คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยนายจ้างที่ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสินเป็นระเบียบที่จำเลยประกาศใช้บังคับขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้อง แม้โจทก์จำเลยจะเคยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกำหนดให้ข้อบังคับ ระเบียบการ และคำสั่งของจำเลยเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีอยู่ ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ก็ไม่ทำให้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 67 ซึ่งมิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องไปได้ การที่จำเลยประกาศใช้ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 202 ว่าด้วยเงินทุนเลี้ยงชีพของพนักงานธนาคารออมสิน (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 9) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 โดยเพิ่มเงื่อนไขที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพมากกว่าระเบียบฉบับที่ 67 อีกสองข้อ แล้วใช้บังคับแก่พนักงานใหม่ทีเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2527 เท่านั้น จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิค่าชดเชย: ข้อบังคับบริษัทฯ ที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างโดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้...(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว... การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้น กลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นได้ให้ความคุ้มครองไว้ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: ระเบียบข้อบังคับนายจ้างต้องไม่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ให้ความคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างโดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้... (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว... การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย 3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้น กลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นได้ให้ความคุ้มครองไว้ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากกว่ากฎหมายแรงงาน ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้าง โดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้นกลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองไว้ ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนจากนายจ้างเมื่อออกจากงาน ลดคน, ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต: ดุลพินิจนายจ้าง
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า "ส่วนที่จะได้รับจากบริษัท พนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน 2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข" เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระเบียบกองทุนเงินสะสม: สิทธิลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างลดคน และดุลพินิจนายจ้างในการจ่ายเงินสมทบ
ข้อบังคับตามระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมที่กำหนดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในอันที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างที่มีข้อความว่า ส่วนที่จะได้รับจากบริษัทพนักงานที่เป็นสมาชิกถ้าออกจากงานก่อนเกษียณอายุ หากมีอายุงาน2 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสะสมของตนคืนพร้อมดอกเบี้ยและเงินสมทบจากบริษัทพร้อมดอกเบี้ยตามสัดส่วนดังนี้ ฯลฯ อายุงานครบ 7 ปี ส่วนที่บริษัทสมทบ 70 เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ทั้งนี้ไม่รวมถึงพนักงานที่ต้องออกจากงานเนื่องจากการลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต บริษัทอาจสมทบให้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่นำอายุงานมาใช้เป็นเงื่อนไข"เป็นข้อบังคับที่กำหนดเป็นการให้ดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินสมทบเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่ก็ได้โดยไม่ต้องพิจารณาเรื่องอายุงานถ้าเป็นการออกจากงานเนื่องจากกรณีตามที่กำหนดไว้คือ การลดคนทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต มิใช่เป็นข้อกำหนดที่เป็นบทบังคับว่าถ้าโจทก์ออกจากงานด้วยเหตุดังกล่าวแล้ว จำเลยจะต้องจ่ายเงินสมทบเต็ม100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคำว่า "อาจสมทบให้" นั้น ไม่อาจจะแปลไปในทางที่เป็นผลบังคับฝ่ายที่ปฏิบัติให้ต้องปฏิบัติเป็นการแน่นอนดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งมีอายุงานครบ 7 ปี ออกจากงานเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างเพราะต้องการลดคน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินสมทบจากจำเลยตามระเบียบดังกล่าวจึงมีเพียง 70 เปอร์เซ็นต์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้มีการโยกย้ายระหว่างโรงเรียน
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า"จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมอัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามข้อตกลงเดิม แม้โรงเรียนมีเจ้าของเดียวกัน การย้ายสถานที่ไม่ใช่การปฏิบัติตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่า "จำเลยยินยอมรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิม อัตราค่าจ้างเดิม และสภาพการจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม โดยให้นับอายุการทำงานต่อเนื่องจากเดิม โดยจำเลยจะให้โจทก์เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2532 เป็นต้นไป" ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น โจทก์มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. ตำแหน่งหน้าที่เดิมที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น คือตำแหน่งหน้าที่เป็นครูสอนที่โรงเรียน ส. จำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงานโดยให้เป็นครูสอนที่โรงเรียน ท. ซึ่งเป็นคนละโรงเรียนกันกับโรงเรียน ส. หาได้ไม่ แม้โรงเรียนทั้งสองแห่งนี้จะมีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน ใช้ระบบเดียวกัน และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนครูกันอยู่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของโจทก์และการมอบอำนาจฟ้องคดี ศาลอนุญาตแก้ไขเอกสารท้ายฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แม้โจทก์จะแนบเอกสารท้ายฟ้องอันแสดงถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบสำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคลอื่นอันเป็นเรื่องที่โจทก์แนบมาผิดพลาดการแนบเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเพื่อให้ชัดเจนถึงฐานะของโจทก์ ไม่ใช่หลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ทั้งจำเลยก็เคยเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์มาก่อนและยังให้การยอมรับเช่นนั้น ย่อมเป็นการยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ฉบับที่ถูกต้องภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลมาแต่ต้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายและโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การแก้ไขเอกสารท้ายฟ้องที่ผิดพลาดไม่กระทบอำนาจฟ้อง
โจทก์แนบเอกสารท้ายฟ้องอันแสดงถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ผิดพลาด โดยแนบสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลอื่น การแนบเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวก็เพื่อให้ชัดเจนถึงฐานะของโจทก์ไม่ใช่หลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี และจำเลยก็ให้การยอมว่าเคยเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ เท่ากับเป็นการรับรองว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ฉบับที่ถูกต้องภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวได้กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลมาแต่ต้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจึงชอบด้วยกฎหมาย
of 51