พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, และความชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24,25,26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14,15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมงทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับการบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้ว และไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไป เพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น)เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ.เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ.พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน เมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางวินัยข้าราชการ: อำนาจบังคับบัญชา, การสอบสวน, คำสั่งลงโทษชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าแผนกวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกและปฏิบัติตามข้อตกลงของคณะกรรมการประจำคณะและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้การสอนและหลักสูตรการสอนดำเนินไปโดยเรียบร้อยตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 24, 25, 26 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14, 15 เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ออกคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้ช่วยหน่วยวิชาพาเชี่ยลเด็นเจอร์และให้โจทก์รายงานการสอนนักศึกษาปีที่ 2 ในวิชานี้เป็นรายละเอียดและจำนวนชั่วโมง ทั้งการบรรยายและปฏิบัติการพร้อมกับผลของการปฏิบัติงานทางด้านคลีดนิคของนิสิตปีที่ 4 มายังจำเลยที่ 1 ภายในวันที่กำหนด จึงเป็นการสั่งเกี่ยวกับกาารบังคับบัญชากิจการทั้งหลายในแผนกของจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นการวางระเบียบการภายในแผนกวิชาหรือการอื่นอันเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการประจำคณะที่จะต้องเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยตามพระราบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ.2486 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2497 มาตรา 14 การที่โจทก์บันทึกโต้แย้งว่าไม่ยอมรับทราบคำสั่ง ไม่มีอะไรให้อีกแล้วและไม่มีผลใด ๆ ทั้งสิ้น แสดงว่าโจทก์จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 มาตรา 71 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 รายงานต่อคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์เหนือจำเลยที่ 1 ขึ้นไปเพื่อให้ลงโทษโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ มาตรา 93 ทั้งพยานหลักฐานของโจทก์ก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ออกคำสั่ง (ดังกล่าวตอนต้น) เพื่อแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
บ.รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 เป็นกรรมการสอบสวนโจทก์ทางวินัย จำเลยที่ 3, ที่ 4, ที่ 5 สอบสวนแล้วเสนอความเห็นว่าโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาสมควรลงโทษตัดเงินเดือน บ. เห็นชอบตามข้อเสนอของปลัดทบวงที่ให้ลงโทษโจทก์ตามที่คณะกรรมการสอบสวนพิจารณาแล้ว แต่ บ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน จำเลยที่ 2 ซึ่งรัฐมนตรีต่อจาก บ.จึงออกคำสั่งลงโทษโจทก์ตามความเห็นของคณะกรรมการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3, ที่ 4 และ ที่ 5 ก็เป็นการเสนอความเห็นจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเมื่อฟังไม่ได้ว่าเสนอความเห็นเพื่อเจตนาแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3, ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ออกคำสั่งให้ตัดเงินเดือนโจทก์ทั้ง ๆ ที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียน เช่นนี้จะมาอุทธรณ์ฎีกาว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น