คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เธียร ยูงทอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 426 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลย แม้จำเลยรับว่ามีการลงข้อความ
จำเลยที่ 1 แถลงรับแต่เพียงว่าได้มีการลงข้อความประกาศโฆษณาตามที่โจทก์อ้างในฟ้องในหนังสือพิมพ์จริงเท่านั้น มิได้ยอมรับว่าเป็นผู้ให้ข่าวนั้นแก่หนังสือพิมพ์ หรือได้ร่วมกับจำเลยที่ 2และที่ 3 ลงข่าวดังกล่าวเพื่อใส่ความโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ใส่ความโจทก์และจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำสืบพิสูจน์และนำข้อเท็จจริงมาสู่ศาลเพื่อให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5205/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำความผิดของจำเลย หากไม่สืบพยาน ศาลไม่สามารถรับฟังได้
จำเลยที่ 1 แถลงรับแต่เพียงว่าได้มีการลงข้อความประกาศโฆษณาตามที่โจทก์อ้างในฟ้องในหนังสือพิมพ์จริงเท่านั้น มิได้ยอมรับว่าเป็นผู้ให้ข่าวนั้นแก่หนังสือพิมพ์ หรือได้ร่วมกับจำเลยที่ 2และที่ 3 ลงข่าวดังกล่าวเพื่อใส่ความโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงข่าวในหนังสือพิมพ์ใส่ความโจทก์และจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำสืบพิสูจน์และนำข้อเท็จจริงมาสู่ศาลเพื่อให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – การปรับบทลงโทษ – ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง – ทำร้ายร่างกาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกันเพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – ความผิดกรรมเดียว – การลดโทษ – ฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกัน เพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้ซื้อรายใหม่ในคดีบังคับคดี: ผู้เสนอราคาใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ยอมรับข้อเสนอ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการขายทอดตลาดใหม่ อ้างว่าคำสั่งให้ขายทรัพย์สินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำ ป. ผู้ซื้อรายใหม่มาแถลงว่าจะขอสู้ราคาสูงกว่าที่ขายทอดตลาดได้ เพื่อเป็นประกันว่าจะเข้าสู้ราคา ป. จะจัดหาธนาคารมาค้ำประกัน ต่อมา ป.ไม่สามารถจัดหาธนาคารมาค้ำประกันได้ ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงไม่มีการขายทอดตลาดใหม่ ป. ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและไม่ใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ป.จึงไม่ถูกต้อง ไม่ก่อให้ ป. มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์และฎีกาของผู้ซื้อรายใหม่ในคดีบังคับคดี: ผู้ไม่มีส่วนได้เสียย่อมไม่มีสิทธิ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการขายทอดตลาดใหม่ อ้างว่าคำสั่งให้ขายทรัพย์สินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำ ป. ผู้ซื้อรายใหม่มาแถลงว่าจะขอสู้ราคาสูงกว่าที่ขายทอดตลาดได้ เพื่อเป็นประกันว่าจะเข้าสู้ราคา ป. จะจัดหาธนาคารมาค้ำประกัน ต่อมา ป.ไม่สามารถจัดหาธนาคารมาค้ำประกันได้ ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงไม่มีการขายทอดตลาดใหม่ ป. ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและไม่ใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ป.จึงไม่ถูกต้อง ไม่ก่อให้ ป. มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของ ป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังประนอมหนี้และการดำเนินคดีเมื่อล้มละลาย รวมถึงผลกระทบต่ออำนาจกรรมการ
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังศาลสั่งประนอมหนี้และล้มละลาย, อำนาจกรรมการหลังล้มละลาย, การดำเนินคดีกับบุคคลล้มละลาย
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการประนอมหนี้และการล้มละลายต่ออำนาจฟ้องและจัดการทรัพย์สินของกรรมการบริษัท
การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 25 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4989/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการประนีประนอมในการขายทอดตลาด: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และการจำหน่ายคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแก่ผู้ซื้อ โดยไม่งดการขายทอดตลาดไว้รอพิจารณาคำขอประนอมหนี้ตามคำขอของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยประวิงคดี ขอให้ยกคำร้องของจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยและ ส. ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงกันว่า ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงวางเงิน 100,000 บาท ให้ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดรับไปเป็นค่าเสียหาย เพื่อจะได้ไม่คัดค้านที่จะมีการขายทอดตลาดใหม่ มิใช่เป็นการตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดสละสิทธิในที่ประมูลซื้อได้ในครั้งก่อน เพราะการที่ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงจะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทครั้งใหม่ในราคาไม่ต่ำกว่า 18,000,000 บาทนั้น จะต้องจัดหาธนาคารมาค้ำประกันจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อเป็นประกันค่าเสียหายแก่กองทรัพย์สินหากผู้ซื้อรายใหม่เข้าสู้ราคาต่ำกว่า 18,000,000 บาท ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ซื้อรายใหม่ต้องปฏิบัติก่อน เมื่อผู้ซื้อรายใหม่ไม่สามารถหาธนาคารมาค้ำประกันได้ จึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงศาลต้องจำหน่ายคำร้องของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงไว้
of 43