คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เคียง บุญเพิ่ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 517 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนที่กระทำนอกเหนืออำนาจและการค้ำประกันการทำงาน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ ปล่อยให้จำเลยที่ 1 กู้โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันกู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการขัดต่อระเบียบวิธีปฏิบัติของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งโจทก์มิได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2ต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 จำเลยที่ 4ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ก็ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร้องที่ดิน: ศาลพิจารณาเฉพาะส่วนที่โจทก์ควรได้ตามข้อเท็จจริง แม้คำฟ้องขอทั้งหมด
โจทก์อ้างในคำฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสี่คัดค้าน การรังวัดที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่า มีทางสาธารณะในที่ดินโจทก์ กว้าง 3 วาซึ่งความจริงไม่มีทางสาธารณะในที่ดินโจทก์เลย ขอให้ พิพากษาว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าเป็นทางสาธารณะเป็นที่ดินโจทก์ โดยโจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้องว่า ทางสาธารณะกว้างเพียงใด แต่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่ได้นำสืบ ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงหยิบยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์เป็นทางสาธารณะกว้าง 2 วา ยาวตลอดแนว ที่ดินโจทก์เท่ากับว่าที่ดินพิพาทกว้าง 1 วา ยาวตลอดแนวที่ดินของ โจทก์เป็นของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็น ของตนทั้งหมดแต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้ในส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ มิใช่เป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎ ในคำฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การประเมินผลงานที่ไม่เชื่อมโยงกับความผิดตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ลูกจ้างกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123(1) ถึง (5)โจทก์เลิกจ้างจำเลยเพราะหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน โดยนำเอาสาเหตุการลาป่วย ลากิจ และการมาทำงานสายของจำเลยมาเป็น เกณฑ์ในการประเมิน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกระทำอย่างใดอย่าง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123(1) ถึง (5) แม้ตามข้อบังคับของโจทก์กำหนดให้โจทก์มีอำนาจนำเอาผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง โยกย้าย เลิกจ้าง และการพิจารณาปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนด้วย โจทก์อาจจะ โยกย้ายหรือไม่ปรับปรุงค่าจ้างหรือเงินเดือนให้จำเลยได้ แต่โจทก์ก็ไม่อาจเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 การเลิกจ้างของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้ลูกจ้างมิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นโดยตรง และศาลมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีกและศาลจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจศาลเช่นนั้น โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน เป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม และแม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้มีคำสั่งให้รับเข้าทำงาน
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายนั่นเอง
มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในทางพิจารณาว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็นประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงานใช้อำนาจตามมาตรา 49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย นั่นเอง มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติ ที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ในทางพิจารณา ว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดี ใน กรณี นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้า ศาลแรงงาน เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มี อำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้าง กลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจ ศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็น ประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงาน ใช้อำนาจตาม มาตรา49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจ ไว้ เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้ อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้าง ใน ระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็น กรณี ที่ โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ได้ ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตาม สัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ ศาลแรงงาน พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มี กฎหมาย ห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์ เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลา ที่ ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลย กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุ ให้ โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ ทำงานให้จำเลยก็ตามพระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับ ให้ นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อ ศาลแรงงาน พิพากษา ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากคำพิพากษาและมรดก: ไม่ต้องจดทะเบียนมรดกก่อนแบ่งแยกได้
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่ง สิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที
แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการบังคับคดีและมรดก: การจดทะเบียนสิทธิและการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครองที่ดิน: การแจ้งการครอบครองเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
มารดาโจทก์จำเลยถึงแก่ความตายเมื่อปี พ.ศ. 2520 หลังจากมารดาถึงแก่ความตายไปได้ประมาณ 5 เดือน โจทก์ได้บอกจำเลยว่ามารดาทำพินัยกรรมยกที่พิพาทตาม ส.ค.1 เลขที่ 27 ให้โจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป จำเลยโต้แย้งว่ามารดายกที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยไม่ยอมมอบที่ดินให้โจทก์ ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์นับแต่วันนั้น โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 เป็นเวลาเกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะเรียกเอาคืนการครอบครอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์: การแย่งการครอบครองและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องคืน
มารดาโจทก์จำเลยถึงแก่ความตายเมื่อปี พ.ศ. 2520 หลังจากมารดาถึงแก่ความตายไปได้ประมาณ 5 เดือน โจทก์ได้บอกจำเลยว่า มารดาทำพินัยกรรมยกที่พิพาทตาม ส.ค.1 เลขที่ 27 ให้โจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป จำเลยโต้แย้งว่ามารดายกที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยไม่ยอมมอบที่ดินให้โจทก์ ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์นับแต่วันนั้น โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 เป็นเวลาเกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะเรียกเอาคืนการครอบครอง.
of 52