พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน ศาลฎีกาเน้นการพิจารณาตามข้อตกลงและคำขอของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ให้คำนิยามของคำว่า "เจ็บป่วย" ไว้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เมื่อโจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างไม่ได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้าง แต่ ฟ้องเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงไม่จำต้องนำหลักฐานกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดย คำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้ รับก็ตาม แต่ เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, ค่ารักษาพยาบาล และการคำนวณวันหยุดพักผ่อนประจำปี
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2คำว่า "เจ็บป่วย" หมายความว่า ลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือโรคซึ่งเกิดจากการทำงานตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวให้คำนิยามของคำว่า"เจ็บป่วย" ไว้เช่นนั้นก็เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ฉะนั้นเมื่อคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลย แต่เรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเมื่อจำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า กรณีลูกจ้างป่วยไม่ว่าเนื่องจากการทำงานหรือไม่จำเลยก็จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ จำเลยต้องจ่ายตามข้อตกลงเช่นว่านั้น ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจำเลยถึงหลักกฎหมายที่ว่า การเจ็บป่วยของโจทก์เกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี การแก้ไขคำพิพากษาเกินคำขอ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ให้คำนิยามของคำว่า "เจ็บป่วย" ไว้เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างที่เจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้ฟ้องเรียกเงินทดแทนจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่ฟ้องเรียกเงินค่ารักษาพยาบาลตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงไม่จำต้องนำหลักฐานกฎหมายดังกล่าวมาวินิจฉัย
แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดยคำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้รับก็ตาม แต่เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์โดยคำนวณถูกต้องตาม สิทธิที่โจทก์พึงได้รับก็ตาม แต่เมื่อเกินคำขอบังคับของโจทก์แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ขึ้นมาโดยตรง ศาลฎีกาก็เห็นควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นต่างกัน คำพิพากษาไม่ขัดแย้ง: คดีเดิมเรื่องปฏิบัติหน้าที่ คดีหลังเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คดีเดิมประเด็นมีว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบแบบแผนหรือคำสั่งของจำเลยโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ ส่วนคดีหลังประเด็นมีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้าง เงินโบนัส สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามฟ้องหรือไม่ ประเด็นทั้งสองคดีจึงแตกต่างกัน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกว่า คดีเดิมกับคดีหลังไม่ใช่มีประเด็นอย่างเดียวกัน คำพิพากษาทั้งสองคดีจึงไม่ขัดกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าประเด็นคดีเดิมและคดีหลังแตกต่างกัน ไม่ขัดแย้งกัน
คดีเดิม ประเด็นมีว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายระเบียบแบบแผนหรือคำสั่งของจำเลยโดย จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ ส่วนคดีหลังประเด็นมีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย ไม่เป็นธรรมหรือไม่ โจทก์มีสิทธิได้ รับค่าจ้าง เงินโบนัสสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตาม ฟ้องหรือไม่ประเด็นทั้งสองคดีจึงแตกต่าง กัน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ข้อแรกว่า คดีเดิม กับคดีหลังไม่ใช่มีประเด็นอย่างเดียวกันคำพิพากษาทั้งสองคดีจึงไม่ขัดกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้ออาคารตามคำพิพากษาศาลฎีกา: การพิจารณาความสูงที่แท้จริงและการไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเกินควร
คำพิพากษาศาลฎีกาสั่งให้จำเลยรื้ออาคารเหลือความสูง 8 เมตรโดยไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าวัดจากจุดไหนถึงจุดไหน จำเลยได้รื้ออาคารออกไปแล้ว 2 ชั้น เหลือพื้นชั้นที่ 3 เป็นหลังคา ถ้าวัดส่วนสูงสุดของอาคารถึงพื้นที่ทำการจะสูง 8.59 เมตร แต่ถ้าวัดถึงพื้นโดยรอบอาคารจะสูง 7.90 เมตร หากจะให้จำเลยรื้อออกอีก 1 ชั้น ก็จะทำให้อาคารของจำเลยมีความสูงต่ำกว่า 8 เมตรมาก ทั้งจะเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยมากเกินควร สำหรับห้องคลุมบันไดนั้นห่างจากผนังตึกที่ติดกับอาคารของโจทก์ 4 เมตร และผนังตึกของอาคารพิพาทห่างจากชายคาบ้านโจทก์ถึง 3 เมตร รวมแล้วห่างจากชายคาบ้านโจทก์ 7 เมตร ไม่มีผลที่จะบังลมหรือแสงอาทิตย์ที่จะเข้าบ้านโจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำการฝ่าฝืนคำพิพากษาศาลฎีกาแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องภาระจำยอมแม้โอนกรรมสิทธิ์ไปแล้ว หากมีข้อตกลงยินยอมจดทะเบียนไว้ก่อน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินและตกลงกันตามบันทึกต่อท้ายสัญญาว่า จำเลยยินยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อให้แก่ จ. ไปแล้วในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็ยังอาศัยสิทธิดังกล่าวเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตามข้อตกลงได้ รวมตลอดทั้งมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนฟ้องซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงภาระจำยอมยังผูกพัน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนโอน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินและตกลง กันตาม บันทึกต่อ ท้ายสัญญาว่าจำเลยยินยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์แม้โจทก์จะได้ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อ ให้แก่ จ. ไปแล้วในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็ยังอาศัยสิทธิดังกล่าวเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตาม ข้อตกลงได้ รวมตลอด ทั้งมีสิทธิได้ รับค่าเสียหายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนฟ้องซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและภาระจำยอม: สิทธิเรียกร้องตามสัญญาแม้มีการโอนสิทธิในที่ดินไปแล้ว
โจทก์ฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมทางเดินในที่ดินของจำเลยแก่ที่ดินของโจทก์พร้อมกับเรียกค่าเสียหาย แม้โจทก์ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ให้แก่ จ. ไปในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่โจทก์และจำเลยก็ได้ทำบันทึกตกลงกันว่าจำเลยยินยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน โจทก์จึงอาศัยสิทธิดังกล่าวเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตามข้อตกลงได้ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนฟ้องซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับ อำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้โอนกรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตามข้อตกลงเดิมได้
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ซื้อมาจากจำเลยให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ตามบันทึกต่อท้ายสัญญาซื้อขายว่า จำเลยยินยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง และจำเลยก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน โจทก์จึงอาศัยสิทธิดังกล่าวเรียกร้องให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมตามข้อตกลงได้รวมตลอดทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนฟ้อง ซึ่งขณะนั้นโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากจำเลยอยู่ อำนาจฟ้องและอำนาจในการบังคับคดีของโจทก์หาได้ระงับลงไม่.