พบผลลัพธ์ทั้งหมด 426 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ แม้จะโต้แย้งเรื่องการนำสืบก่อน
คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์และจำเลยได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่ฎีกาของโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาของโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนไม่เป็นการถูกต้องนั้น แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เสียแล้ว ก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ใหม่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกาจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำสืบก่อนไม่เป็นการถูกต้องนั้น แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เสียแล้ว ก็ไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ใหม่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ข้อกฎหมายที่โจทก์ฎีกาจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ที่สาธารณสมบัติชายตลิ่ง - การรุกล้ำที่ดิน - ความเสียหายที่ควรคาดหมาย
การที่เรือนโรงของจำเลยปลูกอยู่ในที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันซึ่งอยู่ระหว่างหน้าที่ดินโจทก์กับคลอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ทั้งมีมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินนั้นมา แม้โจทก์จะมีอาชีพทำประมง แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ก็ยังสามารถนำเรือประมงเข้าออกที่ดินของโจทก์ได้พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร (เช็ค) หลายกรรม การเรียงกระทงและข้อยกเว้นการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ให้เรียงกระทงลงโทษ 10 กระทง กระทงละ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารเป็นผู้อาวัลลงในเช็ค แม้เช็คนั้นมีรายการครบถ้วนตามกฎหมายแล้วก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4)
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารที่ด้านหลังเช็คทั้งสอบฉบับในคราวเดียวกัน การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้นไปหลอกขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งจำเลยก็สามารถหลอกขายเช็คให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับไป จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันจำนวน 10 กระทง
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารเป็นผู้อาวัลลงในเช็ค แม้เช็คนั้นมีรายการครบถ้วนตามกฎหมายแล้วก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4)
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้จัดการธนาคารที่ด้านหลังเช็คทั้งสอบฉบับในคราวเดียวกัน การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้นไปหลอกขายให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งจำเลยก็สามารถหลอกขายเช็คให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับไป จึงเป็นความผิดต่างกรรมกันจำนวน 10 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงินและการเรียงกระทงความผิดหลายกรรม
จำเลยร่วมปลอมลายมือชื่อของ ป. เป็นผู้รับอาวัลเช็คเพื่อให้เช็คทั้งสิบฉบับเป็นที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช็คทั้งสิบฉบับเป็นเช็คที่สมบูรณ์ครบถ้วนตามกฎหมาย เช็คดังกล่าวจึงเป็นตั๋วเงิน จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารที่เป็นตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266(4) ไม่ใช่เป็นความผิดตามมาตรา 264 เท่านั้น แม้จำเลยปลอมลายมือชื่อของ ป. ที่ด้านหลังเช็คทั้งสิบฉบับในคราวเดียวกันแต่การปลอมลายมือชื่อดังกล่าวในแต่ละฉบับเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารแยกออกจากกันได้อีก ทั้งจำเลยกระทำโดยมีเจตนานำเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมนั้นไปหลอกขายลดให้แก่บุคคลอื่นเป็นรายฉบับไปจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา แม้มีลายมือชื่อทนายในฐานะผู้เรียงและพิมพ์
ฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา มีแต่ลายมือชื่อของทนายจำเลยลงไว้ในฐานะเป็นผู้เรียงและผู้พิมพ์เท่านั้น ทั้งรูปคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งฎีกากลับคืนไปให้จำเลยลงลายมือชื่อ ฎีกาจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(7) ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(7) กรณีไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา
ฎีกาจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา มีแต่ลายมือชื่อของทนายจำเลยลงไว้ในฐานะเป็นผู้เรียงและผู้พิมพ์เท่านั้น ทั้งรูปคดีไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งฎีกากลับคืนไปให้จำเลยลงลายมือชื่อ ฎีกาจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(7) ประกอบด้วย มาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำแนะนำขอกู้เงินแล้วกู้ไม่ได้ ไม่ถึงขั้นฉ้อโกง เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่ง
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการ จำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วม แต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำแนะนำขอกู้เงินแล้วกู้ไม่ได้ ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง เป็นเพียงผิดสัญญา
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการจำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วม แต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำแนะนำการกู้เงินไม่ใช่การฉ้อโกง หากกู้ไม่ได้เป็นเพียงผิดสัญญา
การที่จำเลยแนะนำโจทก์ร่วมว่า ในการขอกู้เงินจากธนาคารจะต้องเป็นลูกค้าของธนาคารโดยนำเงินไปฝากธนาคารไว้ก่อน เป็นคำแนะนำตามปกติธรรมดาทั่วไป เมื่อโจทก์ร่วมได้มอบเงินให้จำเลยไปดำเนินการ จำเลยก็ได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารให้โจทก์ร่วมแต่มีเหตุขัดข้องจึงกู้เงินไม่ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้นำเงินที่โจทก์ร่วมมอบให้ไปฝากไว้กับธนาคารก็ตาม ก็หาใช่ข้อสาระสำคัญที่จะถือว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการนับระยะเวลาขอพิจารณาใหม่: ความสัมพันธ์ระหว่างมารดา-บุตรและการสันนิษฐานการรับรู้
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งหกเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2529 จำเลยที่ 6 ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่30 พฤศจิกายน 2529 จำเลยที่ 6 กลับมาประเทศไทยซึ่งจำเลยที่ 6มีภูมิลำเนาอยู่แห่งเดียวกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดาและจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นพี่ชาย ดังนี้ จำเลยที่ 6 จะต้องได้พบกับจำเลยที่ 2อย่างช้า ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2529 และจำเลยที่ 2 จะต้องแจ้งเรื่องถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้จำเลยที่ 6 ทราบการที่จำเลยที่ 6 มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 14 ตุลาคม2530 จึงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก.