คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมาณ ชันซื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 250 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีละเมิด: การคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายในมูลละเมิดเป็นเงิน 1 ,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 252 อันเป็นวันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของค่าเสียหายที่ขอมาจำนวน 1 ,500 บาทและในส่วนของดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันที่31 พฤษภาคม 252 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 252 ซึ่งเป็นวันฟ้องที่ขอมาเป็นทุนทรัพย์จำนวน 1,3 7.50 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวตามอัตราในตาราง 1 (1) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความแพ่ง คิดเป็นเงิน 35 บาท และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตในส่วนของคำขอที่ให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามตาราง 1 (4) อีก ที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตมา 100 บาท จึงเกินไป แต่ก็เท่ากับว่าโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยจำนวน 35 บาท ครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการละเมิดนับแต่วันเกิดเหตุ ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันละเมิด
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายในมูลละเมิดเป็นเงิน 18,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 31พฤษภาคม 2528 อันเป็นวันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของค่าเสียหายที่ขอมาจำนวน 18,500 บาท และในส่วนของดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดถึงวันที่30 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องที่ขอมาเป็นทุนทรัพย์จำนวน1,387.50 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวตามอัตราในตาราง 1(1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คิดเป็นเงิน 35 บาท และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตในส่วนของคำขอที่ให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามตาราง 1(4) อีกที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตมา 100 บาท จึงเกินไป แต่ก็เท่ากับว่าโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยจำนวน 35 บาท ครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาลต่างประเทศ: การชดใช้ทุนเมื่อลาออกก่อนครบกำหนด และการกำหนดเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์โดยทำสัญญากับกรมอาชีวศึกษาว่า เมื่อเสร็จการศึกษาไม่ว่าการศึกษาจะสำเร็จหรือไม่ จำเลยที่ 1 จะกลับมารับราชการในกรมอาชีวศึกษาหรือในกระทรวง ทบวง กรม อื่น ตามที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของเวลาที่ได้รับทุน ถ้าผิดสัญญาจำเลยที่ 1จะชดใช้คืนทุนและเงินที่ได้รับในระหว่างการศึกษาพร้อมเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 กลับมารับราชการต่อแล้วลาออกจากราชการในขณะที่รับราชการชดใช้ทุนไม่ครบตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดนัดแม้ภายหลังจำเลยที่ 1 จะกลับเข้ารับราชการใหม่แต่โจทก์ก็มิได้ยินยอมให้จำเลยเข้ารับราชการเพื่อชดใช้ทุนต่อ จึงไม่อาจนับเวลาราชการต่อกันเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาได้ จำเลยที่ 1 ไม่หลุดพ้นความรับผิด จำเลยที่ 1 กลับเข้ารับราชการใหม่เป็นเวลามากกว่าเวลาราชการที่ยังขาดตามสัญญาเกือบเท่าตัว เมื่อคำนึงถึงเวลาราชการที่ขาดและเวลาราชการที่จำเลยที่ 1 เข้ารับราชการใหม่ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์แล้ว ศาลไม่กำหนดเบี้ยปรับให้ ตามสัญญาระบุว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินที่ต้องชำระคืนและเบี้ยปรับแก่โจทก์ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ยอมให้คิดดอกเบี้ยจากเงินนั้น เมื่อโจทก์เคยแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแล้วแต่ไม่พบตัวจำเลยที่ 1 และภายหลังที่โจทก์รับจำเลยที่ 1 เข้ารับราชการใหม่ โจทก์มีหนังสือแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 แต่ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งจากโจทก์แล้วเมื่อใด จึงชอบที่จะให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ปัญหาการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศเป็นเงินไทยเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดให้ถูกต้องโดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ศาลฎีกาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วน การครอบครองแทน และสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า
โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 เฉพาะที่ดินมีโฉนดเท่านั้นหาได้ซื้อที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาทจากจำเลยที่ 2 ด้วยไม่การที่โจทก์ยึดถือที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าและครอบครองสืบต่อมาโดยไม่ได้เลิกการเช่า จึงเป็นการยึดถือที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าตามเดิม โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้แทนผู้ครอบครองอันเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 2ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าแปลงพิพาท โจทก์หามีสิทธิครอบครองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การรับเงินยักยอกรู้แหล่งที่มา, หลายกรรมต่างกัน, และการบังคับคดี
ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบกับพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่นำสืบฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ได้รับอันตรายเป็นบาดแผลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินทำสวนไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เนื่องจากไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินของจำเลยทำสวนไม่ใช่ทำนา พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524บัญญัติคุ้มครองเฉพาะการเช่านาโดยบังคับไว้ในหมวดที่ 2 ส่วนการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นได้บัญญัติแยกไว้ต่างหากในหมวด 3 ว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นโดยมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติถึงกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรให้มีการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านาให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่จนบัดนี้ยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใดอีก โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยขาดประโยชน์จากการที่อาจให้บุคคลอื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การเปลี่ยนตัวโจทก์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับมรดก ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ.โดยโจทก์คดีนี้เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านในคดีก่อนกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลยโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: โจทก์ต่างกันในคดีจัดการมรดกและฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน ไม่ขัดมาตรา 173 วรรคสอง ป.วิ.พ.
คดีก่อนซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยเป็นผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ผ. โดยโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ร้องคัดค้าน ส่วนคดีนี้ผู้ร้องคัดค้านกลับเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องขอเป็นจำเลย โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงหาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสองไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีอาญา: เหตุการณ์ไม่สมเหตุสมผลบ่งชี้ความผิดสงสัย
จุดที่พยานเห็นจำเลยอยู่หน้าปั๊มน้ำมันซึ่งอยู่ใกล้กับที่จอดรถบรรทุก ดังนั้น หากจำเลยเป็นคนร้ายเมื่อพบพยานเช่นนั้นก็น่าจะรีบขับรถบรรทุกออกจากปั๊มน้ำมันหลบหนีไป ไม่มีเหตุที่จำเลยจะหยุดรถเพื่อเปลี่ยนป้ายที่หน้ารถบรรทุก เพราะขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน แม้ป้ายหน้ารถบรรทุกจะไม่ถูกเปลี่ยนก็ไม่เป็นที่ผิดสังเกต พยานโจทก์จึงมีพิรุธน่าสงสัย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227วรรคสอง
of 25