พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้มีเรียกค่าเสียหาย ก็ไม่อยู่ในข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทำการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเคาะและพ่นสีซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นทำความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อร่างกายกับอนามัยของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มิได้ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงถึงแม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 10,000 บาท และค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไม่ละเมิดสิทธิของโจทก์อีกต่อไป ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีละเมิดจากเสียงดังและกลิ่นเหม็น: การอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงยังทำได้หากเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทำการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเคาะและพ่นสีซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นทำความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อร่างกายกับอนามัยของโจทก์ นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มิได้ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ถึงแม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 10,000 บาท และค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไม่ละเมิดสิทธิของโจทก์อีกต่อไปก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามความหมายของ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาในคดีเช่าทรัพย์สิน: อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์อันมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองหมื่นบาท และขอให้ขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 และต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์