คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศักดา โมกขมรรคกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยต้องตรงตามข้อบังคับบริษัท และการจ่ายค่าจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริงแต่ฝ่าฝืนระเบียบ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การลาป่วยไว้ว่า พนักงานมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน30 วันทำงาน ถ้าพนักงานป่วย 3 วันทำงานติดต่อกัน พนักงานจะต้องแสดงใบรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ถ้าไม่อาจทำใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ให้ชี้แจงเหตุผลให้ทราบการลาป่วยต้องขอลาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หรือระหว่างการเจ็บป่วยต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบ ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องกระทำภายใน 4 ชั่วโมงแรกของเวลาเริ่มปฏิบัติงานหรือแจ้งให้ทราบในวันแรกที่มาทำงานตามปกติ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มาทำงาน4 วัน ติดต่อกัน คือวันที่ 131415 และ 18 กันยายน 2532 โจทก์ยื่นใบลาป่วย 4 วันตามข้อบังคับของจำเลย โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แพทย์ลงความเห็นว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 1516 และ 18 กันยายน2532 หาได้รับรองว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 1314 กันยายน 2533ด้วยไม่ การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยในวันที่ 1314 ด้วย จึงไม่ตรงต่อความจริง และไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องได้โดยไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ทำใบรับรองแพทย์มาแสดงอีก หาเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 ไม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการยื่นใบลาป่วย การที่โจทก์ลาป่วยเพียง 2 วัน โดยโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาในวันลาและไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบในระหว่างการลา เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยจริง การฝ่าฝืนของโจทก์ดังกล่าวคงมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นไม่อาจถือว่าโจทก์ขาดงานด้วยการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยต้องยื่นใบลาตามข้อบังคับ หากใบรับรองแพทย์ไม่ตรงกับวันที่ลาป่วย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาได้
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดการลาป่วยว่า"ถ้า พนักงานป่วยสามวันทำงานติดต่อ กัน พนักงานจะต้อง แสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบัน" การที่โจทก์ซึ่ง เป็นพนักงานลาป่วยติดต่อ กันหลายวันโดย มีใบรับรองแพทย์มาแสดงสองฉบับ แต่ใบรับรองแพทย์ดังกล่าวมิได้รับรองว่าโจทก์ได้ ป่วยในวันที่ 1314ด้วย การยื่นใบลาป่วยในวันดังกล่าวจึงไม่ตรง ตาม ข้อบังคับของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องของโจทก์ได้ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการลาของโจทก์ดังกล่าวไม่ถือ เป็นการลาป่วย จึงหาเป็นการขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 12 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยต้องตรงตามข้อบังคับบริษัท และการจ่ายค่าจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การลาป่วยไว้ว่า พนักงานมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน ถ้าพนักงานป่วย 3 วันทำงานติดต่อกัน พนักงานจะต้องแสดงใบรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ถ้าไม่อาจทำใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ให้ชี้แจงเหตุผลให้ทราบ การลาป่วยต้องขอลาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หรือระหว่างการเจ็บป่วยต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบ ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องกระทำภายใน 4 ชั่วโมงแรกของเวลาเริ่มปฏิบัติงานหรือแจ้งให้ทราบในวันแรกที่มาทำงานตามปกติ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มาทำงาน4 วัน ติดต่อกัน คือวันที่ 13 14 15 และ 18 กันยายน 2532 โจทก์ยื่นใบลาป่วย 4 วัน ตามข้อบังคับของจำเลย โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แพทย์ลงความเห็นว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 15 16 และ 18 กันยายน 2532 หาได้รับรองว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 13 14 กันยายน 2533 ด้วยไม่ การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยในวันที่ 13 14 ด้วย จึงไม่ตรงต่อความจริง และไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องได้โดยไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ทำใบรับรองแพทย์มาแสดงอีก หาเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 ไม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการยื่นใบลาป่วย
การที่โจทก์ลาป่วยเพียง 2 วัน โดยโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาในวันลาและไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบในระหว่างการลา เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยจริง การฝ่าฝืนของโจทก์ดังกล่าวคงมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นไม่อาจถือว่าโจทก์ขาดงานด้วยการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการชุดใหม่ vs สัญญาประนีประนอมยอมความเดิม: การฉ้อฉลและการค้างชำระค่าจ้าง
ช. เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลย จำนวนร้อยละ 43.46 จึงมีอำนาจเรียกประชุมวิสามัญได้ เมื่อ ช. เรียกประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมดและมีการประชุมตามกำหนดจึงเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่มีอำนาจลงมติแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการบริษัทจำเลยได้ ตามป.พ.พ. 1173,1174,1151 และเมื่อการประชุมใหญ่วิสามัญดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์ให้ถอดถอนกรรมการชุดเดิมทั้งหมดและแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ 5 คน โดย ช.และว. เป็นกรรมการชุดใหม่มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำการแทนจำเลยได้ตามมติของที่ประชุมใหญ่วิสามัญได้ให้อำนาจไว้ ดังนี้ ช.กับว.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความแทนบริษัทจำเลยได้ และทนายความดังกล่าวย่อมมีอำนาจอุทธรณ์แทนบริษัทจำเลย ศ. กรรมการของบริษัทจำเลยเป็นผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยกระทำการผูกพันจำเลยได้ การที่ ศ.เป็นโจทก์ร่วมกับลูกจ้างคนอื่นของจำเลยรวม 366 คน ฟ้องบริษัทจำเลยให้จ่ายค่าจ้างค้างชำระและดอกเบี้ยแก่ตนเอง โดยในระหว่างดำเนินคดี ศ. ได้กระทำการในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยด้วยการแต่งตั้งทนายความเข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ชำระเงินตามฟ้องให้แก่ ศ. และโจทก์อื่นทุกคน และศาลแรงงานกลางได้พิพากษาคดีตามยอม ดังนี้ ประโยชน์ทางได้ทางเสียระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลกับ ศ. โจทก์ที่ 364 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยเป็นปฏิปักษ์แก่กัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 80 ดังนั้นทนายความซึ่งแต่งตั้งโดย ศ. จึงไม่มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินให้แก่ ศ. โจทก์ที่ 364 ได้ และ ป.พ.พ. มาตรา 80 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่าง ศ. กับจำเลยจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 138(2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลางระหว่างโจทก์อื่นกับบริษัทจำเลยไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 80จึงมีผลผูกพันจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีต้องใช้ค่าจ้างขณะเลิกจ้าง รวมค่าครองชีพ
ตาม ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45สิทธิของลูกจ้างที่จะได้ รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเกิดขึ้นเมื่อถูก เลิกจ้าง ฉะนั้นการคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงต้อง คิดจากอัตราค่าจ้างขณะเลิกจ้าง ดังนี้การนำค่าครองชีพรวมกับเงินเดือนของลูกจ้างมาคำนวณค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา (วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากทนายจำเลยลงชื่อรับทราบวันนัดฟังคำสั่งศาล และเพิกเฉยต่อการนำส่งสำเนาฎีกา
ฎีกาของจำเลยหน้าแรกมีข้อความซึ่งประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยลงชื่อไว้ ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยผู้ยื่นฎีกาจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน15 วัน แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา(วันที่ 20 ตุลาคม 2532) ก็ตาม แต่การที่ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนายอมรับผูกพันตนเองว่าจะมาฟังคำสั่งในวันดังกล่าว ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2532 เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ศาลสั่ง จึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ฎีกาของจำเลย หน้าแรกมีข้อความประทับด้วย ตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ให้มาทราบ คำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2532 ถ้า ไม่ มาให้ถือ ว่าทราบคำสั่งแล้ว"โดย มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้ยื่น ฎีกาเซ็น ไว้ในช่อง ระหว่างคำว่า"ลงชื่อ" และคำว่า "ผู้ร้องหรือผู้ยื่น" จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับผูกพันตนเองว่า จะมาฟังคำสั่งในวันที่ 24 ตุลาคม2532 ถ้า ไม่ มาก็ให้ถือ ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้น สั่งในฎีกาของจำเลยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2532 ว่า รับฎีกาให้ผู้ฎีกานำส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือ ว่าทิ้งฎีกา ดังนี้ แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือ ว่าคำสั่งศาลนั้นได้ ส่งให้จำเลยโดย ชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่ วันที่ 24 ตุลาคม 2532 การที่จำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาตาม ที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียวเรื่องการปิดทับราคาและจำหน่ายสินค้าเกินราคาควบคุม
การที่จำเลยปิดราคา 55 บาท ลงบนกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นสินค้าควบคุมทับราคาควบคุม 52 บาท ให้ไม่ปรากฏ อันเป็นความผิดฐานปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุมให้ไม่ปรากฏก็เพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวในราคากระป๋องละ 55 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาควบคุม อันเป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าให้สูงกว่าราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุม ดังนั้น เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นกระป๋องนั้นในราคา 55 บาท ก็เป็นการกระทำที่ทำให้จำเลยบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันและต่อเนื่องกัน ทั้งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 ฉบับเดียวกัน และมีบทลงโทษตามกฎหมายบทเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมเดียว การปิดทับราคาควบคุมสินค้าและจำหน่ายราคาสูงกว่า มีเจตนาต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยปิดราคา 55 บาท ลงบนกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นสินค้าควบคุมทับราคาควบคุม 52 บาท ให้ไม่ปรากฏ อันเป็นความผิดฐานปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุมให้ไม่ปรากฏก็เพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวในราคากระป๋องละ 55 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาควบคุม อันเป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าให้สูงกว่าราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุม ดังนั้นเมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นกระป๋องนั้นในราคา 55 บาทก็เป็นการกระทำที่ทำให้จำเลยบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันและต่อเนื่องกันทั้งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 ฉบับเดียวกัน และมีบทลงโทษตามกฎหมายบทเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33(1).
of 51