คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม เฟื่องฟุ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องมีข้อตกลงในสัญญาเช่าหรือได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าหากไม่มีโอนสิทธิที่ถูกต้อง
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องการโอนการเช่าไว้ในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่มีอำนาจทำสัญญาตกลงให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าตกเป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับโอนสิทธิการเช่าและไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิการเช่าไม่สามารถโอนได้โดยอัตโนมัติ แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1เช่าที่ดินของ ม.มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม.เจ้าของที่ดินตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1ไม่ไถ่คืน อาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของจำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนไปยังโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ดินหรือค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเทศบาล: นายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องแทนโดยไม่ต้องขออนุมัติ
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39กำหนดให้เทศบาลตำบลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 การฟ้องคดีเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องจดทะเบียน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและการอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ราคารถยนต์ตามฟ้องกับค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า หลังจากมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยติดต่อขอสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อนำไปดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ โจทก์ไม่ยอมให้ อ้างว่าต้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน เมื่อถึงกำหนดต่อทะเบียน จำเลยจึงไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทได้ ทำให้จำเลยประสบความยุ่งยากในการใช้รถยนต์ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมส่งมอบคู่มือการจดทะเบีนรถยนต์ให้จำเลยเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่โจทก์ทำการฉ้อฉลให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวนี้ไม่มีข้ออ้างใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์หลอกลวงหรือปิดบังข้อเท็จจริงใดเพื่อให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ อันเป็นเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 138 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาจึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามนัยของมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องมีเหตุฉ้อฉลที่ชัดเจน หากไม่มีเหตุ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาตามยอมที่คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์นั้นต้องเป็นไปตามป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง เมื่อข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์จึงไม่ชอบและจำเลยไม่อาจฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาตามสัญญาดังกล่าว
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ราคารถยนต์ตามฟ้องกับค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า หลังจากมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยติดต่อขอสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อนำไปดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ โจทก์ไม่ยอมให้ อ้างว่าต้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน เมื่อถึงกำหนดต่อทะเบียนจำเลยจึงไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทได้ ทำให้จำเลยประสบความยุ่งยากในการใช้รถยนต์ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมส่งมอบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่โจทก์ทำการฉ้อฉลให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวนี้ไม่มีข้ออ้างใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์หลอกลวงหรือปิดบังข้อเท็จจริงใดเพื่อให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ อันเป็นเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 138 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาจึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามนัยของมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้ยังไม่มีคำพิพากษา ศาลฎีกาชี้เพียงรู้ว่าเจ้าหนี้จะฟ้องก็ถือเป็นความผิดได้
ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350มิได้ถือเอาคำพิพากษาของศาลให้รับผิดในทางแพ่งเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา องค์ประกอบความผิดทางอาญาของมาตรานี้อยู่ที่ว่าผู้กระทำเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ได้ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ก็เป็นความผิดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์เจ้าหนี้ลูกหนี้เกิดทันทีที่ละเมิด, ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
สภาพการเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างผู้ถูกละเมิดคือโจทก์และผู้ต้องรับผิดจากมูลละเมิดคือจำเลย เกิดขึ้นทันทีที่มีการละเมิดขึ้น คำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กันมิได้เป็นการก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย แต่เป็นการบังคับตามความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์กับจำเลยได้มีต่อกันจึงถือว่าจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์นับแต่ขณะที่ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนท้าย รถยนต์สามล้อที่สามีโจทก์ขับขี่ เป็นเหตุให้สามีโจทก์ถึงแก่ความตายและความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 ก็มิได้ถือเอาคำพิพากษาของศาลให้รับผิดทางแพ่งมาเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญา โดยเพียงแต่รู้ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้วกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวก็ถือว่าเป็นความผิดแล้ว.
of 88