้ โดยหมายถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างออกจากงานไม่ว่ากรณีใด ๆ โดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด ดังนี้การที่โจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ จึงเป็นการเลิกจ้างแล้ว ส่วนที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้บัญญัติให้การเกษียณอายุรวมอยู่ในความหมายคำว่าเลิกจ้าง ก็เนื่องจากเห็นว่าความหมายครอบคลุมถึงการที่ นายจ้าง ให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกหน้าที่ปกติ (กีฬา) ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์นายจ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบเงินทดแทน
แม้ธนาคาร ก.ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเล่นกีฬา แต่การเล่นกีฬาก็เป็นนโยบายตามระเบียบของธนาคาร ก.เพื่อให้พนักงานผ่อนคลายความตึงเครียด อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของพนักงานที่ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกธนาคาร การแข่งขันกีฬามีผลให้งานของธนาคารตามวัตถุประสงค์สามารถดำเนินการไปด้วยดี เมื่อโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลตามคำสั่งของผู้จัดการสาขาของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าการเล่นกีฬาฟุตบอลของโจทก์เป็นการทำงานให้นายจ้าง เมื่อโจทก์ประสบอันตรายในขณะแข่งขันกีฬาฟุตบอลจึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5044/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรงแสดงเจตนาฆ่า พยานหลักฐานสนับสนุนความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้มีดเหน็บปลายแหลม ใบมีดกว้างประมาณ 4 นิ้วยาวประมาณ 1 ฟุต และด้ามยาวประมาณ 1 คืบ ซึ่งเป็นอาวุธที่ร้ายแรงฟันตรงลงมาที่ศีรษะผู้เสียหายซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญถ้ากระโหลกศีรษะแตกถึงสมองอาจทำให้ถึงตายได้ ทั้งจำเลยยังใช้มีดแทงผู้เสียหายซ้ำอีก แสดงว่ามีเจตนาฆ่า เมื่อผู้เสียหายไม่ตายจึงมีความผิดฐานพยานยามฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยนายจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง แม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ทีเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 เท่านั้น จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแรงงาน ต้องเกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง หากมิได้แจ้งข้อเรียกร้อง นายจ้างมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขใหม่แก่ลูกจ้างใหม่ได้
ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคาร ออมสิน เป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องแม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคาร ออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ทีเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 เท่านั้น จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518.