คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีเดิม
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ แม้ศาลจำหน่ายคดีแล้ว เป็นการฟ้องที่ไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๓๑ เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ ๒๓มิถุนายน ๒๕๓๑ ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๑ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓(๑) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การยื่นฟ้องคดีเดิมและคดีใหม่ด้วยมูลคดีเดียวกัน
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์)เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า บำเหน็จ ค่าเล่าเรียนบุตร จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ค้างชำระเข้ามาด้วย ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531 ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิม โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำผิดพยายามฆ่า แม้ไม่ได้บรรยายในฟ้อง ศาลลงโทษฐานผู้สนับสนุนได้
จำเลยที่ 3 จัดหารถจักรยานยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ขับขี่ไล่ยิงผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 3 ยังไม่ถึงขั้นเป็นตัวการ เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายเพื่อขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ เพราะมีโทษเบากว่าตัวการตามที่โจทก์ฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณา - เหตุสุดวิสัย - การไต่สวน - การพิสูจน์ความจริง - ศาลต้องให้โอกาสจำเลยชี้แจง
คำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยเดินทางมาถึงศาลก่อนเวลานัด ปรากฏว่าไม่มีเลขคดี ชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยทนายจำเลยไปที่ห้องเก็บสำนวน ไม่พบสำนวนเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนดูวันนัดบนปกสำนวนแล้วแจ้งว่าคดีนัดวันรุ่งขึ้น ครั้นวันรุ่งขึ้นจำเลยมาศาลจึงทราบว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาคดีแล้วตั้งแต่วันวาน ดังนี้ หากความจริงเป็นไปดังที่จำเลยอ้าง ย่อมฟังได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงต้องไต่สวนและมีคำสั่งตามรูปคดี.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลต้องไต่สวนหากจำเลยอ้างเหตุผลสมควรว่าไม่ได้จงใจขาดนัด
คำร้องของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เพราะวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยเดินทางมาถึงศาลก่อนเวลานัดไปดูใบลอยที่หน้าศาล ปรากฏว่าไม่มีเลขคดี ชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยดังกล่าว ทนายจำเลยไปที่ห้องเก็บสำนวน ไม่พบสำนวนเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนดูวันนัดบนปกสำนวนแล้วแจ้งว่าคดีนัดวันรุ่งขึ้น ทนายจำเลยเข้าใจว่าลงนัดในสมุดนัดผิดพลาดไปจึงเดินทางกลับ รุ่งขึ้นมาศาลปรากฏว่ามีเลขคดีชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยจึงไปที่บัลลังก์ตามใบลอยก็ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้วตั้งแต่วันวาน ดังนี้หากความจริงเป็นไปดังที่จำเลยอ้าง ย่อมฟังได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุผลความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวันนัดและการไต่สวนใหม่
คำร้อง ของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เพราะวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยเดินทางมาถึงศาลก่อนเวลานัดไปดูใบลอยที่หน้าศาล ปรากฏว่าไม่มีเลขคดี ชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยดังกล่าว ทนายจำเลยไปที่ห้องเก็บสำนวนไม่พบสำนวน เจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนดูวันนัดบนปกสำนวนแล้วแจ้งว่าคดีนัดวันรุ่งขึ้น ทนายจำเลยเข้าใจว่าลงนัดในสมุดนัดผิดพลาดไปจึงเดินทางกลับ รุ่งขึ้นมาศาล ปรากฏว่ามีเลขคดีชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอย จึงไปที่บัลลังก์ ตามใบลอย ก็ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้วตั้งแต่วันวาน ดังนี้ หากความจริงเป็นไปดังที่จำเลยอ้างย่อมฟังได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุสุดวิสัยและหน้าที่ศาลในการไต่สวน
คำร้อง ของจำเลยที่ขอให้พิจารณาใหม่โดยอ้างว่า มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เพราะวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยเดินทางมาถึงศาลก่อนเวลานัดไปดูใบลอยที่หน้าศาล ปรากฏว่าไม่มีเลขคดี ชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอยดังกล่าว ทนายจำเลยไปที่ห้องเก็บสำนวนไม่พบสำนวน เจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนดูวันนัดบนปกสำนวนแล้วแจ้งว่าคดีนัดวันรุ่งขึ้น ทนายจำเลยเข้าใจว่าลงนัดในสมุดนัดผิดพลาดไปจึงเดินทางกลับ รุ่งขึ้นมาศาล ปรากฏว่ามีเลขคดีชื่อโจทก์และจำเลยในใบลอย จึงไปที่บัลลังก์ ตามใบลอย ก็ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้วตั้งแต่วันวาน ดังนี้ หากความจริงเป็นไปดังที่จำเลยอ้างย่อมฟังได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา ชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายภรรยาและสามีด้วยมีด ศาลตัดสินลงโทษจำเลย
จำเลยใช้มีดปังตอฟันโจทก์ร่วมที่ ๑ ถูกที่หน้าผากด้านขวาได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยจะฟันซ้ำ โจทก์ร่วมที่ ๒ ซึ่งเป็นภรรยาของโจทก์ร่วมที่ ๑ วิ่งเข้ามาขัดขวางไว้จึงถูกจำเลยฟันที่ศีรษะ จำเลยจะฟันซ้ำ โจทก์ร่วมที่ ๒ ยกมือขึ้นรับจึงถูกฟันที่นิ้วมือเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ ๒ ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕และมาตรา ๒๙๗ ประกอบด้วยมาตรา ๗๒ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๗ ประกอบด้วยมาตรา ๗๒ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา ๙๐.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธอันตรายโดยเจตนาและบันดาลโทสะ
จำเลยใช้มีดปังตอฟันโจทก์ร่วมที่ 1 ถูกที่หน้าผากด้านขวาได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยจะฟันซ้ำ โจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาของโจทก์ร่วมที่ 1 วิ่งเข้ามาขัดขวางไว้จึงถูกจำเลยฟันที่ศีรษะ จำเลยจะฟันซ้ำ โจทก์ร่วมที่ 2 ยกมือขึ้นรับจึงถูกฟันที่นิ้วมือเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยกระทำโดยบันดาลโทสะ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295และมาตรา 297 ประกอบด้วยมาตรา 72 แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ประกอบด้วยมาตรา 72 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90.
of 51