พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิประกันภัยรถยนต์: การบอกกล่าวตัวแทนถือว่าแจ้งผู้รับประกันแล้ว
เมื่อผู้เอาประกันรถยนต์ได้บอกกล่าวการโอนรถที่เอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยให้แก่ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบแล้วแม้จะเป็นการบอกกล่าวด้วยวาจาก็ถือว่าผู้รับประกันภัยทราบแล้วเช่นเดียวกัน สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยย่อมโอนตามไปยังผู้รับโอนรถยนต์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 วรรคสอง ผู้รับประกันภัยจึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัยนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่โอนตามกรรมสิทธิ์รถ หากเกิดความเสียหายก่อนการโอนสิทธิ
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1 โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัย โจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2 เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวันมิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094-2095/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากประกันภัย - การบังคับชำระหนี้ - การโอนที่ดิน - สิทธิเรียกร้อง
เมื่อโรงภาพยนตร์ พร้อมอุปกรณ์ที่โจทก์ต้องโอนให้จำเลยที่ 3 ถูกเพลิงไหม้หมด การชำระหนี้ของโจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัย แต่เนื่องจากโจทก์ได้เอาประกันภัยไว้แก่ผู้ร้อง โจทก์ได้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมา จำเลยที่ 3 จึงมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 228 ที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนนั้นเสียเองได้ การเรียกร้องตามบทบัญญัตินี้มิใช่เป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับโอนวัตถุที่เอาประกันภัยจึงไม่ต้องมีการบอกกล่าวการโอนวัตถุที่เอาประกันภัยให้ผู้รับประกันภัยทราบตามมาตรา 875 ก่อน เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีจำเลยที่ 3 จึงชอบที่จะบังคับเอาค่าสินไหมทดแทนในคดีนี้ได้หาใช่เป็นเรื่องข้อพิพาทตามสัญญาประกันภัยต่างหากจากคดีนี้ไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินประกันภัยก็เพื่อนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องอันอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ถึง 315 การที่ศาลชั้นต้นนัดผู้ร้องและจำเลยที่ 3 มาพร้อมกันสอบถามพิจารณาคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารต่าง ๆ แล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งเงิน 15 ล้านบาทที่อายัดมาวางศาล เป็นการไต่สวนและมีคำสั่งตามมาตรา 312 วรรคหนึ่งแล้ว เมื่อคำสั่งนั้นมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสียข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหายของโรงภาพยนตร์ และอุปกรณ์จึงเป็นอันยุติคำแถลงของผู้ร้องในชั้นเสนอหลักทรัพย์เป็นประกัน การทุเลาการบังคับที่ว่า ความเสียหายแท้จริงเป็นเงิน 8 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจรับฟังได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่อายัด ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดวินาศภัยแต่อย่างใด จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำแถลงของจำเลยที่ 3 ไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่ผู้ร้องจะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนตามมาตรา 312 ผู้ร้องหามีสิทธิโต้แย้งตามมูลหนี้เรื่องประกันภัยต่อไปไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินประกันภัยก็เพื่อนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องอันอยู่ในบังคับแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 ถึง 315 การที่ศาลชั้นต้นนัดผู้ร้องและจำเลยที่ 3 มาพร้อมกันสอบถามพิจารณาคำแถลงของคู่ความประกอบกับเอกสารต่าง ๆ แล้วมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งเงิน 15 ล้านบาทที่อายัดมาวางศาล เป็นการไต่สวนและมีคำสั่งตามมาตรา 312 วรรคหนึ่งแล้ว เมื่อคำสั่งนั้นมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสียข้อเท็จจริงในเรื่องค่าเสียหายของโรงภาพยนตร์ และอุปกรณ์จึงเป็นอันยุติคำแถลงของผู้ร้องในชั้นเสนอหลักทรัพย์เป็นประกัน การทุเลาการบังคับที่ว่า ความเสียหายแท้จริงเป็นเงิน 8 ล้านบาทเศษ จึงไม่อาจรับฟังได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่อายัด ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีส่วนทำให้เกิดวินาศภัยแต่อย่างใด จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำแถลงของจำเลยที่ 3 ไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่ผู้ร้องจะปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนตามมาตรา 312 ผู้ร้องหามีสิทธิโต้แย้งตามมูลหนี้เรื่องประกันภัยต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างและผลของการโอนการครอบครองรถยนต์ของผู้เอาประกันภัย
เมื่อจำเลยที่ 2 นายจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์บรรทุกซึ่งจำเลยที่ 1 ขับประจำ เข้าร่วมในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 3 บริษัทจำเลยที่ 3 ย่อมอยู่ในฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นนายจ้าง มิใช่ในฐานะตัวการฉะนั้น การที่จำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุโอนการครอบครองรถยนต์ให้จำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าซื้อ โดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยทราบ ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 พ้นจากความรับผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิประกันภัยตามสัญญาเช่าซื้อ: เมื่อกรรมสิทธิ์รถยนต์โอน สิทธิประกันภัยก็โอนตาม
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์ซึ่ง ส. ได้ให้ ก. เช่าซื้อไว้ แม้สัญญาประกันภัยจะได้กระทำในนาม ส. ผู้เอาประกันก็ตาม แต่ ก. ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วก่อนสัญญาประกันภัยสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงโอนจาก ส.ไปเป็นของ ก. แล้ว เมื่อรถยนต์หายไปเพราะการกระทำของจำเลย และโจทก์ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ก. จึงเป็นการยอมรับว่าสิทธิอันมีอยู่ตามสัญญาประกันภัยได้โอนไปยัง ก.แล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของ ก. ผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องจำเลยให้รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยยังไม่โมฆะ แม้มีการให้เช่ารถ เหตุผู้เอาประกันภัยไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
รถยนต์ของโจทก์ ผู้เช่าซื้อเอาประกันภัยโดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ผู้เช่าซื้อให้ผู้อื่นเช่ารถไป ไม่เป็นการโอนวัตถุที่เอาประกันภัยตาม มาตรา 875 รถถูกลักเป็นภัยตามกรมธรรม์ โจทก์ฟ้องผู้รับประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: การโอนสิทธิและข้อยกเว้นการบอกกล่าว
รถยนต์ที่เจ้าของเอาประกันภัยค้ำจุนไว้ได้โอนมาเป็นของจำเลยที่ 2 และได้บอกกล่าวผู้รับประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดในกรณีที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ การบอกกล่าวไม่ต้องทำเป็นหนังสือหรือจดลงในกรมธรรม์