คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยักยอกทรัพย์ โดยองค์กรมีทุนจากรัฐ
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐแต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า"ร.ส.พ." ก็จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ็กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์จากผู้ที่มาเอ็กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับเงินไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ็กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ็กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารสิทธิ (ใบเสร็จ) และยักยอกทรัพย์โดยพนักงานของรัฐ ฎีกาชี้ว่าฟ้องสมบูรณ์และมีความผิดตามกฎหมาย
แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนทั้งหมดหรือทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบเป็นของรัฐ แต่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ซึ่งเรียกโดยย่อว่า "ร.ส.พ." ก็จัดขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 ซึ่งมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ.เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาทโดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาทและจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" และทางราชการได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดเป็นของรัฐ ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
จำเลยเป็นพนักงานประเภทประจำขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์อันเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาล มีหน้าที่ช่วยงานในการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ฯ รับเงินค่าเอ๊กซเรย์และออกใบเสร็จรับเงินด้วย จำเลยจึงเป็นพนักงานตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์จากผู้ที่มาเอ๊กซเรย์รายละ 35 บาทแล้ว จำเลยก็เขียนจำนวนเงินและวันเดือนปีที่รับเงินในใบเสร็จรับเงินท่อนแรกที่เป็นต้นฉบับและมอบให้แก่ผู้ชำระเงินไปตามความจริง ภายหลังจำเลยจึงเขียนใบเสร็จรับเงินท่อนที่สองและท่อนที่สามที่เป็นสำเนา โดยเขียนจำนวนเงินน้อยลงกว่าที่ได้รับและเขียนวันเดือนปีที่ได้รับไม่ตรงความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมสำเนาใบเสร็จรับเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ ต่อมาจำเลยใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อแสดงว่าจำเลยได้รับเงินค่าเอ๊กซเรย์ไว้เท่าจำนวนที่ปรากฏในสำเนาใบเสร็จรับเงินปลอม จึงเป็นการใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเบียดบังเงินค่าเอ๊กซเรย์ส่วนที่เหลือจากนำส่งเจ้าหน้าที่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ แต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานเบียดบังเงินและสนับสนุนการทุจริตเบิกจ่ายเงิน ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่นจำเลยที่2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯมาตรา 4 ส่วน จำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงินและสนับสนุนการกระทำผิด กรณีเบิกจ่ายเงินเท็จจาก ร.ส.พ.
ร.ส.พ.สาขาจังหวัดขอนแก่นดำเนินงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการ ร.ส.พ. สาขาจังหวัดอุดรธานี จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของ ร.ส.พ.ประจำอยู่ที่สาขาจังหวัดขอนแก่น จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถร่วมที่นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับ ร.ส.พ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาเงินของ ร.ส.พ.สาขาขอนแก่น ได้เบียดบังเอาเงินของ ร.ส.พ.ซึ่งอยู่ในหน้าที่รักษาของจำเลยที่ 1 เอง ด้วยวิธีทำหลักฐานเท็จเบิกจ่ายเงินไป โดยให้จำเลยที่ 2 ทำหลักฐานเท็จยื่นต่อจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่าขนส่งสินค้า อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานฯ มาตรา 4 ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทมาตราดังกล่าวประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานยังได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตในการขอเบิกจ่ายเงินประเภทที่จะต้องขอเบิกจ่ายต่อ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี ด้วยการทำหลักฐานเท็จเสนอขออนุมัติจ่าย จนผู้จัดการ ร.ส.พ.สาขาอุดรธานีหลงเชื่ออนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 ที่สถานี ร.ส.พ.สาขาอุดรธานี การกระทำของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้เป็นความผิดตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดส่วนนี้ การกระทำผิดของจำเลยหาต้องด้วยมาตรา 8 ด้วยไม่ และเมื่อเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐยักยอกเงินและการปลอมเอกสารสิทธิ: การปรับบทความผิดให้ถูกต้อง
จำเลยเป็นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นองค์การของรัฐ ใช้อำนาจในหน้าที่เบียดบังยักยอกเอาเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยรับไว้โดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ไม่ผิดตามมาตรา 8ด้วย เพราะเป็นการเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ไว้เป็นประโยชน์ มิใช่อาศัยหน้าที่หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเบียดบังเอาทรัพย์ และกรณีดังกล่าวไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐ ชั่งน้ำหนักอ้อยเกินจริงเพื่อประโยชน์ตนเอง
จำเลยเป็นลูกจ้างของโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรีอันเป็นโรงงานของบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติจำกัด ซึ่งรัฐบาลมีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบ. โดยจำเลยมีหน้าที่ซ่อมเครื่องจักรของโรงงานฯ. แต่ในระหว่างเกิดคดีนี้ได้รับคำสั่งจากผู้จัดการให้เป็นพนักงานชั่งอ้อยของโรงงาน. จำเลยมีรายได้ประจำจากโรงงาน. ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502.และการที่จำเลยได้ทำการชั่งอ้อยที่มีผู้นำมาส่งหรือขายให้แก่โรงงานนั้น. ได้ชื่อว่าจำเลยมีหน้าที่ทำ หรือจัดการทรัพย์ใดๆ ตามความหมายใน มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัตินี้. การที่จำเลยถือโอกาสชั่งอ้อยจำนวนเดียวโดยโยกคันชั่ง 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ได้สลิพการชั่งอ้อยเกินมา 1 ชุด. แล้วนำสลิพที่ได้เกินมานั้นไปใช้เป็นหลักฐาน ว่าเป็นการชั่งอ้อยของผู้มีชื่อในวันถัดมา. อันจะทำให้โรงงานต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเกินกว่าที่จะต้องจ่าย. หากมีผู้พบปะทราบการกระทำนั้นเสียก่อนที่โรงงานจะจ่ายเงินถือว่าเป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐ ชั่งโกงน้ำหนักอ้อย สร้างความเสียหายทางการเงิน
จำเลยเป็นลูกจ้างของโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรีอันเป็นโรงงานของบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติจำกัด ซึ่งรัฐบาลมีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบ โดยจำเลยมีหน้าที่ซ่อมเครื่องจักรของโรงงาน ฯ แต่ในระหว่างเกิดคดีนี้ได้รับคำสั่งจากผู้จัดการให้เป็นพนักงานชั่งอ้อยของโรงงาน จำเลยมีรายได้ประจำจากโรงงาน ดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และการที่จำเลยได้ทำการชั่งอ้อยที่มีผู้นำมาส่งหรือขายให้แก่โรงงานนั้น ได้ชื่อว่าจำเลยมีหน้าที่ทำ หรือจัดการทรัพย์ใด ๆ ตามความหมายในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัตินี้ การที่จำเลยถือโอกาสชั่งอ้อยจำนวนเดียวโดยโยกคันชั่ง 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ได้สลิพการชั่งอ้อยเกินมา 1 ชุด แล้วนำสลิพที่ได้เกินมานั้นไปใช้เป็นหลักฐาน ว่าเป็นการชั่งอ้อยของผู้มีชื่อในวันถัดมา อันจะทำให้โรงงานต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเกินกว่าที่จะต้องจ่าย หากมีผู้พบปะทราบการกระทำนั้นเสียก่อนที่โรงงานจะจ่ายเงินถือว่าเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานรัฐวิสาหกิจชั่งโกงน้ำหนักอ้อย เพื่อให้โรงงานจ่ายเงินเกินกว่าที่ควร
จำเลยเป็นลูกจ้างของโรงงานน้ำตาลสุพรรณบุรีอันเป็นโรงงานของบริษัทส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติจำกัด ซึ่งรัฐบาลมีทุนเกินกว่าร้อยละห้าสิบโดยจำเลยมีหน้าที่ซ่อมเครื่องจักรของโรงงานฯ แต่ในระหว่างเกิดคดีนี้ได้รับคำสั่งจากผู้จัดการให้เป็นพนักงานชั่งอ้อยของโรงงานจำเลยมีรายได้ประจำจากโรงงานดังนี้ ถือว่าจำเลยเป็นพนักงานตามความหมายของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 และการที่จำเลยได้ทำการชั่งอ้อยที่มีผู้นำมาส่งหรือขายให้แก่โรงงานนั้น ได้ชื่อว่าจำเลยมีหน้าที่ทำ หรือจัดการทรัพย์ใดๆ ตามความหมายใน มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัตินี้การที่จำเลยถือโอกาสชั่งอ้อยจำนวนเดียวโดยโยกคันชั่ง 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ได้สลิปการชั่งอ้อยเกินมา 1 ชุด แล้วนำสลิปที่ได้เกินมานั้นไปใช้เป็นหลักฐาน ว่าเป็นการชั่งอ้อยของผู้มีชื่อในวันถัดมา อันจะทำให้โรงงานต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเกินกว่าที่จะต้องจ่าย หากมีผู้พบปะทราบการกระทำนั้นเสียก่อนที่โรงงานจะจ่ายเงินถือว่าเป็นความผิด
of 2