พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีงานอื่นรองรับ นายจ้างต้องมีเหตุผลอันสมควร
งานเดิมที่ลูกจ้างทำอยู่กับนายจ้างได้ยุบเลิกไปแล้ว แต่นายจ้างยังมีงานอื่นอีกหลายแผนกที่สามารถจัดให้ลูกจ้างเข้าปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันจำเป็นหรือเหตุอันสมควร และเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มีงานอื่นรองรับ นายจ้างต้องมีเหตุผลอันสมควร
งานเดิมที่ลูกจ้างทำอยู่กับนายจ้างได้ยุบเลิกไปแล้ว แต่นายจ้างยังมีงานอื่นอีกหลายแผนกที่สามารถจัดให้ลูกจ้างเข้าปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันจำเป็นหรือเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มีงานอื่นรองรับ นายจ้างต้องมีเหตุอันสมควร
งานเดิมที่ลูกจ้างทำอยู่กับนายจ้างได้ ยุบเลิกไปแล้ว แต่นายจ้างยังมีงานอื่นอีกหลายแผนกที่สามารถจัดให้ลูกจ้างเข้าปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม การที่ นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันจำเป็นหรือเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากมีเหตุสุดวิสัยนอกเหนือการควบคุม ยื่นได้ภายใน 15 วันนับจากเหตุสิ้นสุด
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา เว้นแต่ไม่อาจยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนืออันไม่อาจบังคับได้ก็อาจยื่นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นั้นสิ้นสุดลงป.วิ.พ. มาตรา 208 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยอ้างเหตุว่าจำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเพราะ ว. ลูกจ้างจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่แผนกไปรษณีย์ได้ทุจริตช่วยเหลือโจทก์ โดยได้ยึดหน่วงหมายเรียกสำเนาฟ้องไว้ไม่ส่งให้หน่วยงานของจำเลยที่รับผิดชอบทราบเพื่อไม่ให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดี คำขอของจำเลยจึงเป็นการอ้างเหตุที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดเพราะเหตุนอกเหนือไม่อาจบังคับได้จากการกระทำของ ว. เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนด 15 วันนับแต่พฤติการณ์นั้นสิ้นสุด คำขอของจำเลยจึงยื่นถูกต้องตามกฎหมายศาลแรงงานจะต้องรับคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ทำการไต่สวนต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควรในการเลิกจ้าง และการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มาทำงานสายบ่อยครั้ง และบางครั้งหลังจากพักเที่ยง โจทก์กลับมาทำงานช้าหรือไม่กลับมาทำงานอีก ดังนี้เป็นเรื่องที่ลูกจ้าง ไม่มาทำงานให้แก่นายจ้างตามเวลาที่ นายจ้างกำหนด อันถือว่ามีเหตุสมควรที่ นายจ้างจะเลิกจ้างได้ การที่ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดซ้ำหลังได้รับการตักเตือน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
หนังสือแจ้งการลงโทษมีข้อความว่า "ในวันที่ 16 มกราคม 2532โจทก์ได้ กระทำความผิดคือได้ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่ อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2531 บริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่ วันที่ 17-23 มกราคม 2532เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกจ้างอื่นต่อไป หากกระทำผิดซ้ำอีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" ข้อความที่ว่า "หากกระทำผิดซ้ำ อีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" นั้น มีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วยในตัว ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือน โจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วย การพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหลังได้รับการตักเตือนแล้ว
หนังสือแจ้งการลงโทษมีข้อความว่า "ในวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ได้กระทำความผิดคือได้ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2531 บริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 17-23 มกราคม 2532 เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกจ้างอื่นต่อไป หากกระทำผิดซ้ำอีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" ข้อความที่ว่า "หากกระทำผิดซ้ำ อีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" นั้น มีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วยในตัว
ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองของพนักงานที่ถูกไล่ออกเนื่องจากขาดงานและเกียจคร้าน หากคณะกรรมการไม่เคยมีมติไม่จ่ายเงิน
ระเบียบการของธนาคารจำเลยฉบับที่ 67 ระบุว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองแก่พนักงาน เฉพาะกรณีตามที่ระบุไว้ในข้อ 11 คือ (1) มีเวลาทำงานต่ำกว่าห้าปี (2) ออกจากงานเพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือเพราะกระทำการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ธนาคารจำเลยต้องเสียหาย หรือเพราะเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงานและคณะกรรมการของธนาคารจำเลยเห็นว่า ไม่สมควรจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสองให้ (3) ออกจากงานเพราะต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่ความผิดฐานลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยเกิน 5 ปีแล้ว แม้โจทก์จะถูกจำเลยไล่ออกจากตำแหน่งเนื่องจากโจทก์ขาดงานละทิ้งหน้าที่เกิน 15 วัน เป็นการเกียจคร้านไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน แต่คณะกรรมการธนาคารจำเลยก็ไม่เคยมีความเห็นว่าไม่สมควรจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามที่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินทุนเลี้ยงชีพประเภทสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลความร้ายแรงและการกระทำที่ไม่สมควร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง คำให้การของจำเลยจึงเท่ากับต่อสู้ว่า เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ฉะนั้นการจะวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิเคราะห์ว่ามีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้หรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์แม้จะไม่ผิดต่อระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง แต่ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควรการเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้เป็นการวินิจฉัยตามคำฟ้อง คำให้การและประเด็นพิพาทที่กำหนดไว้หาเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และดอกเบี้ยผิดนัด การพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างและการคำนวณค่าชดเชย
ค่าชดเชยเป็นหนี้ที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจะต้องชำระให้แก่ลูกจ้างในวันเลิกจ้าง ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่ชำระค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในวันเลิกจ้าง จำเลยจึงตกเป็นลูกหนี้ผู้ผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.