พบผลลัพธ์ทั้งหมด 426 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ มิใช่เกิดจากความขัดแย้งกับทนาย หรือการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วัน ครั้นถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย และจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 ถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ทัน เป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษจริง การประวิงคดีไม่อาจใช้เป็นเหตุขยายได้
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วัน ครั้นถึง วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอถอนตัว จากการเป็นทนาย และจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยที่ 1ถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ ทัน เป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดี ถือ ไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ประวิงคดีหรือความขัดแย้งทนายความ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วันครั้นถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย และจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ทันเป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดีถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้ศาลมีอำนาจขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบธรรมดาต้องทำตามรูปแบบกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน หากมิได้ทำขึ้นตามแบบที่บทกฎหมายบังคับไว้ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาในข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และแม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงเรื่องดังกล่าวไว้ชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะเมื่อพยานไม่รู้เห็นการลงลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม
การที่ผู้เป็นพยานในพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่ได้อยู่รู้เห็นในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรม พินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ
ข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้ง แต่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อกฎหมายนั้นเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
ข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้ง แต่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อกฎหมายนั้นเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานพินัยกรรมต้องรู้เห็นการลงลายมือชื่อ/พิมพ์นิ้วมือ มิฉะนั้นพินัยกรรมเป็นโมฆะ
การที่ผู้เป็นพยานในพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่ได้อยู่รู้เห็นในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรมพินัยกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ ข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้ง แต่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อข้อกฎหมายนั้นเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดชื่อเสียงจากข้อความเท็จ: การเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จทำให้เสียชื่อเสียงและเกียรติยศ ถือเป็นการละเมิดที่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของโจทก์ทั้งด้านการเมืองและด้านการประกอบอาชีพ โดยขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองหัวหน้าพรรคประชากรไทยและประกอบอาชีพเป็นแพทย์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 500,000 บาท เป็นการบรรยายฟ้องโดยแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ทั้งในด้านการเมืองและการประกอบอาชีพแพทย์ ส่วนจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ แม้จะขอรวมกันมาโดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงในด้านการเมืองเป็นจำนวนเท่าใด ด้านประกอบอาชีพแพทย์เป็นจำนวนเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวว่า บ.มินิแบร์โวยบุญเทียมทำแสบ ดอง เรื่องเที่ยวบินขนผลิตภัณฑ์ และมีข้อความต่อไปว่า บุญเทียม เขมาภิรัตน์ ถูกโวย อีกแล้ว บริษัทมินิแบร์ผู้ผลิตตลับลูกปืนร้องเรียนกระทรวงอุตสาหกรรมถูกบุญเทียมเตะถ่วงอนุมัติเที่ยวบินพิเศษขนผลิตภัณฑ์ส่งขายนอกการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่มั่นใจในการลงทุนในไทย เผยผจญปัญหามาปีเศษแล้ว และมีข้อความต่อไปว่า การขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษนี้ กรมการบินพาณิชย์จะเสนอต่อนายแพทย์บุญเทียม เขมาภิรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ติดขัดที่ นายแพทย์บุญเทียมกว่าจะลงนามเห็นชอบก็จวนถึงเวลาที่มินิแบร์ได้เตรียมการบินไว้แล้ว ซึ่งโจทก์กล่าวในฟ้องว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จำเลยให้การยอมรับว่าได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ การเสนอข่าวของจำเลยเป็นการชอบธรรมอันอยู่ในวิสัยซึ่งบุคคลในฐานะเช่นจำเลยกระทำได้ไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์เป็นความจริงเท่ากับยอมรับว่าไม่เป็นความจริง จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์เก็บเรื่องการขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษเพื่อขนผลิตภัณฑ์ของบริษัทมินิแบร์ จำกัด และถ่วงเวลาไว้ ไม่รีบอนุมัติเที่ยวบินโดยเร็ว เป็นการกลั่นแกล้งบริษัทมินิแบร์ จำกัด ให้ได้รับความเสียหาย มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันอยู่ในวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ จึงเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ การพิสูจน์ความเสียหาย และการกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่เหมาะสม
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อ เสียงของโจทก์ทั้งด้านการเมืองและด้านการประกอบอาชีพ โดยบรรยายถึงตำแหน่งทางการเมืองของโจทก์และอาชีพคือแพทย์ด้วยเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อ เสียงทั้งสองด้าน แม้โจทก์จะไม่ได้แยกค่าเสียหายที่ขอว่าจำนวนใดเป็นของด้านใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริงที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงคมนาคมกลั่นแกล้งบริษัท บ. มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต หรือติ ชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ แต่เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ.มาตรา 423.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ความเสียหายต่อชื่อเสียงทางการเมืองและอาชีพแพทย์ ค่าสินไหมทดแทนที่สมควร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของโจทก์ทั้งด้านการเมืองและด้านการประกอบอาชีพ โดยขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองหัวหน้าพรรคประชากรไทยและประกอบอาชีพเป็นแพทย์ การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 500,000 บาท เป็นการบรรยายฟ้องโดยแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่า การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงของโจทก์ ทั้งในด้านการเมืองและการประกอบอาชีพแพทย์ ส่วนจำนวนค่าเสียหายของโจทก์ แม้จะขอรวมกันมาโดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่า ค่าเสียหายต่อชื่อเสียงในด้านการเมืองเป็นจำนวนเท่าใด ด้านประกอบอาชีพแพทย์เป็นจำนวนเท่าใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวว่า บ.มินิแบร์โวยบุญเทียมทำแสบ ดอง เรื่องเที่ยวบินขนผลิตภัณฑ์ และมีข้อความต่อไปว่า บุญเทียม เขมาภิรัตน์ ถูกโวย อีกแล้ว บริษัทมินิแบร์ผู้ผลิตตลับลูกปืนร้องเรียนกระทรวงอุตสาหกรรมถูกบุญเทียมเตะถ่วงอนุมัติเที่ยวบินพิเศษขนผลิตภัณฑ์ส่งขายนอกการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่มั่นใจในการลงทุนในไทย เผยผจญปัญหามาปีเศษแล้ว และมีข้อความต่อไปว่า การขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษนี้ กรมการบินพาณิชย์จะเสนอต่อนายแพทย์บุญเทียม เขมาภิรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ติดขัดที่ นายแพทย์บุญเทียมกว่าจะลงนามเห็นชอบก็จวนถึงเวลาที่มินิแบร์ได้เตรียมการบินไว้แล้ว ซึ่งโจทก์กล่าวในฟ้องว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จำเลยให้การยอมรับว่าได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ การเสนอข่าวของจำเลยเป็นการชอบธรรมอันอยู่ในวิสัยซึ่งบุคคลในฐานะเช่นจำเลยกระทำได้ไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์เป็นความจริงเท่ากับยอมรับว่าไม่เป็นความจริง
จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์เก็บเรื่องการขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษเพื่อขนผลิตภัณฑ์ของบริษัทมินิแบร์ จำกัด และถ่วงเวลาไว้ ไม่รีบอนุมัติเที่ยวบินโดยเร็ว เป็นการกลั่นแกล้งบริษัทมินิแบร์ จำกัด ให้ได้รับความเสียหาย มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันอยู่ในวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ จึงเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์.
จำเลยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์โดยพาดหัวว่า บ.มินิแบร์โวยบุญเทียมทำแสบ ดอง เรื่องเที่ยวบินขนผลิตภัณฑ์ และมีข้อความต่อไปว่า บุญเทียม เขมาภิรัตน์ ถูกโวย อีกแล้ว บริษัทมินิแบร์ผู้ผลิตตลับลูกปืนร้องเรียนกระทรวงอุตสาหกรรมถูกบุญเทียมเตะถ่วงอนุมัติเที่ยวบินพิเศษขนผลิตภัณฑ์ส่งขายนอกการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่มั่นใจในการลงทุนในไทย เผยผจญปัญหามาปีเศษแล้ว และมีข้อความต่อไปว่า การขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษนี้ กรมการบินพาณิชย์จะเสนอต่อนายแพทย์บุญเทียม เขมาภิรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ติดขัดที่ นายแพทย์บุญเทียมกว่าจะลงนามเห็นชอบก็จวนถึงเวลาที่มินิแบร์ได้เตรียมการบินไว้แล้ว ซึ่งโจทก์กล่าวในฟ้องว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง จำเลยให้การยอมรับว่าได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ การเสนอข่าวของจำเลยเป็นการชอบธรรมอันอยู่ในวิสัยซึ่งบุคคลในฐานะเช่นจำเลยกระทำได้ไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยลงพิมพ์เป็นความจริงเท่ากับยอมรับว่าไม่เป็นความจริง
จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทก์เก็บเรื่องการขออนุมัติเที่ยวบินพิเศษเพื่อขนผลิตภัณฑ์ของบริษัทมินิแบร์ จำกัด และถ่วงเวลาไว้ ไม่รีบอนุมัติเที่ยวบินโดยเร็ว เป็นการกลั่นแกล้งบริษัทมินิแบร์ จำกัด ให้ได้รับความเสียหาย มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันอยู่ในวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ จึงเป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 423 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือทรัพย์สินหลังหย่าและการครอบครองทรัพย์สินโดยมิชอบ
ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยได้ ครอบครองทรัพย์พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาตั้งแต่วันที่โจทก์ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย ไม่ได้อ้างว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์พิพาททั้งหมด ต่อมาโจทก์จำเลยทะเลาะกัน จำเลยไล่โจทก์ออกจากบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทชิ้นหนึ่ง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือทรัพย์พิพาท จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยการครอบครองนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยไม่มีสิทธินำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยนำทรัพย์พิพาทไปตีใช้หนี้ให้แก่บิดาจำเลยไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาท โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยออกไปจากบ้านพิพาทและส่งมอบทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์ได้