คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารเนื่องจากขับรถประมาทเสี่ยงอันตราย ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลย จำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญ การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่ง กันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่าย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจากไล่ออกเป็นให้ออก มีผลนับแต่วันใด สิทธิเงินสงเคราะห์
เดิมจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม2524 โจทก์ได้ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งอีกฉบับหนึ่งมีความว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติว่าการลงโทษโจทก์รุนแรงเกินไป จึงให้ยกเลิกคำสั่งเดิมเสียทั้งสิ้นและให้โจทก์ออกจากงานตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ดังนี้ ข้อความในคำสั่งฉบับหลังเป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยได้ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ไล่โจทก์ออกจากงานนั้นทั้งหมด ไม่ให้มีผลบังคับต่อไปโดยกำหนดโทษเป็นให้ออกจากงาน เมื่อคำสั่งเดิมได้กำหนดวันเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 ผลของการเปลี่ยนแปลงโทษจึงต้องถือว่ามีผลบังคับตั้งแต่วันที่เลิกจ้างนั้นด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ตามข้อบังคับของจำเลยนับแต่วันนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างระหว่างลงอู่ต้องปรับตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยไม่หักค่าครองชีพ
คำสั่งของจำเลยที่ 3507/2523 กำหนดอัตราค่าตอบแทนพนักงานขับรถระหว่างลงอู่วันละ 54 บาท ตามอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำขณะออกคำสั่งนี้จำเลยได้จ่ายเงินค่าครองชีพแก่พนักงานและลูกจ้างตามคำสั่งที่ 2121/2523อยู่อีกส่วนหนึ่งแล้วดังนี้เห็นได้ว่า ค่าจ้างระหว่างลงอู่วันละ 54 บาทนั้นถือเอาอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นหลักโดยไม่รวมค่าครองชีพเมื่อมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ70 บาทค่าจ้างระหว่างลงอู่ตามคำสั่งดังกล่าวก็ต้องเปลี่ยนเป็นวันละ 70 บาทด้วยเพราะเงินจำนวนนี้เป็นคนละส่วนกับค่าครองชีพจะนำเอาค่าครองชีพมาหักออกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างระหว่างลงอู่ต้องปรับตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ประกาศใช้ แม้จ่ายค่าครองชีพแล้วก็ไม่สามารถนำมาหักออกจากค่าจ้างได้
คำสั่งของจำเลยที่ 3507/2523 กำหนดอัตราค่าตอบแทนพนักงานขับรถระหว่างลงอู่วันละ 54 บาท ตามอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำขณะออกคำสั่งนี้จำเลยได้จ่ายเงินค่าครองชีพแก่พนักงานและลูกจ้างตามคำสั่งที่ 2121/2523 อยู่อีกส่วนหนึ่งแล้วดังนี้เห็นได้ว่า ค่าจ้างระหว่างลงอู่วันละ 54 บาทนั้น ถือเอาอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นหลักโดยไม่รวมค่าครองชีพเมื่อมีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 70 บาท ค่าจ้างระหว่างลงอู่ตามคำสั่งดังกล่าวก็ต้องเปลี่ยนเป็นวันละ 70 บาท ด้วยเพราะเงินจำนวนนี้เป็นคนละส่วนกับค่าครองชีพจะนำเอาค่าครองชีพมาหักออกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3331-3340/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างรายวันไม่ต่อเนื่อง: ไม่มีสิทธิค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
การวินิจฉัยว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขการจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างด้วยว่า ลูกจ้างและนายจ้างประสงค์จะให้การจ้างมีผลผูกพันเพียงใด และต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคราวเดียวติดต่อกันตลอดระยะเวลาที่ทำงาน โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำความสะอาดสถานีและขบวนรถของจำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเฉพาะวันที่มาทำงาน โจทก์มีสิทธิมาทำงานวันใดก็ได้ หรือไม่มาทำงานวันใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวหรือลางานและโจทก์ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ดังนี้ การจ้างดังกล่าวแสดงว่าโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะทำสัญญาจ้างกัน คราวละ1 วัน โดยจะเกิดสัญญาจ้างขึ้นในแต่ละวันที่โจทก์มาทำงานและสัญญาจ้างเป็นอันระงับไปเมื่อหมดเวลาทำงานของวันนั้น ๆ วันทำงานแต่ละวันของโจทก์จึงไม่ติดต่อกัน จะถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หรือข้อ 75 ไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานโดยมิชอบ และสิทธิการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ผู้ร้องมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านไปทำงานที่อื่นชั่วคราวซึ่งผู้ร้องมีอำนาจออกคำสั่งได้ตามระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ผู้คัดค้านจึงต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้าง การที่ผู้คัดค้านเข้าใจว่าคำสั่งของผู้ร้องเป็นการกลั่นแกล้งผู้คัดค้านเนื่องจากผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นความเข้าใจผิดของผู้คัดค้านเองเมื่อไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้ร้องเป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ผู้คัดค้านจะอ้างว่าเป็นความเข้าใจโดยสุจริตว่าผู้ร้องกลั่นแกล้งไม่ได้การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร
ผู้ร้องมีคำขอให้เลิกจ้างผู้คัดค้านโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ แก่ผู้คัดค้านนั้นเมื่อผู้ร้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 แล้วผู้ร้องก็ต้องมีคำสั่งเลิกจ้างอีกชั้นหนึ่งสิทธิของผู้ร้องที่จะจ่ายหรือไม่จ่ายคำชดเชยหรือค่าเสียหายนั้นเกิดขึ้นหลังจากผู้ร้องได้มีคำสั่งเลิกจ้างแล้วไม่สมควรที่จะพึงมีคำสั่งไว้ล่วงหน้าโดยยังไม่มีกรณีพิพาทเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762-2765/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและองค์การค้าคุรุสภา
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลย (คุรุสภา) หรือไม่ เพียงใดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า องค์การค้าของคุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานของคุรุสภาองค์การค้าของคุรุสภาเป็นหน่วยงานที่หารายได้ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่นั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคุรุสภาการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดปัญหาวินิจฉัยว่า'สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่' จึงเป็นการพิจารณาเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การค้าของคุรุสภาที่มีการบริหารงานแยกไปต่างหาก จากสำนักงานเลขาธิการพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนละส่วน กันผู้บังคับบัญชาในการบริหารของหน่วยงานทั้งสองเป็น คนละคนระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในแต่ละหน่วยก็แยกต่างหากจากกัน เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามิได้มีการ ดำเนินงานเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างพนักงานแสดงว่า จำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจจำเลยหาต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่ารถเป็นค่าเดินทาง ไม่ใช่ค่าจ้าง: ไม่นำมาคำนวณค่าชดเชยได้
เงินค่ารถที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเฉพาะวันมาทำงานเท่านั้นเป็นเงินที่จ่ายทดแทนในการเดินทางที่ลูกจ้างได้จ่ายมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงมิใช่เป็นค่าจ้างจะนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนเงินช่วยเหลือการศึกษาที่ไม่ถูกต้อง และการหักเงินเดือนชดใช้ ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
โจทก์เป็นพนักงานธนาคารออมสิน จำเลยได้เบิกเงินค่าเล่าเรียนจากจำเลยไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกคืนได้ตามระเบียบวิธีปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรและการยืมเงินทดรองสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยที่จ่ายให้โจทก์ไปโดยไม่ถูกต้องดังกล่าวคืนนั้นไม่ใช่สิทธิเรียกร้องที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344 จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนโจทก์เพื่อชดใช้เงินซึ่งโจทก์เบิกไปโดยมิชอบได้ไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถาบันวิจัยฯ ไม่แสวงหากำไร ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย – วัตถุประสงค์หลักคือการวิจัยและบริการเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการริเริ่ม วิจัยสนับสนุน ฝึกอบรมและให้บริการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้ในการให้บริการจะเรียกเก็บเงินจากผู้ขอบริการบ้างก็ตามแต่ก็เป็นเพียงค่าใช้จ่ายซึ่งสถาบันฯ ได้ออกไปจริงกับผู้ขอบริการ และบางกรณีถ้าผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สถาบันฯ ก็อาจไม่คิดค่าบริการได้ ดังนี้ไม่ถือว่ากิจการของจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ
of 5