คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยภริยาที่ไม่ยินยอม และผลของการสันนิษฐานความสุจริตของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 จะสมรสกันก่อน ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ต้องนำ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาใช้บังคับจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ และจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สุจริตอย่างไร โจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายและจำนองสินสมรสโดยบุคคลภายนอกที่สุจริต: โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่สุจริต
เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้โจทก์และจำเลยที่1จะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับจำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่2โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์และจำเลยที่2นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่3แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่3ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3ไม่สุจริตอย่างไรโจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่2และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากมรดก: ที่ดินที่ได้มาหลังสมรสด้วยเงินมรดกยังคงเป็นสินสมรส แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ บ. มารดาผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยที่ 1 บ.ได้จำนองไว้แก่ธนาคาร บ.ถึงแก่ความตายเมื่อพ.ศ. 2513 เมื่อ บ. ตายทรัพย์สินทั้งหมดก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาททุกคนทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599ถือได้ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทใน พ.ศ. 2513 มาในระหว่างสมรสและผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิใช่กรณีที่ระบุไว้ว่าเป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวตามมาตรา 1463 และ 1464 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 1466 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และตราบใดที่ยังไม่แบ่งทรัพย์มรดกผลประโยชน์ที่เกิดจากทรัพย์มรดกทั้งหลายย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาททุกคนร่วมกันผลประโยชน์ส่วนที่เป็นของผู้ร้องย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อีก ดังนั้นเงินที่ได้จากการขายพืชผลของสวนและนามรดกที่นำไปไถ่ถอนที่ดินพิพาทจากธนาคารย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ไม่ใช่สินส่วนตัวของผู้ร้องแม้ผู้จัดการมรดกของ บ.จะได้จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องแต่ผู้เดียวในพ.ศ. 2520ภายหลังจากพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งมรดกระหว่างทายาทมิใช่เป็นการได้รับทรัพย์มรดกอันจะเป็นสินส่วนตัวเพราะเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1471(3) บัญญัติไว้ไม่ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 2บัญญัติไว้ว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสของผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อยู่ก่อนวันดังกล่าว แม้จะได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกก็ไม่กลับกลายเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง เพราะจะเป็นการใช้มาตรา 1471(3)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ย้อนหลังขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวทั้งความตามมาตรา 5 ก็มีความหมายเฉพาะว่า ความสมบูรณ์ของการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ไม่ถูกกระทบกระเทือน คือไม่เสื่อมเสียไปเท่านั้น ไม่ได้มีข้อความให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ย้อนหลังอันเป็นการยกเว้นความตามมาตรา 2 ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วจะถือว่าความสมบูรณ์ของการอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5ต้องถูกกระทบกระเทือนถึงคือต้องเปลี่ยนไปใช้กฎหมายใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับเมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หาจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรสซึ่งไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วยจึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474ตอนท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดาโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้กระทำโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัยมาตรา1490แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับ ก็ยังต้อง นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาใช้ บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดย การยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรส ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้อง เป็นไปตาม บทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอน ท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดา โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึง สิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัว ของผู้กระทำโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะ ที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตาม นัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและสินส่วนตัว: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส, การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้, และความรับผิดในหนี้ละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ส่วนที่ดินที่จำเลยได้มาในระหว่างสมรสก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า บิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอนท้าย ที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย. แม้ผู้ร้องกับจำเลยจะร่วมกันกระทำหนี้ละเมิด แต่ก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้องกับจำเลยไม่เกี่ยวกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือเกิดจากการงานที่ทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยา จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า: สิทธิเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อมีคดีหย่าและเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดฝ่ายเดียว
บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 3 ขณะฟ้อง คดีนี้เป็นเวลาที่ใช้บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ การเรียกค่าเลี้ยงชีพต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1526 ซึ่งจะเรียกได้ก็ต่อเมื่อมีคดีหย่าและจะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งเรียกมาในคดีหย่านั้น และศาลจะสั่งให้ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์จำเลยได้ตกลงหย่ากันเองและจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีคดีฟ้องหย่าต่อศาล จึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของฝ่ายใด เมื่อมิได้ตกลงกันไว้ในเรื่องค่าเลี้ยงชีพ ย่อมไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะมาเรียกค่าเลี้ยงชีพจากกันภายหลังหย่ากันแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุตรใช้สกุลมารดา: การยินยอมของบิดาและมารดาเป็นสำคัญ แม้มีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตร มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดาและในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใคร เป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้ บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาเมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้อ อื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วพ.ศ.2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุตรใช้ชื่อสกุลมารดาได้ แม้มีบิดา โดยความยินยอมของบิดามารดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา และในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา เมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่
เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้ออื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พ.ศ. 2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา เช่นนี้ จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมกับคู่ความที่ไม่ใช่โจทก์โดยตรง และการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามบัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยา คำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)
of 2