คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของโจทก์และการมอบอำนาจฟ้องคดี ศาลอนุญาตแก้ไขเอกสารท้ายฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด แม้โจทก์จะแนบเอกสารท้ายฟ้องอันแสดงถึงการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบสำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคลอื่นอันเป็นเรื่องที่โจทก์แนบมาผิดพลาดการแนบเอกสารท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเพื่อให้ชัดเจนถึงฐานะของโจทก์ ไม่ใช่หลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ทั้งจำเลยก็เคยเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์มาก่อนและยังให้การยอมรับเช่นนั้น ย่อมเป็นการยอมรับว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับการเป็นนิติบุคคลของโจทก์โดยแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ฉบับที่ถูกต้องภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวได้ กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลมาแต่ต้นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีชอบด้วยกฎหมายและโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: ค่าชดเชยยังต้องจ่าย แม้มีระเบียบเลิกจ้างได้ เหตุเจ็บป่วยไม่ใช่ความผิด
แม้มีระเบียบของจำเลยให้อำนาจจำเลยปลดลูกจ้างที่ลาป่วยเกินระยะเวลาที่กำหนดออกจากงานได้ก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างดังกล่าวได้เท่านั้นดังนี้การที่ พ. ลูกจ้างเจ็บป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ ก็เป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติมิใช่เกิดจากการกระทำของ พ.จึงถือไม่ได้ว่าพ. กระทำการฝ่าฝืนระเบียบคำสั่งของจำเลย แม้จำเลยเลิกจ้าง พ. โดยมีหนังสือตักเตือนก่อนแล้วก็ตาม จำเลยก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ พ. เมื่อเลิกจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ให้ความหมายของ "ค่าชดเชย" ไว้ว่า เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ส่วนเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง(บำเหน็จ) ที่จำเลยจ่ายให้แก่ พ. ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้นมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามที่ระบุในระเบียบ กำหนดให้สิทธิเฉพาะลูกจ้างที่มีเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และมิได้ออกจากงานเพราะกระทำผิดหรือเหตุอื่น ๆ ที่ระบุในระเบียบดังนี้การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง จึงมีหลักเกณฑ์การคิดคำนวณแตกต่างจากค่าชดเชยและถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์นอกประเด็นต้องห้ามตามมาตรา 225 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง กรณีตกลงประเด็นเฉพาะ
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงหรือไม่ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงจำเลยจึงเป็นฝ่ายแพ้คดี แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ถ. สัญญาเช่าดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทยังไม่ครบระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จึงเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. ตามประเด็นที่ตกลงกัน จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4565/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นนอกคู่ความ อุทธรณ์ต้องห้ามตามมาตรา 225 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงหรือไม่ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จริงจำเลยจึงเป็นฝ่ายแพ้คดี แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ถ. สัญญาเช่าดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทยังไม่ครบระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. จึงเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยจำเลยไม่ได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจาก ถ. ตามประเด็นที่ตกลงกัน จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียม: ค่าเลนส์เป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานทอผ้ากรุงเทพ ประจำปี 2531 ระบุว่า "ในกรณีที่พนักงานเจ็บป่วยเป็นโรค หรือต้องทำการผ่าตัดโดยเข้าเป็นคนไข้ในโรงพยาบาลของรัฐ ให้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้... ฯลฯดังนั้น เมื่อโจทก์ป่วยเป็นต้อกระจกที่ตาข้างขวาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแพทย์ต้องผ่าตัดเอาเลนส์ แก้วตาที่ขุ่นมัว ออก แล้วใส่เลนส์ แก้วตาเทียมให้แทนเพื่อให้ดวงตาผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดังเดิมค่าเลนส์ แก้วตาเทียมจึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล: ค่าเลนส์แก้วตาเทียมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาลตามข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานทอผ้ากรุงเทพ ประจำปี 2531 ระบุว่า "ในกรณีที่พนักงานเจ็บป่วยเป็นโรค หรือต้องทำการผ่าตัดโดยเข้าเป็นคนไข้ในโรงพยาบาลของรัฐ ให้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้... ฯลฯ ดังนั้น เมื่อโจทก์ป่วยเป็นต้อกระจกที่ตาข้างขวาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแพทย์ต้องผ่าตัดเอาเลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัวออก แล้วใส่เลนส์ แก้วตาเทียมให้แทนเพื่อให้ดวงตาผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ดังเดิม ค่าเลนส์แก้วตาเทียมจึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจ้าง: การคืนเงินประกันเมื่อลาออกระหว่างทดลองงาน ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4 มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4, 5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงาน การคืนเงินประกัน และการตีความสัญญาตามวัตถุประสงค์
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4,5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิด สัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้ การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการถูกฉ้อฉล ศาลเพิกถอนได้
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลเพราะถูกโจทก์หลอกว่าเป็นการทำเรื่องถอนฟ้อง โดยโจทก์จะเอาเงินจากจำเลยเพียง 140,000 บาท แต่ความจริงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยชำระหนี้โจทก์เป็นเงินกว่า 270,000 บาท เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉล จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4158/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานคดีแรงงาน: ศาลอนุญาตให้จำเลยสืบพยานได้ แม้ไม่ได้ถามค้านโจทก์ก่อน เนื่องจากต้องการข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์
การสืบพยานในคดีแรงงานแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยานตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน" ฉะนั้น การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลในภายหลังว่าโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยเรียกร้องเงินจากคนงานที่จะทำงานกับจำเลยอันเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุเลิกจ้าง โดยจำเลยมิได้ถามค้านโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ ถือได้ว่าศาลแรงงานอนุญาตแล้ว เพราะศาลแรงงานต้องการได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีแรงงานไม่ได้ ศาลแรงงานย่อมรับฟังคำพยานจำเลยดังกล่าวได้
of 51