คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องแย้งหลังชี้สองสถานต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากเป็นเรื่องผิดสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหาย ไม่ใช่ความสงบเรียบร้อย
คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องแย้งเป็นการขอแก้คำฟ้องอย่างหนึ่งจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 ด้วย เมื่อคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องแย้งของจำเลยระบุว่าโจทก์โกงน้ำหนักสินค้าอันเป็นการผิดสัญญาของโจทก์อีกประการหนึ่งนอกเหนือจากการผิดสัญญาตามฟ้องแย้ง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวหาโจทก์ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย หาใช่เรื่องหรือคดีที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องแย้งหลังวันชี้สองสถาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค สัญญาประกันไม่เป็นโมฆะ
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยชั่วคราว โดยกำหนดหลักประกันเกินจำนวนเงินตามเช็คเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวน สัญญาประกันมิได้ตกเป็นโมฆะ ดังนั้นเมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง, ค่าจ้าง, ค่าบำเหน็จ, ค่าครองชีพ: การจ่ายค่าจ้างเกิน, การยอมรับความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้างหรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอนเป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้าง ค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใด จำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายค่าจ้างเกิน และค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณบำเหน็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง
จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าจ้าง: การยอมรับความเป็นลูกจ้าง, ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง, การจ่ายค่าจ้างเกิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ้าง โจทก์เป็นลูกจ้างประจำ โดยให้ทำงานที่โรงงานกระดาษบางปะอิน แล้วจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แม้จำเลยให้การในตอนต้นว่า จำเลยไม่เคยว่าจ้างโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์ทางการจ้าง หรือสัญญาจ้างกับโจทก์ แต่จำเลยได้ให้การเป็นข้อต่อมาว่า โจทก์ทุกคนถูกโรงงานกระดาษบางปะอินเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2531 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม 2531 หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก ที่โรงงานกระดาษบางปะอินจ่ายค่าจ้างงวดเดือนมกราคม 2531จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2531 เป็นจำนวนเกินกว่าที่มีสิทธิได้รับจึงฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่จ่ายเกินจากโจทก์ตามคำให้การดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมีผลเป็นการยอมรับอยู่ในตัวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยและจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2531 ตามฟ้อง ทั้งจำเลยยังฟ้องแย้งเรียกค่าจ้างที่อ้างว่าได้จ่ายเกินจากโจทก์อีกด้วย จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยหรือไม่ จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์มีจำนวนแน่นอน เป็นการประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานเช่นเดียวกับค่าจ้างค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง จำเลยรู้ดีอยู่ว่าโจทก์ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงถึงวันที่ 21 มกราคม 2531 เท่านั้น การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์หลังจากวันดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน จึงเป็นการจ่ายตามอำเภอใจโดยไม่ปรากฏเหตุที่จะทำให้สำคัญผิดแต่ประการใดจำเลยไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จะเปลี่ยนใจภายหลัง ศาลยังคงยึดตามการเสียค่าขึ้นศาลเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้จะเปลี่ยนความเห็นภายหลัง ศาลยึดตามการเสียค่าขึ้นศาลเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การระบุทุนทรัพย์ในคำฟ้องและผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ซึ่งจำเลยได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะ และขอให้จำเลยออกโฉนดที่พิพาทให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาที่ดินที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแรงงานด้วยวาจาชอบด้วยกฎหมายหากจำเลยทราบและคัดค้าน
คดีแรงงานมีลักษณะพิเศษแตกต่างกับคดีแพ่งธรรมดา การดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว ฉะนั้นการที่โจทก์ขอถอนฟ้องโดยแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาต่อศาล แม้จะเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ทราบและได้แถลงคัดค้านต่อศาลแล้ว ซึ่งตรงตามความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแรงงานด้วยวาจา แม้หลังยื่นคำให้การแล้ว ศาลอนุญาตได้หากจำเลยคัดค้าน
คดีแรงงานมีลักษณะพิเศษแตกต่างกับคดีแพ่งธรรมดา การดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว ฉะนั้นการที่โจทก์ขอถอนฟ้องโดยแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาต่อศาล แม้จะเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ทราบและได้แถลงคัดค้านต่อศาลแล้ว ซึ่งตรงตามความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
of 51