คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่โอนย้าย: การจ่ายค่าเช่าบ้านตามกฎหมายและข้อบังคับ กปภ.
ตาม พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสามบัญญัติว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ. ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลาง ก่อน จนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้" ตามบทบัญญัตินี้ย่อมมีความหมายว่า เมื่อข้าราชการที่โอนไปเป็นพนักงานของจำเลยได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการแล้ว จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย โจทก์เป็นข้าราชการที่โอนมาและได้รับบรรจุและแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่ได้รับอยู่เดิมก่อนโอนมา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่าค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นประเภท"สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ" ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตามบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่โอนย้าย - การจ่ายค่าเช่าบ้านหลังบรรจุ - ข้อบังคับ กปภ. - ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ที่ว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ.ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ มีความหมายว่าข้าราชการหรือลูกจ้างที่จะโอนไปเป็นพนักงานของจำเลย จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมเมื่อยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลย แต่เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว คงมีเงื่อนไขว่าจะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย
เดิมโจทก์รับราชการอยู่กองประปา ชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าค่าเช่าบ้านดังกล่าวเป็นค่าจ้างจึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นเงินประเภท "สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ" ตามพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค มาตรา 52 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยและได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเช่าบ้านที่ได้รับอยู่เดิมจากจำเลยได้
ข้อบังคับการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านของผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2523 ข้อ 5(2) กำหนดว่า "ผู้ซึ่ง กปภ.บรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกในท้องที่ใดและยังคงปฏิบัติงานประจำในท้องที่นั้น ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน" ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกใน กรุงเทพมหานคร และยังคงปฏิบัติงานประจำอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์โอนย้ายพนักงาน กปภ. และข้อยกเว้นการจ่ายค่าเช่าบ้านตามข้อบังคับ
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ที่ว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ.ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ มีความหมายว่าข้าราชการหรือลูกจ้างที่จะโอนไปเป็นพนักงานของจำเลย จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมเมื่อยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง จากผู้ว่าการของจำเลย แต่เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้วคงมีเงื่อนไขว่าจะแต่งตั้ง ให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย เดิมโจทก์รับราชการอยู่กองประปา ชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าค่าเช่าบ้านดังกล่าวเป็นค่าจ้างจึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นเงินประเภท "สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ "ตาม พระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค มาตรา 52 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยและได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเช่าบ้านที่ได้รับอยู่เดิมจากจำเลยได้ ข้อบังคับการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านของผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2523 ข้อ 5(2) กำหนดว่า "ผู้ซึ่ง กปภ.บรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกในท้องที่ใดและยังคงปฏิบัติงานประจำในท้องที่นั้น ไม่มีสิทธิได้ รับค่าเช่าบ้าน" ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกใน กรุงเทพมหานคร และยังคงปฏิบัติงานประจำอยู่ใน กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งโดยอิงวันลา ไม่ขัดต่อระเบียบและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้องแม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและ ศาลแรงงานกลาง รับวินิจฉัยให้ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วใน ศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย ระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคาร ออมสิน เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดย ระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคาร ออมสิน ฉบับที่ 180.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์นอกประเด็นและข้อตกลงสภาพการจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องข้อตกลงสภาพการจ้างที่มิได้ยกขึ้นในศาลล่าง
การที่โจทก์อุทธรณ์ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่จำเลยทำกับสหภาพแรงงาน โดยโจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในฟ้อง แม้ในชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงนี้ และศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยให้ก็ตามก็เป็นเรื่องนอกประเด็น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์นอกประเด็น & การกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครเลื่อนตำแหน่งไม่ขัดต่อระเบียบลาของพนักงาน
โจทก์อุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้บรรยายเป็นข้อหาไว้ในคำฟ้อง แม้ชั้นพิจารณาจำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และศาลแรงงานกลางรับวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต้องถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180 ว่าด้วยการลาของพนักงานธนาคารออมสิน กล่าวถึงสิทธิของพนักงานธนาคารออมสินที่มีเวลาทำงานในธนาคารออมสินเป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้วมีสิทธิลาป่วย ลากิจโดยได้รับเงินเดือนเต็มหรือกึ่งหนึ่งหรือไม่ได้รับเงินเดือนในปีหนึ่งมีจำนวนกี่วัน โดยระเบียบมิได้กล่าวถึงเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้มีระดับสูงขึ้น การที่จำเลยกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่งโดย กำหนดว่าต้องมีวันลาไม่เกิน 54 วัน ภายใน 3 ปีนับถึงวันปิดรับสมัคร จึงไม่กระทบถึงสิทธิของพนักงานจำเลย และไม่ฝ่าฝืนระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2327/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างช่วง สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา การเลิกจ้างตามสัญญา มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ทำสัญญาจ้างรวม 4 ครั้งจ้างกันเป็นช่วง ๆ นั้น เมื่อบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงานคือ ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 6 เรื่องจ้างแรงงาน หรือประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้มีบทบัญญัติห้ามไว้ชัดแจ้งว่าจะทำสัญญาในลักษณะดังกล่าวมิได้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดเวลาในสัญญา ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทั้งไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าทดแทน – กรมแรงงานมีหน้าที่จ่ายแม้จ่ายเงินสมทบไม่ตรงประเภท – การฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นในกรมแรงงาน กำหนดให้เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายและเงินอื่น ๆ ที่ประกอบเป็นกองทุนเงินทดแทนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมแรงงาน กรณีที่ นายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบ ก็ให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้างได้ และตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียวกันดังกล่าวก็บัญญัติให้มีสำนักงานกองทุนเงินทดแทนในกรมแรงงาน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนและให้มีคณะกรรมการเรียกว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานจำเลยนั้นเอง การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน จึงถือว่าเป็น การกระทำของจำเลย ฉะนั้นการที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนได้ โจทก์เป็นพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและได้รับคำสั่งจากนายจ้างให้เป็นนักฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคาร โดยมีระเบียบของนายจ้างว่าการแข่งขันกีฬาและการฝึกซ้อมกีฬาของพนักงานเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร จึงถือได้ว่าการฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันกีฬาของโจทก์เป็นการทำงานให้นายจ้างตามคำสั่งของนายจ้าง เพราะการเล่นกีฬาย่อมก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่พนักงานและมีพลานามัย แข็งแรงเป็นประโยชน์แก่การทำงานให้แก่นายจ้าง การที่โจทก์ประสบอันตรายในการฝึกซ้อมฟุตบอลจึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง แม้นายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนทดแทนประเภทกิจการสถาบันทางการเงินไม่ได้จ่ายตามประเภทกิจการบันเทิงและการกีฬาก็ตาม จำเลยก็ไม่หลุดพ้น จากความรับผิดในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน: การบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน กรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของ กรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของ กรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง กรมแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตาม วัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่ง ระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์.
of 51