คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านหลังซื้อขายเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องจดทะเบียน ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
ผู้ร้องกับพี่สาวซื้อที่ดินมีโฉนดจากจำเลย โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ขณะนั้นบนที่ดินมีบ้านพิพาทของจำเลยปลูกอยู่บ้านพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ต่อมาผู้ร้องกับพี่สาวซื้อบ้านพิพาทจากจำเลย แม้จะทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง บ้านพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องกับพี่สาวตาม ป.พ.พ.มาตรา 107 วรรคสอง ตั้งแต่วันทำหนังสือสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทแล้วโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 อีก โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา/วันหยุดพักผ่อน: ไม่ผูกติดกับการเลิกจ้าง, ค่าพักผ่อนผูกติดกับการเลิกจ้าง
เงินค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี เป็นเงินที่ นายจ้าง ต้องจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติและเพื่อตอบแทนการทำงานในวันหยุดตามประเพณี ดังนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุดตามประเพณี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องก็ต่อเมื่อจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์.
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นตกอยู่ในบังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 แสดงว่าสิทธิเรียกร้องนี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้างแล้ว ดังนี้เมื่อจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การทำงานล่วงเวลา และสิทธิลูกจ้างชั่วคราวภายใต้ข้อตกลงสภาพการจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯ แต่ สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียว กับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่ พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าจ้างล่วงเวลา และสิทธิลูกจ้างชั่วคราว
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯแต่สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียวกับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ความหมาย แห่ง ป.พ.พ.มาตรา 583 แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามบทมาตราดังกล่าว.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้องทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็มลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ย จากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง.
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลงให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนายจ้างได้เมื่อนายจ้างได้บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่งทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึงสิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การทำงานเกินเวลา และสิทธิค่าครองชีพของลูกจ้างชั่วคราว
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยมิได้ระบุห้ามก่อการวิวาทหรือชกต่อยกันนอกโรงงานหรือบริษัทฯ แต่ สาเหตุที่โจทก์ชกต่อยพนักงานระดับหัวหน้างานในแผนกเดียว กับโจทก์ก็เนื่องมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ของหัวหน้างาน แม้จะเป็นการกระทำนอกโรงงานหรือบริษัทของจำเลย ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในหมู่ พนักงานด้วยกันของจำเลย และอาจเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการดำเนินงานของจำเลยตลอดจนอำนาจบังคับบัญชาของหัวหน้างานต่อไปในภายหน้า การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ชกต่อยหัวหน้างานนอกเวลาทำงานและนอกบริเวณโรงงานหรือบริษัทของจำเลย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ได้ กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดย ถูกต้องและสุจริตตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583แต่เป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตาม บทมาตราดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 6กำหนดว่า "ในวันทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างได้ ทำงานในวันนั้นมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมง ฯลฯ" เมื่อนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างได้ มีเวลาพัก 1 ชั่วโมง ย่อมเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างต้อง ทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติไปจำนวนวันละ 1 ชั่วโมงเต็ม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องเป็นค่าจ้างส่วนที่ทำงานเกินไปนี้จากนายจ้าง โดยเฉลี่ยจากค่าจ้างของแต่ละวันที่ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง
สิทธิที่จะได้รับค่าครองชีพเป็นสิทธิที่กำหนดขึ้นตาม บันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างมีสิทธิกำหนดหรือตกลง ให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์ของนายจ้างได้ เมื่อนายจ้างได้ บันทึกข้อตกลงไว้ว่า ลูกจ้างประจำเท่านั้นที่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพก็ต้อง เป็นไปตามนั้นแม้ลูกจ้างชั่วคราวซึ่ง ทำงานติดต่อกันมาเกินกว่า 120 วัน และมีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ก็ย่อมหมายถึง สิทธิที่ลูกจ้างประจำมีอยู่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยในระหว่างกำหนดเวลาที่โจทก์เรียกร้องค่าครองชีพ จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุงานและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: นับเฉพาะช่วงก่อนเลิกจ้างเท่านั้น
คดีที่ฟ้องว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปนั้น ลูกจ้างมีสิทธิขอให้นับอายุงานใหม่ติดต่อกับอายุงานเดิม ที่คำนวณถึง วันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น จะขอให้นับอายุงานระหว่างวันถูก เลิกจ้าง จนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานรวมเข้าไปด้วย หาได้ไม่ ตาม มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เฉพาะกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปเพียงประการเดียว เท่านั้น กฎหมายหาได้ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ลูกจ้างยื่นฟ้องคดีจนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานด้วยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุงานหลังศาลสั่งรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน และสิทธิในการได้รับค่าจ้างระหว่างถูกเลิกจ้าง
เหตุที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์ได้กระทำผิดคดีอาญาถูกควบคุมตัวไม่สามารถทำงานให้จำเลยได้ และต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ในคดีดังกล่าว ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้นับอายุงานต่อเนื่องเสมือนหนึ่งมิได้มีการเลิกจ้าง แต่โจทก์มีสิทธิขอให้นับอายุงานติดต่อตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยไม่มีสิทธินำระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานมารวมด้วย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายชดใช้แทนการที่ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายจากนายจ้างจึงมีเพียงกรณีที่ศาลมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานประการเดียวเท่านั้น ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายนับแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการนับอายุงานต่อเนื่องเมื่อศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน
เหตุที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานเพราะโจทก์ได้กระทำผิดคดีอาญาถูกควบคุมตัวไม่สามารถทำงานให้จำเลยได้ และประกอบกับต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกโจทก์ในคดีดังกล่าว ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้นับอายุงานต่อเนื่องตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์ กลับเข้าทำงานเสมือนมิได้มีการเลิกจ้างได้.
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 นั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้าง จ่ายค่าเสียหายชดใช้แทน ดังนี้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายนับแต่วันที่โจทก์ยื่นฟ้องจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุงานลูกจ้าง: การนับต่อเนื่องหลังเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เริ่มนับจากวันก่อนเลิกจ้าง
คดีที่ฟ้องว่า นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปนั้น ลูกจ้างมีสิทธิขอให้นับอายุงานใหม่ติดต่อกับอายุงานเดิม ที่คำนวณถึง วันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น จะขอให้นับอายุงานระหว่างวันถูก เลิกจ้าง จนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานรวมเข้าไปด้วย หาได้ไม่
ตาม มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เฉพาะกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานต่อไปเพียงประการเดียว เท่านั้น กฎหมายหาได้ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างตั้งแต่ วันที่ลูกจ้างยื่นฟ้องคดีจนถึง วันที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้อง ชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตาม ความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใด กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
of 51