คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาหลังมีคำพิพากษา: จำเลยต้องโต้แย้งทันที หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งอันจะถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะคำสั่งที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเท่านั้น แม้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่อีก คำสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก่อนมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอนั้นย่อม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน
หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ ในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในคำแถลงของจำเลยที่คัดค้านคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ว่า การที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมนั้นเป็นเพราะพยานเป็นเจ้าหน้าที่เดินหมายของศาลแม้โจทก์ไม่อ้างเป็นพยาน ศาลก็ต้อง เรียกพยานดังกล่าวมาเป็นพยานเพราะเป็นพยานสำคัญ คำสั่งเช่นนี้เป็นคำสั่งในระหว่างที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ก่อนที่จะมีคำสั่งชี้ขาดอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่ จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก็ต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เมื่อศาลมีคำสั่งในคำแถลงดังกล่าววันเดียวกันกับวันที่จำเลยยื่นคำแถลง ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งในวันนั้นและศาลนัดฟังคำพิพากษาหลังวันมีคำสั่งถึง 2 วัน จำเลยจึงมีโอกาสโต้แย้งคัดค้านคำสั่งได้ เมื่อไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาหลังมีคำพิพากษา ศาลมีอำนาจออกคำสั่งได้หากจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำสั่งอันจะถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะคำสั่งที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเท่านั้น แม้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อมีคำสั่งชี้ ขาดตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่อีก คำสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก่อนมีคำสั่งชี้ ขาดตามคำขอนั้น ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาชี้ ขาดตัดสินในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ ในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งในคำแถลงของจำเลยที่คัดค้านคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของโจทก์ว่าการที่ศาลอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมนั้นเป็นเพราะพยานเป็นเจ้าหน้าที่เดินหมายของศาล แม้โจทก์ไม่อ้างเป็นพยาน ศาลก็ต้องเรียกพยานดังกล่าวมาเป็นพยานศาลเพราะเป็นพยานสำคัญ คำสั่งเช่นนี้เป็นคำสั่งในระหว่างที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ก่อนที่จะมีคำสั่งชี้ ขาดอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่ จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก็ต้องโต้แย้งคัดค้านไว้เมื่อศาลมีคำสั่งในคำแถลงดังกล่าววันเดียวกันกับวันที่จำเลยยื่นคำแถลง ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งในวันนั้น และศาลนัดฟังคำพิพากษาหลังวันมีคำสั่งถึง 2 วัน จำเลยจึงมีโอกาสโต้แย้งคัดค้านคำสั่งได้ เมื่อไม่โต้แย้งคัดค้าน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการดำเนินการขององค์กร, ความรับผิดต่อการใส่ร้าย, และวินัยพนักงาน – กรณีการแถลงข่าวและการกระทำผิดวินัย
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 มาตรา 6 มีผู้ร้องเป็นผู้ว่าการ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตามมาตรา 26 มิใช่กรณีผู้ว่าการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามมาตรา 27ผู้ว่าการจึงมีอำนาจแต่งทนายความเพื่อดำเนินคดีในนามผู้ร้องได้ ผู้คัดค้านมิได้ยกข้อที่ว่าการผลิตดาบน้ำพี้ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสถาบันผู้ร้องหรือไม่ขึ้นมาเป็นประเด็นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยปัญหานี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางโดยชอบ ผู้คัดค้านจึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือองค์กร ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง การดำเนินการขององค์กร ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริงผู้คัดค้านไม่ว่าในฐานะใดก็จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น จะอ้างว่าได้กระทำในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ และไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างให้พ้นผิดทั้งขณะแถลงข่าวผู้คัดค้านก็ยังมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ดาบน้ำพี้ ที่ผู้ร้องผลิตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงข่าวใส่ร้ายผู้อื่นและความรับผิดทางวินัยของพนักงาน แม้มีฐานะสมาชิกสหภาพแรงงาน
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรไม่ว่าจะมีกฎหมายรับรองหรือไม่ก็ตามการดำเนินการขององค์กรนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การที่ผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้แถลงข่าวดังกล่าวไม่ว่าในฐานะใดก็ตามจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อยกเว้นให้พ้นผิดได้ทั้งในขณะแถลงข่าวนั้น ผู้คัดค้านยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องอยู่ ผู้คัดค้านจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องในเรื่องนี้ ฉะนั้นแม้ผู้ร้องจะแถลงข่าวในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่มีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดวินัยร้ายแรงของพนักงานที่แถลงข่าวกล่าวหาองค์กรโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้มีฐานะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กรไม่ว่าจะมีกฎหมายรับรองหรือไม่ก็ตาม การดำเนินการขององค์กรนั้นก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการที่ผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริง ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้แถลงข่าวดังกล่าวไม่ว่าในฐานะใดจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อยกเว้นให้พ้นผิดได้ ทั้งในขณะแถลงข่าวนั้น ผู้คัดค้านยังคงมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องอยู่ ผู้คัดค้านจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องในเรื่องนี้ ฉะนั้นแม้ผู้คัดค้านจะแถลงข่าวในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ก็ไม่มีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง การกระทำของผู้คัดค้านก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องอย่างร้ายแรง จึงเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดวินัยร้ายแรงของพนักงานรัฐวิสาหกิจ การแถลงข่าวทำลายชื่อเสียงองค์กร และข้อยกเว้นความรับผิด
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 มาตรา 6 มีผู้ร้องเป็นผู้ว่าการ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเป็นคดีนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าการตามมาตรา 26 มิใช่กรณีผู้ว่าการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตามมาตรา 27ผู้ว่าการจึงมีอำนาจแต่งทนายความเพื่อดำเนินคดีในนามผู้ร้องได้
ผู้คัดค้านมิได้ยกข้อที่ว่าการผลิตดาบน้ำพี้ เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสถาบันผู้ร้องหรือไม่ขึ้นมาเป็นประเด็นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยปัญหานี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางโดยชอบ ผู้คัดค้านจึงยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การรวมกลุ่มกันเป็นองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือองค์กร ที่ไม่มีกฎหมายรับรอง การดำเนินการขององค์กร ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในข้อที่จะต้องไม่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้คัดค้านแถลงข่าวกล่าวหาว่าผู้ร้องหลอกลวงประชาชนโดยมิได้เป็นความจริงผู้คัดค้านไม่ว่าในฐานะใดก็จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น จะอ้างว่าได้กระทำในฐานะของสมาชิกกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่ และไม่มีบทกฎหมายใดที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างให้พ้นผิดทั้งขณะแถลงข่าวผู้คัดค้านก็ยังมีฐานะเป็นพนักงานของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องผู้คัดค้านจึงไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของผู้ร้อง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิสูจน์ดาบน้ำพี้ ที่ผู้ร้องผลิตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้กับการคืนเงินกองทุนสงเคราะห์: ศาลฎีกายืนตามคำวินิจฉัยศาลแรงงาน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า การที่จำเลยรับเงินจำนวน 14,840 บาทไปจากโจทก์โดยที่โจทก์ได้จ่ายไปโดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แต่ครั้นเมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่าเป็นเงินประเภทอื่นไม่ใช่ค่าชดเชย โจทก์จึงชอบที่จะจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานเท่านั้น เป็นเรื่องที่จำเลยได้รับเงินไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 14,840 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคำบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินกองทุนสงเคราะห์ เนื่องจากจำเลยได้รับเงินที่โจทก์จ่ายให้ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบซึ่งเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 มิใช่เรื่องโจทก์เรียกทรัพย์คืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร่วม: แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลแพ่ง แต่จำเลยอื่นไม่ได้เป็นคู่สัญญา และมูลคดีเดียวกัน ศาลจังหวัดก็มีอำนาจพิจารณาได้
แม้ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีข้อตกลงว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาให้นำข้อพิพาทขึ้นฟ้องร้องยังศาลแพ่งสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการเรียกร้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดใช้เงินค่าทดแทนจำนวนเดียวกัน อันเป็นมูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201-3205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล และมีผลเมื่อศาลมีคำพิพากษา การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมค่าครองชีพ
นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วนายจ้างจะต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกครั้งหนึ่ง คดีนี้หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างแต่ โจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์ยังคงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับจำเลยอย่างเดิมจนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ต้องถือว่าการเลิกจ้างมีผลนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำรายเดือนจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในอัตราเดิมนับแต่วันที่จำเลยหยุดดำเนินกิจการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้แปรรูปองค์การจำเลยจนถึงวันที่มีคำพิพากษาศาลฎีกา อันเป็นช่ วงเวลาที่โจทก์ไม่ได้ทำงานโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์และจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จโดยจะต้องนำค่าครองชีพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างมารวมเป็นฐานคำนวณให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสหภาพแรงงาน: คณะกรรมการชุดเดิมหมดวาระ ย่อมไม่มีอำนาจดำเนินการแทนสหภาพ
ตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานฯ โจทก์มิได้มีข้อกำหนดให้คณะกรรมการสหภาพฯ ทำหน้าที่รักษาการต่อไปภายหลังสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งลง คณะกรรมการสหภาพฯ จึงต้องสิ้นสุดสภาพการเป็นกรรมการนับแต่วันครบวาระการดำรง ตำแหน่งเป็นต้นไป และไม่มีอำนาจลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิกใด ๆ อีก ประกอบกับข้อบังคับของสหภาพฯ กำหนดว่าการประชุมใหญ่คือการประชุมซึ่งผู้แทนสมาชิกทุกคนตามทะเบียนมีสิทธิเข้าประชุมได้ ฉะนั้นการที่คณะกรรมการซึ่งสิ้นสุดวาระการดำรง ตำแหน่งดังกล่าว ได้ลงมติปลดสมาชิกภาพของผู้แทนสมาชิก 15 คน และจัดประชุมใหญ่ โดยไม่ยอมให้ผู้แทนที่ถูกปลดเหล่านี้เข้าประชุมด้วย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสหภาพฯ การเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพฯ ในวันดังกล่าวต้องเสียไปไม่มีผลใช้บังคับ และคณะกรรมการสหภาพฯ ชุด ที่ได้รับเลือกในวันดังกล่าวซึ่งมี ส. ได้รับเลือกตั้งด้วยนั้น จึงมิได้มีฐานะเป็นกรรมการสหภาพฯ ดังนี้ การที่คณะกรรมการชุด นี้ได้ลงมติให้ ส. เป็นผู้แทนโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้สหภาพฯ โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 51