พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนทายาทและการแสดงเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง ไม่ถือเป็นการได้มาซึ่งสิทธิในที่ดิน
โจทก์และทายาทอื่นของ ก. มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ดูแลที่ดินพิพาทมี ส.ค.1 มรดกของ ก. แทน จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ก. ตลอดมา การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ไปขอออก น.ส.3ก. ในที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และสามีจำเลยที่ 1 เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทเท่านั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นครอบครองเพื่อตนเอง และได้แสดงเจตนาดังกล่าวให้ฝ่ายโจทก์ทราบจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ แม้ชื่อพยานไม่ชัดเจน โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันได้ ไม่ถือเป็นการละเมิด
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อ ผู้ค้ำประกันไว้โดย ชัดแจ้ง และผู้ค้ำประกันได้ ลง ลายมือชื่อไว้แล้วในฐานะ ผู้ค้ำประกัน รวมทั้งมีพยานอีก 2 คน ลงชื่อไว้ด้วย เช่นนี้ แม้จะไม่ได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อ พยานหรือทำวงเล็บ ไว้ใต้ ลายมือชื่อของพยานให้ชัดเจนว่าเป็นใครก็ตาม ย่อมนำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา680 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งหกซึ่ง มีหน้าที่จัดทำสัญญาค้ำประกัน มิได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลที่เป็นพยานในสัญญาให้ชัดเจนไว้ใต้ ลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว หรือมิได้จัดให้มีการทำวงเล็บ ใต้ ลายมือชื่อพยานเช่นว่านั้น ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อ โจทก์เพราะโจทก์อาจฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิด โดย อาศัยสัญญาค้ำประกันดังกล่าวและอ้างจำเลยทั้งหกเป็นพยานได้ อยู่แล้ว เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกดังกล่าวเป็นการประพฤติฝ่าฝืนต่อ ระเบียบหรือกฏข้อบังคับของโจทก์อย่างไรแล้ว ศาลชอบที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ภายหลังที่สั่งรับฟ้องโจทก์แล้วไปเสียทีเดียวได้
การที่จำเลยทั้งหกซึ่ง มีหน้าที่จัดทำสัญญาค้ำประกัน มิได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลที่เป็นพยานในสัญญาให้ชัดเจนไว้ใต้ ลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว หรือมิได้จัดให้มีการทำวงเล็บ ใต้ ลายมือชื่อพยานเช่นว่านั้น ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อ โจทก์เพราะโจทก์อาจฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิด โดย อาศัยสัญญาค้ำประกันดังกล่าวและอ้างจำเลยทั้งหกเป็นพยานได้ อยู่แล้ว เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกดังกล่าวเป็นการประพฤติฝ่าฝืนต่อ ระเบียบหรือกฏข้อบังคับของโจทก์อย่างไรแล้ว ศาลชอบที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ภายหลังที่สั่งรับฟ้องโจทก์แล้วไปเสียทีเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากความบกพร่องในการตรวจสอบเอกสารสัญญาค้ำประกัน ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์ยังสามารถฟ้องผู้ค้ำประกันได้
การที่จำเลยทั้งหกซึ่งมีหน้าที่จัดทำสัญญาค้ำประกัน มิได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลที่เป็นพยานในสัญญาให้ชัดเจนไว้ใต้ลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว หรือมิได้จัดให้มีการทำวงเล็บใต้ลายมือชื่อพยานเช่นว่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์อาจฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิดโดยอาศัยสัญญาค้ำประกันดังกล่าวและอ้างจำเลยทั้งหกเป็นพยานได้อยู่แล้วเมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกดังกล่าวเป็นการประพฤติฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือกฎข้อบังคับของโจทก์อย่างไรแล้ว ศาลชอบที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ภายหลังที่สั่งรับฟ้องโจทก์แล้วไปเสียทีเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์แม้ชื่อพยานไม่ชัดเจน ฟ้องร้องผู้ค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันระบุชื่อ ผู้ค้ำประกันไว้โดย ชัดแจ้ง และผู้ค้ำประกันได้ ลง ลายมือชื่อไว้แล้วในฐานะ ผู้ค้ำประกัน รวมทั้งมีพยานอีก 2 คน ลงชื่อไว้ด้วย เช่นนี้ แม้จะไม่ได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อ พยานหรือทำวงเล็บ ไว้ใต้ ลายมือชื่อของพยานให้ชัดเจนว่าเป็นใครก็ตาม ย่อมนำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา680 วรรคสอง การที่จำเลยทั้งหกซึ่ง มีหน้าที่จัดทำสัญญาค้ำประกัน มิได้เขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลที่เป็นพยานในสัญญาให้ชัดเจนไว้ใต้ ลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าว หรือมิได้จัดให้มีการทำวงเล็บ ใต้ ลายมือชื่อพยานเช่นว่านั้น ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อ โจทก์เพราะโจทก์อาจฟ้องผู้ค้ำประกันให้รับผิด โดย อาศัยสัญญาค้ำประกันดังกล่าวและอ้างจำเลยทั้งหกเป็นพยานได้ อยู่แล้ว เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกดังกล่าวเป็นการประพฤติฝ่าฝืนต่อ ระเบียบหรือกฏข้อบังคับของโจทก์อย่างไรแล้ว ศาลชอบที่พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ภายหลังที่สั่งรับฟ้องโจทก์แล้วไปเสียทีเดียวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง คชก. และการบอกเลิกสัญญาเช่านาที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก.ตำบล) และคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) ตาม พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพียงบัญญัติว่า คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัด ประกอบด้วย บุคคลใด บ้างไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะ ที่ถูก ฟ้องร้องได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป
เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป
เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านา, การบอกเลิกสัญญา, สิทธิผู้เช่า, อำนาจคณะกรรมการเช่าที่ดิน, การลงมือทำประโยชน์
พระราชบัญญัติ ญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524บัญญัติว่า คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล และคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง โดยไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่าไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่าประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี โดยคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และมีผลใช้บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ได้บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้องปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่านาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน 1 ปีและจำเลยแสดงความจำนงจะเช่านา ซึ่งโจทก์จะต้องให้จำเลยเช่านาเว้นแต่โจทก์จะร้องต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลก่อนสิ้นกำหนด 1 ปี เพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่จำเลยร้องขอต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลขอเช่าทำนาของโจทก์หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปีและไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของจำเลยเนื่องจากพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใดให้อำนาจคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลที่จะวินิจฉัยคำร้องของผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคชก. และการสิ้นสุด/ต่ออายุสัญญาเช่านา: ข้อจำกัดอำนาจ คชก.ตำบล และสิทธิผู้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล (คชก.ตำบล) และคณะกรรมการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) ตาม พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพียงบัญญัติว่า คชก.ตำบล และ คชก.จังหวัด ประกอบด้วย บุคคลใด บ้างไม่มีกฎหมายรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาแต่อย่างใด คณะกรรมการดังกล่าวจึงไม่อยู่ในฐานะ ที่ถูก ฟ้องร้องได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่านาให้จำเลยผู้เช่านา และส่งสำเนาหนังสือดังกล่าวพร้อมทั้งแสดงเหตุแห่งการบอกเลิกการเช่า ไปยังคณะกรรมการควบคุมการเช่า ประจำอำเภอแล้วก่อนสิ้นระยะเวลาการเช่านาเกินกว่า 1 ปี และคณะกรรมการควบคุมการเช่านาประจำอำเภอมิได้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาตาม พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 มาตรา 39 วรรคท้าย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมาย และมีผลใช้ บังคับ แม้ระหว่างสัญญาการเช่านายังไม่สิ้นสุดลง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 จะถูก ยกเลิกโดยพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ มาตรา 66แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพ.ร.บ. ฉบับ ใหม่ต่อไป และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ได้ บัญญัติเงื่อนไขและวิธีการที่ผู้ให้เช่านาจะต้อง ปฏิบัติเมื่อประสงค์จะให้การเช่า นาสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นระยะเวลาการเช่านาไว้เช่นเดียวกับมาตรา 39แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ด้วย การบอกเลิกการเช่านาของโจทก์จึงชอบด้วย กฎหมายและมีผลใช้ บังคับต่อไป เมื่อสัญญาเช่านาระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะเข้าทำนาของโจทก์ได้ อีกต่อเมื่อโจทก์มิได้ลงมือทำประโยชน์ภายใน1 ปี และจำเลยแสดงความจำนง จะเช่า นา ซึ่ง โจทก์จะต้อง ให้จำเลยเช่า นา เว้นแต่โจทก์จะร้องต่อ คชก.ตำบล ก่อนสิ้นกำหนด 1 ปีเพื่อขอขยายเวลาการเข้าทำประโยชน์ในที่นานั้นตาม มาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เท่านั้น แต่ จำเลยร้องขอต่อ คชก.ตำบล ขอเช่า ทำนาของโจทก์ หลังจากสัญญาการเช่านาสิ้นสุดลงไม่ถึง 1 ปี และไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงมือทำประโยชน์แล้วหรือไม่ คชก.ตำบล จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ของ จำเลย เนื่องจากพ.ร.บ. การเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 หามีบทบัญญัติใด ให้อำนาจ คชก.ตำบล ที่จะวินิจฉัยคำร้อง ของ ผู้เช่านาในกรณีเช่นนี้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระทำชำเราเด็กและพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร จำเลยมีความผิดทั้งสองฐาน
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน 11วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและการพรากเด็กเพื่ออนาจาร: ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 และ 317
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 5 ปี 4 เดือน11 วัน ให้ไปเก็บดอกไม้ในสวนแล้วจะให้เงิน ผู้เสียหายหลงเชื่อเดินตามจำเลยไปในสวน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ดังนี้เป็นการกระทำที่ปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบสามปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างและบำเหน็จ, การเลิกจ้างเพราะขาดคุณสมบัติ, การนับอายุงาน
การโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทรวงกลาโหม สังกัดกรมการพลังงานทหาร ไปเป็นพนักงานของจำเลยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 มาตรา 60 ถือเป็นการให้ออกจากงานเดิมเพราะเหตุยุบตำแหน่งหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และไม่นับอายุการทำงานติดต่อกัน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคคลใดเป็นพนักงานของจำเลย ต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 9 (1) ที่กำหนดว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสัญชาติไทย โจทก์ไม่มีสัญชาติไทยจึงขาดคุณสมบัติที่จะเป็นพนักงานของจำเลย และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จำเลยจะต้องจ้างโจทก์เพราะความจำเป็นตามลักษณะงานของจำเลย โจทก์จึงต้องพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 11 (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุขาดคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ใช่กรณีเลิกจ้างที่จะต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จจากจำเลยโดยคำนวณจากอายุการทำงานในช่วงที่เป็นพนักงานของจำเลยเท่านั้น