พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีป่าไม้ จำเลยกระทำความผิดฐานแปรรูปและมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แต่ไม้ดังกล่าวไม่ใช่ไม้หวงห้าม จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ก. และ ข. ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองจำนวน 2,488 ท่อน ปริมาตรรวม 24.58 ลูกบาศก์เมตร เป็นสองกระทงความผิด โดยตามฟ้องข้อ 2 ก. ยังบรรยายอีกว่า นอกจากจำเลยทำการแปรรูปไม้แล้วยังมีไม้แปรรูปจำนวนเดียวกันตามคำฟ้องข้อ 2 ข. อยู่อีกจำนวน 2,488 ท่อน ปริมาตรรวม 24.58 ลูกบาศก์เมตร เพื่อต้องการแยกการกระทำความผิดของจำเลยให้ชัดแจ้ง และบรรยายองค์ประกอบความผิดของแต่ละฐานความผิดให้ครบถ้วน คือ ฐานแปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น แม้ไม้ดังกล่าวจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม โจทก์ก็จะต้องบรรยายฟ้องให้มีรายละเอียดต่าง ๆ ของจำนวนไม้ท่อน และปริมาตรของไม้แปรรูป เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่เป็นการบรรยายฟ้องซ้ำซ้อนแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1)...(2)...(3)...(4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม" การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง จึงต้องเป็นการกระทำต่อไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่เป็นไม้ที่ขึ้นในป่านั้น ไม้ชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดจะต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา คดีนี้โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยทำการแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปชนิดอื่น ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามประเภท ก. และประเภท ข. ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 จำนวน 2,488 ท่อน รวมคำนวณปริมาตรไม้ได้ 24.58 ลูกบาศก์เมตร และไม้แปรรูปที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ บานประตู 5 บาน วงกบหน้าต่าง 10 วง และบานหน้าต่าง 6 บาน ซึ่งเป็นไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกินสองลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม้ที่จำเลยแปรรูปและมีไว้ในครอบครองนั้นมิใช่ไม้หวงห้าม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2)
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1)...(2)...(3)...(4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม" การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง จึงต้องเป็นการกระทำต่อไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่เป็นไม้ที่ขึ้นในป่านั้น ไม้ชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดจะต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา คดีนี้โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยทำการแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปชนิดอื่น ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามประเภท ก. และประเภท ข. ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 จำนวน 2,488 ท่อน รวมคำนวณปริมาตรไม้ได้ 24.58 ลูกบาศก์เมตร และไม้แปรรูปที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ บานประตู 5 บาน วงกบหน้าต่าง 10 วง และบานหน้าต่าง 6 บาน ซึ่งเป็นไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกินสองลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม้ที่จำเลยแปรรูปและมีไว้ในครอบครองนั้นมิใช่ไม้หวงห้าม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้าม การพิสูจน์ไม้เก่าที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้าง และการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป มิได้หมายความว่าเมื่อจําเลยให้การรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยเสมอไป คดีอาญาไม่ว่าจําเลยจะให้การเช่นใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเสมอว่าจําเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจําเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคําพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ ประกอบขณะคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (ที่แก้ไขใหม่) มีผลต่อการวินิจฉัยของศาลว่า ไม้ของกลางยังคงเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไม้หวงห้าม การกระทำของจําเลยก็ย่อมไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจที่สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนพยานโจทก์และพยานจําเลยในประเด็นว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ มาตรา 208 (1) ทั้ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จําเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการสืบเสาะและพินิจจําเลยก่อนมีคําพิพากษา และพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้หวงห้ามต่อไปหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นถึงแหล่งที่มาของไม้ของกลาง แล้วนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจําเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ดังกล่าว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4373/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีไม้สักแปรรูปโดยชอบด้วยกฎหมาย: ข้อยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต
ป. ซื้อไม้สักแปรรูปที่ถูกต้องตามกฎหมายจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มาใช้ในกิจการโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรของ ป. ย่อมเป็นไม้ที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ จำเลยขอไม้สักแปรรูปจาก ป.มาเก็บไว้ที่บ้านจำเลย ถือได้ว่าจำเลยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้สักแปรรูปซึ่งอยู่ในครอบครองนั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้แล้ว เมื่อจำเลยมีไม้สักแปรรูปไว้ ในครอบครองมิใช่เพื่อการค้าจึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะเข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 50(3) จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมี ไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคแรก,73 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและการพิสูจน์เจตนาเพื่อการค้า ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
การแปรรูปไม้พยุงที่แปรรูปมาแล้วจากไม้ซุงหรือไม้ท่อนที่มิใช่เป็นการกระทำเพื่อการค้าไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50(2) คำให้การของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนที่ให้การว่าจำเลยได้ทำการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จึงไม่ใช่คำให้การรับสารภาพ ในความผิดฐานแปรรูปไม้เพื่อการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรรูปไม้และการปฏิบัติตามกฎหมายป่าไม้ แม้ได้รับอนุญาตโรงงานแล้ว
การไสไม้ ตัดไม้ บังใบ แม้จะกระทำต่อไม้ที่แปรรูปแล้ว แต่ก็ย่อมทำให้รูปและขนาดของไม้เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย จึงเป็นการแปรรูปไม้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปรรูปไม้เพื่อการค้าในเขตควบคุมต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้มีใบอนุญาตโรงงาน
การไสไม้ ตัดไม้ บังใบ แม้จะกระทำต่อไม้ที่แปรรูปแล้ว แต่ก็ย่อมทำให้รูปและขนาดของไม้เปลี่ยนไป ไม่มากก็น้อย จึงเป็นการแปรรูปไม้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยฝ่าฝืนเงื่อนไขอนุญาต และความผิดเกี่ยวกับการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้แรงงานคน แล้วฝ่าฝืนข้อกำหนดในใบอนุญาตกลับใช้เครื่องเลื่อยวงเดือนและเครื่องไสกลไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องจักรกล แปรรูปไม้เช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานนี้ จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ไม่ได้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานแปรรูปไม้ของจำเลยที่ 1 มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 ประกอบด้วยมาตรา 73 ส่วนจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้ดังกล่าวไว้ในโรงงาน ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 51 ประกอบด้วยมาตรา 72 ทวิ หามีความผิดตามมาตรา 48 อีกไม่ (อ้างฎีกาที่ 1483/2503) แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
จำเลยที่ 4 และที่ 6 รับจ้างแปรรูปไม้โดยไม่มีใบคู่มือแสดงฐานเป็นคนงานหรือผู้รับจ้างซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ออกให้โดยเจ้าพนักงานป่าไม้ ย่อมรู้ดีว่าการทำการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปไม้ตามที่ตนได้รับอนุญาตตามมาตรา 49 ทวิ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการ จึงฟังได้ว่าเป็นผู้ว่าจ้าง มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 4 ที่ 6 แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานแปรรูปไม้ของจำเลยที่ 1 มีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 ประกอบด้วยมาตรา 73 ส่วนจำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้และมีไม้ดังกล่าวไว้ในโรงงาน ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 51 ประกอบด้วยมาตรา 72 ทวิ หามีความผิดตามมาตรา 48 อีกไม่ (อ้างฎีกาที่ 1483/2503) แม้โจทก์จะอ้างบทมาตราผิด ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
จำเลยที่ 4 และที่ 6 รับจ้างแปรรูปไม้โดยไม่มีใบคู่มือแสดงฐานเป็นคนงานหรือผู้รับจ้างซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ออกให้โดยเจ้าพนักงานป่าไม้ ย่อมรู้ดีว่าการทำการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปไม้ตามที่ตนได้รับอนุญาตตามมาตรา 49 ทวิ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการ จึงฟังได้ว่าเป็นผู้ว่าจ้าง มีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้จำเลยที่ 4 ที่ 6 แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ทำประโยชน์บำรุงป่าได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตแปรรูปตามกฎหมาย
ไม้รายนี้เป็นไม้ที่ป่าไม้เขตทำเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่าตามอำนาจและหน้าที่ จึงเป็นไม้ที่อยู่นอกบังคับของมาตรา 11 เรื่องการทำไม้หวงห้ามโดยข้อยกเว้นของมาตรา 17(1) จำเลยทำไม้ตามสัญญาที่ป่าไม้เขตจ้างจำเลย ฉะนั้น การแปรรูปไม้รายนี้ไม่อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติเรื่องแปรรูปไม้ที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาต เช่นกรณีปกติอื่นๆ ตามนัยที่ยกเว้นไว้ในมาตรา 50 ข้อ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ทำประโยชน์บำรุงป่า ไม่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ เนื่องจากเป็นข้อยกเว้นตามสัญญา
ไม้รายนี้เป็นไม้ที่ป่าไม้เขตทำเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่าตามอำนาจและหน้าที่ จึงเป็นไม้ที่อยู่นอกบังคับของมาตรา 11 เรื่องการทำไม้หวงห้าม โดยข้อยกเว้นของมาตรา 17 (1) จำเลยทำไม้ตามสัญญาที่ป่าไม้เขตจ้างจำเลย ฉะนั้น การแปรรูปไม้รายนี้ไม่อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติเรื่องแปรรูปไม้ที่จะต้องให้เจ้าหน้าที่อนุญาต เช่น กรณีปกติอื่น ดๆ ตามนัยนที่ยกเว้นไว้ใน มาตรา 50 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องคดีไม้แปรรูปโดยไม่ระบุว่าเป็นไม้หวงห้าม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้ประดู่แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 48, 73,74 และพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 มาตรา 17 ดังนี้ ถือว่า เป็นฟ้องสมบูรณ์ไม่ต้องระบุว่าเป็นไม้แปรรูปประเภทหวงห้าม