พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค, อายุความ, และข้อตกลงการกู้ยืมเงิน: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจลงวันที่ในเช็คพิพาททั้งสิบสามฉบับ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิฟ้องร้องภายในหนึ่งปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ และจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่ อ. เสร็จสิ้นแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เห็นว่า เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ถูกต้องและชอบด้วยเหตุผลแล้ว จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจำนองกับการบังคับคดี: การกันเงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนอง แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติให้มาตราดังกล่าวอยู่ภายใต้แห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 มีความหมายว่า หากบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ นั้น เป็นสิทธิประเภทที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามมาตรา 288 หรือบังคับให้ชำระหนี้ตามมาตรา 289 ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่แม้มิได้ใช้สิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนตามบทบัญญัติดังกล่าว การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ดังกล่าวอยู่นั่นเอง ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึด หนี้ตามสัญญาจำนองยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้กันเงินจากการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองไว้ให้แก่ผู้ร้องด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 หาใช่เป็นการร้องขอรับชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ แม้ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง หนี้จำนองที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระแก่ผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระอันจะขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ก็ตาม แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิอื่น ๆ ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึดได้ใช้สิทธิตามมาตรา 287 และขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินจากการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15009/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาด: หน้าที่ตรวจสอบหนี้ค่าใช้จ่าย และการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้
ตามคำเตือนในการขายทอดตลาดระบุว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดมีหน้าที่ตรวจสอบยอดหนี้ว่าเจ้าของห้องชุดเดิมมีหนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่และหากมีโจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หลังจากซื้อห้องชุดพิพาทแล้ว การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ โดยเสนอว่าโจทก์จะชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเฉพาะภายหลังจากโจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดโดยนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นต้นไป เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ตอบหนังสือว่าข้อเสนอชำระหนี้ของโจทก์ชอบหรือไม่และไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องขอให้ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ได้
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติว่า ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองให้แก่เจ้าของร่วมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว จะเห็นว่าการชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 18 เป็นเงื่อนไขสำคัญของการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ เมื่อกรณีไม่ได้ความว่าเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือไม่ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลย่อมกำหนดได้ว่าหากมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับถึงวันที่โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ก็ให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้โจทก์ และถ้าพิพาทกันเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังกล่าวก็ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติว่า ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองให้แก่เจ้าของร่วมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว จะเห็นว่าการชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 18 เป็นเงื่อนไขสำคัญของการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ เมื่อกรณีไม่ได้ความว่าเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือไม่ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลย่อมกำหนดได้ว่าหากมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับถึงวันที่โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ก็ให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้โจทก์ และถ้าพิพาทกันเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังกล่าวก็ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15009/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบหนี้ค้างชำระ การออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้
ตามคำเตือนในการขายทอดตลาดระบุว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดมีหน้าที่ตรวจสอบยอดหนี้ว่าเจ้าของห้องชุดเดิมมีหนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ และหากมีโจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หลังจากซื้อห้องชุดพิพาทแล้ว การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้โดยเสนอว่าโจทก์จะชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเฉพาะภายหลังจากโจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นต้นไป เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ตอบหนังสือว่าข้อเสนอชำระหนี้ของโจทก์ชอบหรือไม่ และไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องขอให้ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ได้
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติว่า ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองให้แก่เจ้าของร่วมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว จะเห็นว่าการชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 18 เป็นเงื่อนไขสำคัญของการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ เมื่อกรณีไม่ได้ความว่าเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือไม่ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลย่อมกำหนดได้ว่าหากมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับถึงวันที่โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ก็ให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้โจทก์ และเมื่อทางนำสืบโจทก์ยังไม่แน่ชัดว่าเจ้าของห้องชุดเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์จึงไม่เป็นการละเมิด
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติว่า ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองให้แก่เจ้าของร่วมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว จะเห็นว่าการชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 18 เป็นเงื่อนไขสำคัญของการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ เมื่อกรณีไม่ได้ความว่าเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือไม่ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลย่อมกำหนดได้ว่าหากมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับถึงวันที่โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ก็ให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้โจทก์ และเมื่อทางนำสืบโจทก์ยังไม่แน่ชัดว่าเจ้าของห้องชุดเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์จึงไม่เป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการล้มละลายต่อการดำเนินคดีเช่าและการเรียกร้องค่าเสียหาย: อำนาจฟ้องและสิทธิอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าให้ออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา จำเลยเช่าทรัพย์พิพาทได้เพียง 5 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อปรากฏแหล่งที่มา ศูนย์วิชาการงานคดี ศาลฎีกาว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอำนาจในการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) คำฟ้องในส่วนที่โจทก์มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์เอง เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้โดยลำพัง แต่ตามคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายมาด้วยนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีตามคำขอส่วนนี้แทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่ขอเข้าดำเนินคดีโดยเห็นว่าส่วนในเรื่องค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้านการที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยด้วยตนเองได้ โดยไม่ได้สั่งงดการพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหายแต่อย่างไร ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลยเท่านั้น ส่วนที่พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่ขอเข้าดำเนินคดีโดยเห็นว่าส่วนในเรื่องค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้านการที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยด้วยตนเองได้ โดยไม่ได้สั่งงดการพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหายแต่อย่างไร ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลยเท่านั้น ส่วนที่พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีระหว่างผู้ล้มละลายและการจัดการทรัพย์สิน: การแยกส่วนคดีขับไล่และค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ที่มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีได้โดยลำพัง แต่ในส่วนคำฟ้องที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีแทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องไม่ขอเข้าดำเนินคดี โดยเห็นว่าค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องห้ามมิให้รับชำระหนี้ตามมาตรา 24 เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าไม่ติดใจคัดค้าน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะส่วนฟ้องขับไล่ และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีได้ โดยมิได้สั่งงดพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยอุทธรณ์ได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ส่วนที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14493/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: การบังคับชำระหนี้จำนอง vs. ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา แม้มีการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองก่อน
คำร้องของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็นการร้องขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยอำนาจของเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งเป็นเพียงให้สิทธิโจทก์ในการได้รับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญอื่น หากมีการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองเท่านั้น ส่วนคำฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะลูกหนี้สามัญตามสัญญากู้ยืมเงิน หาได้ฟ้องขอบังคับจำนองแก่ที่ดินที่จำนอง และฟ้องเฉพาะมูลหนี้ส่วนที่โจทก์ยังไม่ได้รับจากการขอรับชำระหนี้ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เท่านั้น ซึ่งเป็นฟ้องคนละประเด็นกัน ดังนั้น จึงไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุผลอย่างเดียวกันกับคำร้องของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2109/2549 ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13287/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมติดไปกับสามยทรัพย์ แม้มีการโอนสิทธิ ผู้รับโอนใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องขอศาลรับรอง
ป.พ.พ. มาตรา 1393 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระจำยอมไซร้ ท่านว่าภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้จำหน่ายหรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น ซึ่งหมายความว่า ภาระจำยอมย่อมตกติดไปกับสามยทรัพย์เสมอ ไม่ว่าจะโอนสามยทรัพย์ให้ผู้ใด เว้นแต่กรณีภาระจำยอมได้มาโดยนิติกรรมและนิติกรรมที่ก่อตั้งภาระจำยอมได้จำกัดไว้ว่าให้ภาระจำยอมระงับไปเมื่อมีการโอนสามยทรัพย์ไปยังบุคคลอื่น ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนั้น
ผู้ร้องได้รับโอนที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 22177 และ 20634 มาจากโจทก์ที่ 1 โดยมิใช่เป็นนิติกรรมอำพราง ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยย่อมติดไปกับที่ดินสามยทรัพย์ที่โอนด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมได้ ในกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่เปิดช่องให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสามยทรัพย์ สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้รับรองสิทธิในภาระจำยอมได้ เพราะการเสนอคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ต้องมีกฎหมายสนับสนุนด้วย ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องขอเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ผู้ร้องได้รับโอนที่ดินสามยทรัพย์โฉนดเลขที่ 22177 และ 20634 มาจากโจทก์ที่ 1 โดยมิใช่เป็นนิติกรรมอำพราง ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยย่อมติดไปกับที่ดินสามยทรัพย์ที่โอนด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมได้ ในกรณีเช่นนี้กฎหมายไม่เปิดช่องให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสามยทรัพย์ สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลให้รับรองสิทธิในภาระจำยอมได้ เพราะการเสนอคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ต้องมีกฎหมายสนับสนุนด้วย ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องขอเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13287/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้มีการโอนสิทธิ เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ใช้สิทธิได้ แต่ไม่สามารถฟ้องขอรับรองสิทธิเองได้
ผู้ร้องได้รับโอนที่ดินสามยทรัพย์มาจากโจทก์ที่ 1 ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ที่โอนด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิใช้ประโยชน์ในทางภาระจำยอมได้ ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ขอให้มีคำสั่งให้ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมของผู้ร้องแทนโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสามยทรัพย์สามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้รับรองสิทธิในภาระจำยอมได้ เพราะการเสนอคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ต้องมีกฎหมายสนับสนุน
ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ปัญหาเรื่องอำนาจในการเสนอคำร้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13173/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่นด้วยคำพูดดูถูกเหยียดหยาม ถ้อยคำ 'ผู้หญิงชั่ว' ถือเป็นการดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทหรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าวดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวหรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อพิเคราะห์ถึงถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "ก็ผู้หญิงชั่ว" และมองไปที่ผู้เสียหายนั้น ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายคำว่า "ชั่ว" ว่า เลว ทราม ร้าย ไม่ดี ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหาย จึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่า เป็นผู้หญิงเลว ผู้หญิงทราม ผู้หญิงร้าย ผู้หญิงไม่ดีจึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393