พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านพิพาทในที่ดินโอนมรดก: การสมรสโมฆะ และสิทธิในการครอบครอง
สามีภริยาก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยาไปบวชชี ไม่ได้ความว่าสามีอนุญาต ยังไม่ขาดจากสามีภริยากัน สามีได้ภริยาใหม่จดทะเบียนเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว ไม่เป็นการสมรส ที่สมบูรณ์ ไม่มีสิทธิรับมรดกของสามี สามีตายมรดกตกได้แก่ภริยาเดิมภริยาเดิมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์แม้ไม่ระบุถึงบ้านด้วย บ้านเป็น ส่วนควบของที่ดิน โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในบ้านด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและโมฆะ: สิทธิของภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีการสมรสซ้ำ
ป. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25เมษายน 2495 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อวันที่15 ธันวาคม 2503 และจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2507 วันที่ 24 มิถุนายน 2507ป. จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 แต่ต่อมาวันที่ 5สิงหาคม 2507 ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 อีก และหลังจากนั้นคือวันที่ 30 ตุลาคม 2507 โจทก์กับ ป.จึงได้จดทะเบียนสมรสกันซ้ำอีกครั้งหนึ่ง วันที่ 1เมษายน 2519 ป. ถึงแก่กรรมเช่นนี้การจดทะเบียนสมรสระหว่าง ป. กับโจทก์ครั้งแรกและระหว่าง ป. กับจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3) เพราะในขณะนั้น ป. เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 อยู่แล้ว จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 สำหรับจำเลยที่ 1 แม้จะปรากฏว่าได้จดทะเบียนหย่ากับ ป. ทำให้การสมรสขาดลง แต่ต่อมาก็ได้จดทะเบียนสมรสกันใหม่โดยสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการสมรสระหว่าง ป. กับโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้เป็นโมฆะมาตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้ว การที่โจทก์มาจดทะเบียนสมรสกับ ป. ครั้งหลังอีกจึงเป็นโมฆะเพราะขณะนั้น ป. เป็นคู่สมรสของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียวของ ป. มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่า, การสมรสโมฆะ, และอายุความแบ่งสินสมรส
สามีภริยาตามกฎหมายเก่าหย่ากันเมื่อใช้กฎหมายใหม่แล้วต้องทำตามแบบใน มาตรา 1498 เดิม
ชายจดทะเบียนกับหญิงระหว่างที่ชายยังมีภริยาตามกฎหมายเก่าอยู่ การสมรสตามที่จดทะเบียนเป็นโมฆะตาม มาตรา 1490 ไม่ใช่การสมรสเดิมขาดจากกัน
ประนีประนอมยอมความระหว่างผู้รับพินัยกรรม ซึ่งโจทก์ผู้เป็นภริยาเจ้ามรดกมิได้รับพินัยกรรมและไม่มีข้อพิพาทด้วย แม้ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยก็ในฐานะรับให้ทรัพย์สินบางอย่าง ไม่ตัดสิทธิโจทก์ขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดก
อายุความแบ่งสินสมรสระหว่างภริยากับเจ้ามรดกผู้ตายไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 1754 แต่ 10 ปีตาม มาตรา 164
ชายจดทะเบียนกับหญิงระหว่างที่ชายยังมีภริยาตามกฎหมายเก่าอยู่ การสมรสตามที่จดทะเบียนเป็นโมฆะตาม มาตรา 1490 ไม่ใช่การสมรสเดิมขาดจากกัน
ประนีประนอมยอมความระหว่างผู้รับพินัยกรรม ซึ่งโจทก์ผู้เป็นภริยาเจ้ามรดกมิได้รับพินัยกรรมและไม่มีข้อพิพาทด้วย แม้ได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงด้วยก็ในฐานะรับให้ทรัพย์สินบางอย่าง ไม่ตัดสิทธิโจทก์ขอแบ่งสินสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดก
อายุความแบ่งสินสมรสระหว่างภริยากับเจ้ามรดกผู้ตายไม่ใช่ 1 ปี ตาม มาตรา 1754 แต่ 10 ปีตาม มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ จดทะเบียนซ้ำเป็นโมฆะ สิทธิเพิกถอนไม่มีอายุความ
ชายหญิงอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ถือว่าเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใช้บรรพ 5 แล้วชายจดทะเบียนกับหญิงอีกคนหนึ่ง โดยยังอยู่กับภริยาเดิมเป็นปกติการสมรสเป็นโมฆะ ภริยาเดิมฟ้องให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ไม่มีอายุความ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต