พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียว: ปิดทับราคาควบคุมสินค้าเพื่อจำหน่ายราคาสูงกว่า เป็นความผิดฐานฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมราคาสินค้า
การที่จำเลยปิดราคา 55 บาท ลงบนกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นซึ่งเป็นสินค้าควบคุมทับราคาควบคุม 52 บาท ให้ไม่ปรากฏ อันเป็นความผิดฐานปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุมให้ไม่ปรากฏ ก็เพราะจำเลยมีจุดประสงค์ที่จะจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นดังกล่าวในราคากระป๋องละ 55 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาควบคุม อันเป็นความผิดฐานจำหน่ายสินค้าให้สูงกว่าราคาที่พิมพ์ไว้ตามกฎหมายที่สินค้าควบคุม ดังนั้น เมื่อจำเลยจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นกระป๋องนั้นในราคา 55 บาท ก็เป็นการกระทำที่ทำให้จำเลยบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียวกันและต่อเนื่องกันทั้งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 ฉบับเดียวกัน และมีบทลงโทษตามกฎหมายบทเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว
ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 (1)
ความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528 น้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยได้จำหน่ายไปมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายบทเดียว กรณีปิดทับราคาควบคุมสินค้าและจำหน่ายเกินราคา ศาลไม่เห็นพ้องกับการริบของกลาง
การที่จำเลยปิดทับราคาที่พิมพ์ไว้ตาม กฎหมายที่สินค้าควบคุมเพื่อไม่ให้ราคาที่พิมพ์ไว้ปรากฏ และจำหน่ายสินค้าควบคุมนั้นไปตาม ราคาที่ปิดทับซึ่ง สูงกว่าราคาควบคุม เป็นการกระทำโดย มีเจตนาและจุดมุ่งหมายอันเดียว กันและต่อเนื่องกัน ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับ เดียว กัน มีบท ลงโทษบทเดียว กัน เป็นความผิดกรรมเดียวและผิดกฎหมายบทเดียว น้ำมันหล่อลื่นอันเป็นสินค้าควบคุมที่จำเลยจำหน่ายไปเกินกว่าราคาควบคุมมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตาม ป.อ. มาตรา 33(1) เพราะความผิดของจำเลยอยู่ที่การฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการกลางตาม มาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดฯ ปัญหาเรื่องริบของกลางเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของพนักงานถือเป็นอันตรายจากการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
การที่ธนาคารโจทก์ที่ 1 จัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในระหว่างหน่วยงาน ถือว่าเป็นการกระทำที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1และเมื่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 กำหนดว่าการแข่งขันกีฬาและการฝึกซ้อมกีฬาของพนักงานให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร ที่โจทก์ที่ 2 ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลเพื่อคัดเลือกหาทีมตัวแทนสำนักงานใหญ่ตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 และได้รับบาดเจ็บขณะทำการแข่งขัน จึงเป็นกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายเงินทดแทนเป็นรายเดือนที่ถึงกำหนดแล้วทั้งหมดให้แก่โจทก์ที่ 2 ในคราวเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความสูงเกินไป ศาลแรงงานมีอำนาจลดจำนวนได้ตามกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งมีข้อความว่า จำเลยตกลงกลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 3 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา หากจำเลยผิดสัญญาทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาเนื่องจากความผิดของจำเลย จำเลยจะชดใช้เงินจำนวน 285,750.19 บาท และ 53,559.89 เหรียญสหรัฐอเมริกาพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ ข้อตกลงที่จะชดใช้เงินดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและศาลแรงงานกลางเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินไปก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความสูงเกินไป ศาลแรงงานมีอำนาจลดจำนวนได้
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งมีข้อความว่า จำเลยตกลงกลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 3 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา หากจำเลยผิดสัญญาทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาเนื่องจากความผิดของจำเลย จำเลยจะชดใช้เงินจำนวน 285,750.19 บาท และ 53,559.89 เหรียญสหรัฐอเมริกาพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ ข้อตกลงที่จะชดใช้เงินดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและศาลแรงงานกลางเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินไปก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความสูงเกินไป ศาลแรงงานมีอำนาจลดได้ตามสมควร
ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ระหว่างโจทก์ จำเลยที่กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญาโดย ทำงานไม่ครบตาม ระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา จำเลยจะต้อง ชดใช้เงินตาม จำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาให้โจทก์ ข้อตกลงดังนี้เป็นเรื่องเบี้ยปรับ หากมีจำนวนสูงเกินไป ศาลมีอำนาจใช้ ดุลยพินิจ กำหนดลดลงตาม สมควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้หากสูงเกินไป
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งมีข้อความว่า จำเลยตกลงกลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 3 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา หากจำเลยผิดสัญญาทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาเนื่องจากความผิดของจำเลย จำเลยจะชดใช้เงินจำนวน 285,750.19 บาทและ 52,559.89 เหรียญสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ ข้อตกลงที่จะชดใช้เงินดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและศาลแรงงานกลางเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินไปก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดการนำสืบพยานนอกประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน โดยต้องสอดคล้องกับคำให้การของจำเลย
คดีแรงงานนั้นศาลจะรับฟังข้อเท็จจริงใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับคำให้การของจำเลยด้วยว่า จำเลยให้การต่อสู้อย่างไร หากจำเลยให้การเป็นหนังสือก็ต้องนำ ป.วิ.พ. มาบังคับใช้โดยอนุโลม หามีบทบัญญัติใดให้สิทธิแก่จำเลยที่จะนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยจ่ายเงินเดือนไม่ครบตามโจทก์อ้างดังนี้การที่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์ทุกคนสมัครใจให้จำเลยหักเงินเพื่อบริจาคแก่นักเรียนนั้น จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องให้การต่อสู้ชัดแจ้งในประเด็นที่โจทก์ฟ้อง หากนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลไม่รับฟัง
ศาลแรงงานกลางจะรับฟังข้อเท็จจริงใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำให้การของจำเลยว่าได้ให้การต่อสู้ไว้อย่างไร แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานกลางจะมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 31 ก็บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติ นี้โดยอนุโลม การที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ได้บังคับว่าจำเลยจะต้องยื่นคำให้การ กรณีจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือแม้พระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 39 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลบันทึกคำให้การของจำเลย และถ้าจำเลยไม่ยอมให้การมาตรา 39 วรรคสองให้ศาลจดบันทึกไว้ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับเมื่อจำเลยไม่ให้การเป็นหนังสือหรือไม่ยอมให้การเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ในคำให้การไม่และเมื่อจำเลยให้การเป็นหนังสือก็ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยจำเลยต้องให้การต่อสู้โดยชัดแจ้ง เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสอนให้โจทก์ไม่ครบ แล้วจำเลยให้การว่าไม่เคยจ่ายเงินเดือนไม่ครบโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ที่จำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์สมัครใจให้จำเลยหักเงินเป็นค่าบริจาคแก่นักเรียนข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบเพราะโจทก์สมัครใจให้จำเลยหักเงินดังกล่าว จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย โดยจำเลยจ่ายค่าจ้างให้เป็นรายเดือนมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ค่าจ้างนี้คือเงินเดือน อายุความที่จะเรียกร้องเอาค่าจ้างค้างจ่ายดังกล่าว มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังมีข้อตกลงสภาพการจ้าง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างหยุดพักรับประทานอาหารตั้งแต่เวลา 9-10.30 นาฬิกา โดยไม่ได้กำหนดเวลาแน่นอนว่าลูกจ้างคนใดจะต้องหยุดพักรับประทานอาหารในเวลาใด ต่อมานายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลารับประทานอาหารแก่ลูกจ้างเป็นเวลาแน่นอน โดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 30 นาที โดยกำหนดตามเวลาในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว เพื่อเป็นระเบียบในการทำงานโดยไม่ได้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเวลาใหม่ ดังนี้ นายจ้างย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติตามได้ ถือว่าเป็นอำนาจในการบริหาร หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะต้องมีการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ไม่ ลูกจ้างมีหน้าที่คุมเครื่องปั่นด้าย ได้ละทิ้งหน้าที่ไปรับประทานอาหารก่อนเวลาที่กำหนดเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง โดยไม่มีผู้อื่นมาคุมเครื่องแทน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยด้ายขาดและพัน เครื่อง ต้องหยุดเครื่องปั่นด้ายเพื่อต่อด้ายใหม่แต่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นความเสียหายปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการทำงาน การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดร้ายแรง โจทก์ไม่อาจเลิกจ้างได้โดยไม่เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3) คำสั่งเลิกจ้างของโจทก์จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม บทบัญญัติมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 หาได้จำกัดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะข้อความตอนท้ายบัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายด้วยได้.