พบผลลัพธ์ทั้งหมด 426 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือทรัพย์สินหลังหย่าและการครอบครองทรัพย์สินโดยมิชอบ
ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยได้ ครอบครองทรัพย์พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่วันที่โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย ไม่ได้อ้างว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์พิพาททั้งหมด ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกัน จำเลยไล่โจทก์ออกจากบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทชิ้นหนึ่ง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือทรัพย์พิพาท จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยการครอบครองนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือทรัพย์สินหลังแบ่งสินสมรส การครอบครองทรัพย์สินโดยไม่สุจริต และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอ้างแต่เพียงว่าจำเลยได้ครอบครองทรัพย์พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่วันที่โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์พิพาททั้งหมด ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกันจำเลยไล่โจทก์ออกจากบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยการครอบครองนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอน คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือทรัพย์สินและการครอบครองปรปักษ์ กรณีเจ้าของทรัพย์สินฟ้องขับไล่
ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยได้ครอบครองทรัพย์พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่วันที่โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยไม่ได้อ้างว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์พิพาททั้งหมด ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกันจำเลยไล่โจทก์ออกจากบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทชิ้น หนึ่ง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือทรัพย์พิพาทจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยการครอบครองนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทโจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี & บุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายในการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านที่ 1 มิได้ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และในชั้นพิจารณาก็มิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งมิได้มาศาลและนำสืบให้ศาลเห็นว่าการโอนดังกล่าวเป็นการโอนโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ตัวได้ว่า การโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริต และมีค่าตอบแทน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งได้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทดังกล่าว จากผู้คัดค้านที่ 1 หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม ขอให้ล้มละลายแล้วแม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 116 เพราะมิได้เป็นผู้รับโอนหรือได้สิทธิมาก่อนมีการขอให้ล้มละลาย การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้โอนที่พิพาทนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 ภายหลังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ล้มละลายต่อเนื่องกันมาอีกทอดหนึ่ง ผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 4 จะได้รับโอนโดยสุจริต หรือมีค่าตอบแทนก็ตามย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย: ผลของการบังคับคดีและการสะดุดหยุดอายุความ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมชำระหนี้เพื่อไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2519 โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษากับจำเลยที่ 1 ภายในสิบปี จึงขาดอายุความบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 โจทก์ได้บังคับคดีมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2522 ได้เงินมาชำระหนี้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2522 โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 20 มีนาคม 2530 เฉพาะคดีจำเลยที่ 1ขาดอายุความจึงไม่มีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ส่วนคดีของจำเลยที่ 2 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลาสิบปีและหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีกำหนดจำนวนแน่นอนเกินกว่า 50,000 บาท จึงมีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนสัญญา, การรับรองเอกสาร, และการพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนิน กิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัว แทนของบริษัท สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้อง แห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือ ไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่ เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจแต่ โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้ หลบหนีไปจากเคหสถาน ที่เคยอยู่ แต่ ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทน, สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลาย: การรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันเมื่อบริษัทมอบอำนาจให้ตัวแทนทำสัญญา
บริษัท ค.ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ค. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำ ในฐานะตัวแทนของบริษัท เมื่อสัญญาโอนขายลดเช็คไม่มีข้อจำกัด ว่าเช็คที่บริษัท ค. นำมาขายลดให้แก่โจทก์จะต้องเป็นเช็คลูกค้าของบริษัทเท่านั้น และตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ระบุความรับผิดของจำเลยรวมถึงหนี้ตามเช็คของบุคคลอื่นที่บริษัท ค. ได้นำมาขายลดแก่โจทก์ด้วย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งบริษัท ค. เป็นหนี้โจทก์อยู่ 2 ล้านบาทเศษ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาภาพถ่ายเช็คและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าถือไม่ได้ว่าบริษัท ค. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ ซึ่งปัญหานี้โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ หาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้นไม่ โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว อย่างไรก็ตามปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินเฉพาะที่ดินพร้อมด้วยอาคารอันเป็นที่ตั้งบริษัท ค. ซึ่งติดจำนองอยู่เป็นเงิน 2,500,000 บาทที่ดินและอาคารดังกล่าวราคาประมาณ 5,000,000 บาท และเป็นสินสมรส เมื่อบังคับใช้หนี้จำนองแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยในฐานะสามีย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของเพียงครึ่งหนึ่งคือไม่เกิน 1,250,000 บาทซึ่งน้อยกว่าจำนวนหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนสัญญา, ผลผูกพันสัญญา, การคัดค้านพยานหลักฐาน, และการล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ ตกลง มอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท
สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้หลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่ แต่ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้หลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่ แต่ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุและการรอการลงโทษ พิจารณาจากพฤติการณ์ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐาน พยายามฆ่าผู้อื่นโดย ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปีศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ผู้ตายและผู้เสียหายดื่ม สุรามึนเมาแล้วเข้าไปในบ้านจำเลยซึ่ง แม้จะไม่มีอาวุธติด ตัว แต่ ก็ได้ ใช้ มือและเท้าทำร้ายหลานจำเลย จำเลยจึงใช้ อาวุธ ปืนสั้นยิงผู้ตายทางด้านหลัง 2 นัด และยิงผู้เสียหายอีก 1 นัด ผู้ตายกับผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดย เข้าไปคุกคาม จำเลยถึง ในบ้านเป็นการกระทำเยี่ยงอันธพาลทั้ง ผู้ตายและผู้เสียหายยังอยู่ในวัยหนุ่ม ส่วนจำเลยอยู่ในวัยชรา มีอายุ 62 ปีแล้วหากไม่ใช้ อาวุธปืน อาจไม่มีความว่องไวพอที่จะ ยับยั้งการคุกคามของผู้ตายและผู้เสียหายให้ทันการได้ หลังเกิดเหตุ จำเลยมอบเงิน ให้บิดาผู้ตายเป็นการบรรเทาความเสียหายถึง ความรับผิดชอบในการกระทำของตน จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะ รอการลงโทษให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในคดีอาญา: ดุลพินิจโทษและแก้ไขโทษจำคุก
ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและให้รอการลงโทษไว้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่แก้ไขแล้วส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก กล่าวคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 69ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และศาลอุทธรณ์ลงโทษไม่เกินกำหนดนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ที่แก้ไขแล้วส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี 4 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก กล่าวคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.