พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความรุนแรงบาดแผลและเจตนาของผู้กระทำ
จำเลยฟันโจทก์ร่วม 2 ที โดยใช้มีดพร้าที่มีใบมีดยาวประมาณ 1 ศอก และด้ามยาวแขนเศษ แต่จำเลยฟันโดยโจทก์ร่วมมิได้ป้องกันหรือขัดขวางแต่อย่างใดเป็นโอกาสที่จำเลยจะเลือกฟันตามถนัด แม้บาดแผลที่เกิดขึ้นจะยาวหลายเซนติเมตร แต่เป็นการเกิดขึ้นจากความยาวของคมมีดพร้า บาดแผลที่บริเวณหูขวาและที่หน้าผากเหนือคิ้วซ้ายลึก 1/4 และ 1/2 เซนติเมตรตามลำดับสามารถรักษาให้หายภายใน 7 วัน แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ฟันโจทก์ร่วมอย่างรุนแรง พฤติการณ์เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาเรื่องบันดาลโทสะและเจตนาในการกระทำความผิด
จำเลยฟันโจทก์ร่วมอ้างว่าบันดาลโทสะเพราะโจทก์ร่วมกล่าวหาว่าลักมะพร้าว และด่าว่าจำเลย แต่จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ร่วมด่าว่าอย่างไรอันจะเป็นถ้อยคำรุนแรงจนเป็นเหตุให้ถึงกับบันดาลโทสะและจำเลยอ้างว่าที่ใช้มีดฟันโจทก์ร่วมเพราะโจทก์ร่วมจะทำร้ายจำเลยมิใช่จำเลยฟันโจทก์ร่วมเพราะบันดาลโทสะ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เพราะบันดาลโทสะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583-584/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินเป็นของเจ้ามรดกจริงหรือไม่ การยกทรัพย์ก่อนเสียชีวิตมีผลต่อพินัยกรรม
การที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้ใด โดยอ้างว่า เป็นทรัพย์ของเจ้ามรดกนั้น มิใช่จะถือว่าทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรม เป็นของเจ้ามรดกเสมอไป ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็น ทรัพย์ของเจ้ามรดกหรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าเจ้ามรดกได้ยกทรัพย์ บางส่วนให้จำเลยทั้งสองก่อนตาย ทรัพย์ส่วนที่ยกให้ย่อมไม่เป็น ของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: จำเลยยิงผู้ตายเพื่อป้องกันภัยจากการถูกทำร้ายจากทั้งผู้ตายและบิดา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและฆ่าเด็กชายป.โดยเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำคุก 2 ปีริบของกลางคำขอนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องคืนของกลางแก่เจ้าของ ดังนี้ ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ในส่วนที่เด็กชาย ป. ถูกฆ่า โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาเด็กชายป. เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในฐานะผู้เข้าจัดการแทนเด็กชายป. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ต่อมาโจทก์ร่วมตายลง ว.พี่ชายเด็กชายป.ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ร่วมหามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายตามมาตรา 29 ไม่เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทนเด็กชายป.ซึ่งเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฆ่าเด็กชายป. โจทก์ร่วมมีอาวุธเหล็กแหลมเดินเข้าไปหาจำเลย จำเลยเดินถอยหลังเมื่อโจทก์ร่วมเข้าไปหาห่างประมาณ 5-6 เมตร จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้า1 นัด และยิงลงที่พื้นอีก 1 นัด เด็กชายป. ผู้ตายถือไม้ขนาดเท่าแขนวิ่งเข้าไปจะตีจำเลย เหตุเกิดในเวลากลางคืน ภยันตรายที่ละเมิดต่อกฎหมายใกล้จะเกิดกับจำเลยทั้งสองด้าน ในขณะนั้นจำเลยตัวคนเดียวในเวลาที่คับขันไม่อาจคาดหมายได้ว่าภยันตรายจะเกิดขึ้นกับตนนั้นมีมากน้อยเพียงใด จำเลยใช้อาวุธปืนที่อยู่ในมือยิงไปทางเด็กชาย ป. ซึ่งเป็นผู้ที่จะทำให้เกิดภยันตรายต่อจำเลยที่ใกล้ชิดที่สุดก่อนเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีโอกาสเลือกที่จะป้องกันโดยวิธีอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อยึดรถขายทอดตลาด ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาด
สัญญาเช่าซื้อระบุว่าเมื่อผู้ให้เช่าซื้อยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อ คืนมาและนำออกขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิด จนครบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคา ไม่ครบถ้วน จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาด อันเป็นค่าเสียหาย ส่วนหนึ่งซึ่งเกิดจากการผิดสัญญา จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมต้องร่วมรับผิดด้วย สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันมิได้กำหนดว่ากรณีโจทก์จะขายรถยนต์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์จะต้องบอกกล่าวผู้เช่าซื้อ หรือผู้ค้ำประกันก่อน ทั้งไม่มีกฎหมายระบุให้โจทก์จะต้องทำเช่นนั้น แต่กลับมีข้อสัญญาระบุว่าโจทก์สามารถขายได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ซึ่งซึ่งไม่เป็นข้อที่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวก่อนขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โรงแรมรับผิดชอบรถหาย แม้ผู้พักไม่ได้แจ้งล่วงหน้า เพราะถือเป็นการพาทรัพย์สินเข้าโรงแรม
รถยนต์ไม่ใช่ของมีค่าพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675 วรรคสอง แขกผู้มาพักจึงไม่ต้องแจ้งให้เจ้าสำนักโรงแรมทราบว่านำรถยนต์เข้าจอดในโรงแรมวันเวลาใด การที่แขกผู้มาพักนำรถยนต์มาจอดไว้ ณ ที่จอดรถของโรงแรม ถือได้ว่าเป็นการพาทรัพย์สินมาที่โรงแรมแล้ว เมื่อรถยนต์สูญหายไปเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดตามมาตรา 674
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ กรณีราคาซื้อขายสินค้าไม่มีราคาตลาดเปรียบเทียบ และเจ้าพนักงานประเมินใช้วิธีการคำนวณราคาที่ไม่ถูกต้อง
ของที่โจทก์ขายคือตะกรันซึ่งมีสารแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์เจือปนอยู่ และของชนิดนี้ไม่เคยมีใครทำการซื้อขายกันมาก่อนคงมีแต่โจทก์เป็นผู้ขายรายเดียว ในการกำหนดราคาขายของดังกล่าวนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏในสัญญาซื้อขายซึ่งจำเลยอ้างว่าราคาที่กำหนดตามเงื่อนไขในเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และผู้ซื้อเป็นบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าบริษัทผู้ซื้อสินค้าจากบริษัทโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ ดังนั้นข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์กำหนดราคาตามสัญญาซื้อขายต่ำตามที่อ้างข้างต้นจึงฟังไม่ได้ จึงนำเหตุนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าราคาที่โจทก์ขายนั้น ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (4) ไม่ได้ และของที่โจทก์ขายนั้นไม่มีการซื้อขายกันมาก่อนทั้งไม่มีผู้ขายรายอื่นได้ทำการขายของตามที่โจทก์ขาย กรณีจึงไม่มีราคาของที่มีการขายจริงที่จำเลยจะนำมาพิจารณาเพื่อให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ส่วนที่จำเลยคิดคำนวณราคาของที่โจทก์ขายโดยยึดถือเอาราคาจากตารางราคาในหนังสือเมตัลบุลเลทิน ข่าวเหล็กกล้า และโลหะของโลก อันเป็นราคาต่างประเทศที่ตลาดลอนดอน นั้น ราคาที่กำหนดในหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการคำนวณราคาปริมาณเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกันกับของที่โจทก์ขาย จำเลยจะใช้วิธีการคำนวณโดยหักค่ากรรมวิธีที่จะให้ได้เปอร์เซ็นต์ของแร่ดังกล่าวเท่ากันและหักค่าขนส่ง ค่าประกันภัยแล้วมาคิดเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งไปขายนั้น กรรมวิธีในการผลิตที่จะเปลี่ยนสภาพเปอร์เซ็นต์ของเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ให้ได้เปอร์เซ็นต์ตามที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสามารถทำได้ในประเทศไทยในขณะที่เกิดกรณีพิพาทจึงไม่อาจจะทราบได้เลยว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตดังกล่าวนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด การที่จำเลยนำเอาค่ากรรมวิธีในการผลิตมาหาราคาเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งออกจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานของจำเลยกำหนดขึ้นมาเองโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจะมีความรู้ความสามารถหรือเข้าใจกรรมวิธีในการผลิตว่าจะต้องมีวิธีการที่ซับซ้อนเพียงใด ต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องใช้เทคนิค สูงเพียงใด แล้วเจ้าพนักงานของจำเลยจะรู้ได้อย่างไรว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตนั้นจะเป็นเท่าใด อันจะทำให้สามารถ หาราคาที่เทียบเคียงกันได้ ทั้งราคาที่จะนำมาคำนวณเทียบเคียงตามหนังสือดังกล่าวก็มิใช่ราคาในประเทศไทยที่โจทก์ส่งออกแต่เป็นราคาที่กำหนดซื้อขายกันในตลาดโลกที่ตลาดลอนดอนประเทศอังกฤษ หลักเกณฑ์ที่จำเลยนำมาเพื่อหาราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไปจึงนำมาใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้ เพราะมิใช่ราคาของชนิดเดียวกัน ณ ที่ส่งของออก จึงไม่มีกรณี ที่ทำให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ตกลงซื้อขายไปนั้นมิใช่ราคาตลาด และในการที่โจทก์ขายของชนิดนี้ โดยการส่งไปขายนอกราชอาณาจักรนั้น เจ้าพนักงานผู้ตรวจปล่อยสินค้าก็ไม่ได้แจ้งว่าราคาว่าต่ำไปแต่ประการใด ทั้งในการกำหนดราคาขายของโจทก์เพื่อเปรียบเทียบกับราคาของที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศสำหรับเสียค่าภาคหลวง ราคาที่โจทก์ขายก็สูงกว่าราคาตลาดตามประกาศของทรัพยากรธรณีหลายเท่า เชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นเป็นราคาในท้องตลาดมิใช่ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ส่วนราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้นนั้นไม่อาจฟังได้ว่าเป็นราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาขายสินค้าที่ไม่มีราคาตลาด: ตะกรันที่มีสารเจือปน และการเทียบเคียงราคาต่างประเทศ
ของที่โจทก์ขายคือตะกรัน ซึ่งมีสารแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์เจือปนอยู่ และของชนิดนี้ไม่เคยมีใครทำการซื้อขายกันมาก่อน คงมีแต่โจทก์เป็นผู้ขายรายเดียว ในการกำหนดราคาขายของดังกล่าวนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฏในสัญญาซื้อขาย ซึ่งจำเลยอ้างว่าราคาที่กำหนดตามเงื่อนไขในเอกสารดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และผู้ซื้อเป็นบริษัทที่ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า บริษัทผู้ซื้อสินค้าจากบริษัทโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ ดังนั้นข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์กำหนดราคาตามสัญญาซื้อขายต่ำตามที่อ้างข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้ จึงนำเหตุนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าราคาที่โจทก์ขายนั้น ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามที่บัญญัติไว้ในป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) ไม่ได้ และของที่โจทก์ขายนั้นไม่มีการซื้อขายกันมาก่อนทั้งไม่มีผู้ขายรายอื่นได้ทำการขายของตามที่โจทก์ขาย กรณีจึงไม่มีราคาของที่มีการขายจริงที่จำเลยจะนำมาพิจารณาเพื่อให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ส่วนที่จำเลยคิดคำนวณราคาของที่โจทก์ขายโดยยึดถือเอาราคาจากตารางราคาในหนังสือ เมตัลบุลเลทิน ข่าวเหล็กกล้าและโลหะของโลก อันเป็นราคาต่างประเทศที่ตลาดลอนดอน นั้น ราคาที่กำหนดในหนังสือดังกล่าวนั้นเป็นการคำนวณราคาปริมาณเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ในเปอร์เซ็นต์ที่แตกต่างกันกับของที่โจทก์ขาย จำเลยจะใช้วิธีการคำนวณโดยหักค่ากรรมวิธีที่จะให้ได้เปอร์เซนต์ของแร่ดังกล่าวเท่ากันและหักค่าขนส่ง ค่าประกันภัยแล้วมาคิดเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งไปขายนั้น กรรมวิธีในการผลิตที่จะเปลี่ยนสภาพเปอร์เซ็นต์ของเนื้อแทนทาลัมเพนต๊อกไซด์ ให้ได้เปอร์เซ็นต์ตามที่ปรากฏในหนังสือดังกล่าวนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสามารถทำได้ในประเทศไทยในขณะที่เกิดกรณีพิพาท จึงไม่อาจจะทราบได้เลยว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตดังกล่าวนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าใด การที่จำเลยนำเอาค่ากรรมวิธีในการผลิตมาหาราคาเทียบเคียงกับของที่โจทก์ส่งออกจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานของจำเลยกำหนดขึ้นมาเอง โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจะมีความรู้ความสามารถหรือเข้าใจกรรมวิธีในการผลิตว่าจะต้องมีวิธีการที่ซับซ้อนเพียงใด ต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ต้องใช้เทคนิคสูงเพียงใด แล้วเจ้าพนักงานของจำเลยจะรู้ได้อย่างไรว่า ค่ากรรมวิธีในการผลิตนั้นจะเป็นเท่าใด อันจะทำให้สามารถหาราคาที่เทียบเคียงกันได้ ทั้งราคาที่จะนำมาคำนวณเทียบเคียงตามหนังสือดังกล่าวก็มิใช่ราคาในประเทศไทยที่โจทก์ส่งของออก แต่เป็นราคาที่กำหนดซื้อขายกันในตลาดโลกที่ตลาดลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลักเกณฑ์ที่จำเลยนำมาเพื่อหาราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไปจึงนำมาใช้กับกรณีของโจทก์ไม่ได้ เพราะมิใช่ราคาของชนิดเดียวกัน ณ ที่ส่งของออก จึงไม่มีกรณีที่ทำให้เห็นว่าราคาที่โจทก์ตกลงซื้อขายไปนั้นมิใช่ราคาตลาด และในการที่โจทก์ขายของชนิดนี้ โดยการส่งไปขายนอกราชอาณาจักรนั้น เจ้าพนักงานผู้ตรวจปล่อยสินค้าก็ไม่ได้แจ้งว่าราคาว่าต่ำไปแต่ประการใด ทั้งในการกำหนดราคาขายของโจทก์เพื่อเปรียบเทียบกับราคาของที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศสำหรับเสียค่าภาคหลวง ราคาที่โจทก์ขายก็สูงกว่าราคาตลาดตามประกาศของทรัพยากรธรณีตหลายเท่า เชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์ขายนั้นเป็นราคาในท้องตลาดมิใช่ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ส่วนราคาที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้นนั้นไม่อาจฟังได้ว่าเป็นราคาตลาดของของที่โจทก์ขายไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกพิจารณาฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ฟ้องเดิมเรื่องยักยอกทรัพย์ ฟ้องแย้งเรื่องค่าจ้าง
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยักยอกไป ส่วนจำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ขู่บังคับให้จำเลยลาออกโดยมิชอบ ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ดังนั้น ฟ้องเดิมเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานและฟ้องแย้งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ว่าทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อาจรวมฟ้องคดีแรงงานได้ หากฟ้องเดิมและฟ้องแย้งมีมูลเหตุข้อเท็จจริงและประเด็นที่แตกต่างกัน
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลย (ลูกจ้าง) คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยักยอกไป ฟ้องแย้งเป็นเรื่องขอให้บังคับโจทก์(นายจ้าง) จ่ายค่าจ้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยอ้างว่าโจทก์ขู่บังคับให้จำเลยลาออกโดยมิชอบ แม้ว่าทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้