พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1152/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน และขอบเขตการอุทธรณ์ในคดีแรงงาน
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างถึงสัญญาของผู้เข้าทำงานที่จำเลยทำกับโจทก์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของจำเลย และรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งโจทก์ถือว่ามิได้ปฏิบัติงานเป็นไปตามสัญญาฉบับดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายเพราะปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องละเมิด เมื่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 6 มิได้กำหนดอายุความไว้ คดีโจทก์จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างตามฟ้องโจทก์ที่อ้างว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินโดยตรง เพราะตำแหน่งหัวหน้ากองรักษาเงินที่จำเลยดำรงอยู่นั้นเป็นผู้รักษาเงินตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า มีระเบียบฯ ฉบับที่ 72 กำหนดส่วนงานของกองรักษาเงินและระเบียบฯฉบับที่ 4 กำหนดหน้าที่ของผู้รักษาเงินซึ่งเป็นคนละส่วนกันจำเลยเป็นหัวหน้ากองรักษาเงินจึงไม่ใช่ผู้รักษาเงินตามระเบียบฯ ฉบับที่ 4 นั้น อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจหยิบยกประเพณีหรือทางปฏิบัติมาเป็นข้อแก้ตัวจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หละหลวมมิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร กับจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ช่วยของจำเลยทุจริตการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยมิได้ทุจริต มิได้ประมาทหรือบกพร่องต่อหน้าที่ โจทก์ไม่มีระเบียบ ข้อบังคับคำสั่งให้จำเลยจดแจ้งจำนวนเงินนำเข้าออกจำเลยได้มอบหมายงานในหน้าที่ให้ผู้ช่วยของจำเลยไปแล้วหากจำเลยต้องรับผิดก็รับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายอันเป็นไปตามสภาพการทำงานระหว่างจำเลยกับผู้ช่วยของจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดถึงข้ออ้างตามฟ้องโจทก์ที่อ้างว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินโดยตรง เพราะตำแหน่งหัวหน้ากองรักษาเงินที่จำเลยดำรงอยู่นั้นเป็นผู้รักษาเงินตามระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 4 จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า มีระเบียบฯ ฉบับที่ 72 กำหนดส่วนงานของกองรักษาเงินและระเบียบฯฉบับที่ 4 กำหนดหน้าที่ของผู้รักษาเงินซึ่งเป็นคนละส่วนกันจำเลยเป็นหัวหน้ากองรักษาเงินจึงไม่ใช่ผู้รักษาเงินตามระเบียบฯ ฉบับที่ 4 นั้น อุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลแรงงานกลางได้พิพากษาให้จำเลยรับผิดโดยวินิจฉัยว่าจำเลยไม่อาจหยิบยกประเพณีหรือทางปฏิบัติมาเป็นข้อแก้ตัวจำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หละหลวมมิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร กับจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้ช่วยของจำเลยทุจริตการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยมิได้ทุจริต มิได้ประมาทหรือบกพร่องต่อหน้าที่ โจทก์ไม่มีระเบียบ ข้อบังคับคำสั่งให้จำเลยจดแจ้งจำนวนเงินนำเข้าออกจำเลยได้มอบหมายงานในหน้าที่ให้ผู้ช่วยของจำเลยไปแล้วหากจำเลยต้องรับผิดก็รับผิดเพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายอันเป็นไปตามสภาพการทำงานระหว่างจำเลยกับผู้ช่วยของจำเลยนั้นจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง อันเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044-1049/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: เริ่มนับเมื่อสิ้นสุดงานแต่ละโครงการ ไม่ใช่เมื่อจ้างงาน
จำเลยจ้างโจทก์ทำงานก่อสร้างหลายโครงการ ในการจ่ายค่าจ้างแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน และจำนวนเงินที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ฝ่ายจำเลย จนเมื่องานเสร็จตามโครงการก่อสร้างจึงปรากฏว่าจำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ตามจำนวนที่ฟ้องอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044-1049/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: เริ่มนับเมื่อสิ้นสุดงานแต่ละโครงการ ไม่ใช่เมื่อเริ่มจ้าง
จำเลยจ้าง โจทก์ทำงานก่อสร้างหลายโครงการ ในการจ้างค่าจ้างแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน และจำนวนที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจนเมื่องานเสร็จตามโครงการก่อสร้างจึงปรากฏว่าจำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ตามจำนวนที่ฟ้อง อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างนั้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044-1049/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: เริ่มนับเมื่อสิ้นสุดงานแต่ละโครงการ ไม่ใช่เมื่อเริ่มทำงาน
จำเลยจ้าง โจทก์ทำงานก่อสร้างหลายโครงการ ในการจ้างค่าจ้างแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน และจำนวนที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ฝ่ายจำเลย จนเมื่องานเสร็จตามโครงการก่อสร้างจึงปรากฏว่าจำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ตามจำนวนที่ฟ้อง อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างนั้น เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044-1049/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: เริ่มนับเมื่องานแต่ละโครงการเสร็จสิ้น
จำเลยจ้าง โจทก์ทำงานก่อสร้างหลายโครงการ ในการจ้างค่าจ้างแต่ละครั้งไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน และจำนวนที่จ่ายให้ก็สุดแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจนเมื่องานเสร็จตามโครงการก่อสร้างจึงปรากฏว่าจำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ตามจำนวนที่ฟ้อง อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันสิ้นสุดการทำงานตามโครงการก่อสร้างนั้นเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางเงินค่าส่งหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงใน 7 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์เมื่อโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ในกำหนดตามคำสั่งศาลจึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงใน 7 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ เมื่อโจทก์มิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ในกำหนดตามคำสั่งศาล จึงต้องถือว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลย การตัดพยาน และการกลับคำพิพากษา
ในวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 1 นัดแรก จำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมาศาล ศาลอนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาโดยกำชับว่าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนการนั่งพิจารณาอีกและให้จำเลยที่ 1นำพยานมาสืบให้เสร็จในนัดต่อไป ครั้นถึงวันนัดจำเลยที่ 1 เบิกความเป็นพยานด้วยตนเอง และขอส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยที่ 1 ยังศาลอื่นอีก 2 ศาลในประเด็นที่จำเลยที่ 1ได้เบิกความไปแล้ว เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ประวิงคดี ชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานและให้ตัดพยานที่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะสืบต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลย ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตเลื่อนการสืบพยานและตัดพยานที่จำเลยขอสืบเพิ่มเติม
ในวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 1 นัดแรก ซึ่งจำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าเกือบ 2 เดือน ไม่มีพยานมาศาล ทนายจำเลยที่ 1 แถลงว่าจะสืบพยาน 4 ปาก คือ จำเลยที่ 1, ป., ส. และ ก. มิได้กล่าวอ้างว่าจะต้องส่งประเด็นไปสืบ ป.ที่ศาลอื่น ทั้งมิได้กล่าวถึง พ.ด้วยศาลให้เลื่อนคดีให้จำเลยที่ 1 มีเวลาเตรียมพยาน 1 เดือนเศษโดยกำชับไว้ว่าจะไม่ให้เลื่อนคดีอีกไม่ว่ากรณีใด ๆ จะให้สืบพยานเท่าที่สามารถนำมาศาลได้ ครั้นถึงวันนัด จำเลยที่ 1 สืบพยานได้เพียงตัวเองแล้วแถลงว่ายังติดใจสืบ ป. และ พ.ซึ่งจะส่งประเด็นไปสืบที่ศาลอื่นในข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ได้เบิกความไว้แล้ว ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ประวิงคดี ศาลไม่ให้เลื่อนคดีและให้ตัดพยานที่จะสืบต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องคดีเดิมและคดีใหม่โดยมีมูลเหตุเดียวกัน
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางศาลจังหวัดนครสวรรค์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23 มิถุนายน 2531ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า บำเหน็จ ค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานกลาง ศาลจังหวัดนครสวรรค์จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกันโจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิม และไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป