พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6022-6023/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ระเบียบ
กรณีจะถือว่าการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ของการฝ่าฝืนคำสั่งและผลที่เกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนนั้นว่าเป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่เป็นหลัก มิใช่ว่าระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกำหนดไว้อย่างไรก็ต้องถือตามนั้นเสมอไป การที่จำเลยมีคำสั่งให้ครูอาจารย์ที่ได้ยื่นใบสมัครงานไว้ยังหน่วยงานหรือองค์การอื่น ซึ่งถือว่ามีเจตนาเปลี่ยนงานให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โรงเรียนทราบโดยแจ้งต่อผู้อำนวยการนั้น เป็นคำสั่งที่มิใช่เกี่ยวกับการทำงานในหน้าที่โดยตรงอันจะถือได้ว่าถ้าฝ่าฝืนแล้วจะเกิดความเสียหายแก่งานในหน้าที่ของลูกจ้างจำเลยโดยตรง แต่เป็นคำสั่งที่จำเลยเห็นว่าลูกจ้างควรปฏิบัติในระหว่างที่เป็นลูกจ้างนายจ้างกันอยู่ การที่โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นกรณีร้ายแรงตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) กำหนดไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบและการเลิกจ้าง: การขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรเกิน 7 วัน
โจทก์ขาดงานโดยลาหยุดพักผ่อนไม่ถูกต้องตามระเบียบเพราะไม่ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจให้ลา และการลาไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจ แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสถานที่ที่โจทก์ทำงานจะไม่เคร่งครัดในการลา และโจทก์พูดขอลาทางโทรศัพท์ต่อ ป. พนักงานของจำเลย แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ลาโดยฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยหรือไม่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นใบลาโดยฝ่าฝืนระเบียบ และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชามีผลเป็นการขาดงานแล้ว การที่โจทก์ได้พูดโทรศัพท์ขอลาต่อ ป. ก็มิใช่เหตุที่ทำให้โจทก์ขาดงานโดยมีเหตุอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริตโดยหวังผลประโยชน์อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แสดงว่าจำเลยได้ เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจโดยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต มิใช่เลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำทุจริตโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องนำสืบพยานถึงการกระทำทุจริตโดยตรงของโจทก์ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุไม่ไว้วางใจจึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่ถูก ปลดออกจากงานจะไม่มีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จเพราะมีความผิด เมื่อจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ได้ปลดออกเพราะกระทำผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่ถูก ปลดออกจากงานจะไม่มีสิทธิได้ รับเงินบำเหน็จเพราะมีความผิด เมื่อจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเพราะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่ได้ปลดออกเพราะกระทำผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีตักเตือนเป็นหนังสือ หากไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชย แม้มีการฝ่าฝืนระเบียบเล็กน้อย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย มีหน้าที่จำหน่ายตั๋วรถโดยสารและเก็บเงินค่าธรรมเนียมมอบให้จำเลยทุกวันโดยนำเงินฝากเข้าบัญชีธนาคารตามระเบียบของจำเลย การที่โจทก์นำเงินของจำเลยจำนวน 2,512 บาท เข้าฝากธนาคารล่าช้าไปหนึ่งวันย่อมถือเป็นการทำงานล่าช้าหรือผิดพลาดเล็กน้อย จำเลยอาจได้รับความเสียหายบ้างก็เพียงที่ขาดประโยชน์จากดอกเบี้ยของธนาคารเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงิน พ.ส.ร. ไม่ใช่ค่าจ้าง จึงไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินที่ กระทรวงกลาโหม สั่งให้จำเลยจ่ายแก่โจทก์ เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่สู้รบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม มิใช่เป็นเงินที่จำเลยตกลงจ่ายแก่โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ไม่อาจนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำกับการจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ายังต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2529 ข้อ 2 กำหนดว่า ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) งานเกษตรกรรม ฯลฯ (2) งานอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด แสดงว่ากิจการที่ไม่อยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องมีการกำหนดขึ้นตามข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อยังมิได้มีการกำหนดว่า การจ้างแรงงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจไม่อยู่ในบังคับของประกาศนี้ซึ่งเป็นประกาศที่มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแรงงานต่างกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว การจ้างแรงงานดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำนาญ: อายุการทำงานลูกจ้างชั่วคราวไม่รวมกับเงินบำนาญตามข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงาน เฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไป แม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ไม่ใช่เงินทดแทนตามกฎหมายแรงงาน แม้จ่ายโดยนายจ้าง
บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบริษัทจำเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ.ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ.กรมธรรม์ประกันภัยมิได้มีข้อความกำหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอัน เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างแต่เพียงประการเดียวแม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตรายโดยมิได้เกิด ขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างบริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาแม้บริษัท ส.จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้สวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ.ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่
กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกันไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสำหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กำหนดว่าเงินที่เอาประกันภัยเป็นเงินทดแทนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตค่ารักษาพยาบาลในระเบียบสวัสดิการนายจ้าง: รถพยาบาลไม่ใช่ค่าบำบัดโรคโดยตรง
เมื่อระเบียบของนายจ้างมีข้อจำกัดวงเงินค่ารักษาพยาบาลและ ระบุ ชื่อโรงพยาบาลที่ลูกจ้างและครอบครัวจะไปรักษาไว้ การที่ลูกจ้างป่วย โดยมิได้เกิดจากประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงยกบทคำนิยามของค่ารักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาปรับแก่กรณีหาได้ไม่ แต่ต้องพิจารณา จากระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการของนายจ้างและเมื่อระเบียบไม่มีบทนิยาม คำว่าค่ารักษาพยาบาลไว้ จึงต้องแปลคำว่าค่ารักษาพยาบาล ตามความเข้าใจของคนทั่วไปว่า หมายถึงค่าบำบัดโรคโดยตรงเท่านั้น ดังนี้ ค่ารถพยาบาลซึ่งระเบียบมิได้กำหนดให้เบิกได้จึงมิใช่ค่าบำบัดโรค อันลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีตัดขาดหากไม่ใช้สิทธิและนายจ้างไม่ได้กำหนดให้หยุด
ข้อบังคับของจำเลยมีว่า วันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่อนุญาตให้มีวันหยุดสะสม หากพนักงานไม่ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นก็จะตัดสิทธิในการพักผ่อนประจำปีนั้นไปโดยไม่คิดทบเป็นปีให้... ฯลฯ ดังนี้เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิขอหยุดพักผ่อนประจำปีและจำเลยก็มิได้กำหนดให้โจทก์หยุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพื่อใช้สิทธิหยุดรวมกันในปีต่อไปอีกได้ สิทธิในการหยุดพักผ่อนประจำปีของโจทก์ที่ผ่านมาแล้วจึงเป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีก่อนที่เลิกจ้างได้ คงมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง.