คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เธียร ยูงทอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 426 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานเป็นหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาท โจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ-ทำสัญญาใหม่ไม่มีกำหนด-บอกเลิกสัญญา-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย-การพิสูจน์ค่าเช่าที่สูงขึ้น
จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทหลังจากที่โจทก์ซื้อมานานเกือบ 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ให้จำเลยเช่าได้มีการต่อเติมตึกแถวพิพาทแต่อย่างใด เงินที่จำเลยอ้างว่าให้โจทก์เพื่อช่วยค่าก่อสร้าง จึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อได้มีการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 1,000บาท เมื่อครบกำหนดอายุการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง มาตรา 570 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าหลังจากครบอายุการเช่า 1 ปี ในอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าโจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่า ได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าจึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาททำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้างจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายนั้นแก่โจทก์โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องกำหนดประเด็นในเรื่องค่าเสียหายไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การบอกเลิกสัญญา, ค่าเช่า, หลักฐานการตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญา, ค่าเสียหาย
จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทหลังจากที่โจทก์ซื้อมานานเกือบ 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าก่อนหรือหลังจากที่ให้จำเลยเช่าได้มีการต่อเติมตึกแถวพิพาทแต่อย่างใด เงินที่จำเลยอ้างว่าให้โจทก์เพื่อช่วยค่าก่อสร้างจึงหาใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทอันจะทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไม่ เมื่อได้มีการบอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าไว้เดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดการเช่า 1 ปี จำเลยยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อมาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 ให้ถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าหลังจากครบอายุการเช่า 1 ปี เป็นอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่า ได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าจึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานทางหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง-ผลของการไม่กำหนดประเด็น
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาทโจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือที่ดิน: การจดทะเบียนซื้อขายซ้ำและการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ผู้ครอบครองมีสิทธิดีกว่า
ม.ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ในวันเดียวกับที่ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ แล้วฝ่ายโจทก์ก็เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ต่อมาม.ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซ้ำในที่ดินพิพาทที่ได้ขายให้แก่บิดาโจทก์ไปแล้ว และจดทะเบียนขายให้แก่จำเลยในวันเดียวกับที่ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับหลังให้ ซึ่งม.ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จำเลยซึ่งได้รับโอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับหลังมาจากม. จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่พิพาท โจทก์ครอบครองที่พิพาทและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อบิดาโจทก์อยู่จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตราบใดที่โจทก์ครอบครองและถือสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 70/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การจดทะเบียนซ้ำและการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทำให้สิทธิเหนือกว่า
บิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ม. ซึ่งได้จดทะเบียนขายให้ในวันเดียวกับที่ทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จากนั้นฝ่ายโจทก์ก็เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกฉบับหนึ่งซึ่งจำเลยได้รับจดทะเบียนโอนมาจาก ม. เช่นกันนั้นได้มาโดย ม. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซ้ำในที่ดินที่ได้ขายให้แก่บิดาโจทก์ไปแล้ว ซึ่ง ม. ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ จำเลยซึ่งได้รับโอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับหลังมาจาก ม. จึงไม่มีสิทธิใด ๆในที่พิพาทเช่นกัน โจทก์ครอบครองที่พิพาทและหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อบิดาโจทก์อยู่ จำเลยนำสืบไม่ได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตราบใดที่โจทก์ครอบครองและถือสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์อยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ย่อมมี สิทธิดีกว่าผู้อื่น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่เป็นนิติกรรมอำพราง การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อ
โจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านกันจริง ๆแม้ภายหลังการทำสัญญาขายฝาก จำเลยยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทต่อไปโดยไม่ได้มอบการครอบครองแก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนั้นเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่แล้ว โดยจำเลยไม่ขอไถ่ภายในกำหนด การที่โจทก์ร่วมที่ 2 ผู้รับซื้อฝากขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 โดยสุจริต กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิขับไล่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายฝากที่ดินและบ้านพิพาท การซื้อขายโดยสุจริต และสิทธิในการขับไล่
เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทกันแล้ว แม้จำเลยผู้ขายฝากยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทต่อไป โดยไม่ได้มอบการครอบครองแก่โจทก์ร่วมที่ 2 ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์ร่วมที่ 2 กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนั้น การที่จำเลยไม่ไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และโจทก์ร่วมที่ 2 ผู้รับซื้อฝากขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 โดยสุจริต กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทย่อมเป็นของโจทก์และโจทก์ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินยืมทดรองจ่าย - การพิสูจน์ค่าใช้จ่าย - เอกสารต่างประเทศ - เงินรายได้จากการขายสินค้า
จำเลยยืมเงินทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของโจทก์ เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้วจำเลยต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายและเงินสดคงเหลือมาหักล้าง เมื่อเอกสารใบสำคัญที่จำเลยนำมาหักล้างเงินยืมบางส่วนมีข้อความเป็นภาษาต่างประเทศโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำนวนเงินที่ระบุในเอกสารดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยที่จะนำมาหักล้างเงินยืมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินยืมทดรองจ่าย-การหักล้างบัญชี-หลักฐานค่าใช้จ่าย-ภาระหนี้-การปฏิบัติตามระเบียบ
จำเลยยืมเงินทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของโจทก์ เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้วจำเลยต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายและเงินสดคงเหลือมาหักล้างเมื่อเอกสารใบสำคัญที่จำเลยนำมาหักล้างเงินยืมบางส่วนมีข้อความเป็นภาษาต่างประเทศโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำนวนเงินที่ระบุในเอกสารดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลยที่จะนำมาหักล้างเงินยืมได้
of 43