คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม เฟื่องฟุ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อาจรวมฟ้องคดีแรงงานได้ หากฟ้องเดิมและฟ้องแย้งมีมูลเหตุข้อเท็จจริงและประเด็นที่แตกต่างกัน
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลย (ลูกจ้าง) คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยักยอกไป ฟ้องแย้งเป็นเรื่องขอให้บังคับโจทก์(นายจ้าง) จ่ายค่าจ้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยอ้างว่าโจทก์ขู่บังคับให้จำเลยลาออกโดยมิชอบ แม้ว่าทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งคดีแรงงานต้องไม่เป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม แม้เป็นคดีแรงงานเดียวกัน
ฟ้องเดิมเป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลย (ลูกจ้าง)คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยักยอกไป ฟ้องแย้งเป็นเรื่องขอให้บังคับโจทก์ (นายจ้าง) จ่ายค่าจ้าง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย อ้างว่าโจทก์ขู่บังคับให้จำเลยลาออกโดยมิชอบ แม้ว่าทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์คันหลัง การรักษาระยะห่าง และเหตุสุดวิสัยในกรณีรถชนท้าย
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ประมาทปาดหน้ารถยนต์ของโจทก์โดยกะทันหันคนขับรถยนต์ของโจทก์ได้ระมัดระวังและหยุดรถยนต์ทันทีเพื่อป้องกันมิให้ชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 3 ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์ของโจทก์มา ถ้าระมัดระวังเช่นเดียวกับคนขับรถยนต์ของโจทก์ก็จะหยุดรถได้ทันและไม่เกิดเหตุขึ้น แต่จำเลยที่ 3 ไม่ใช้ความระมัดระวัง ทำให้หยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ เช่นนี้ต้องฟังว่าเป็นความประมาทของจำเลยที่ 3 ด้วย ทั้งนี้เพราะผู้ขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์คันอื่นต้องระมัดระวังไม่ขับรถให้เร็วหรือกระชั้นชิดกับรถยนต์คันหน้าเกินไป การขับรถเร็วและกระชั้นชิดคันหน้าเกินไป เมื่อรถยนต์คันหน้าเกิดเหตุขึ้น ทำให้คนขับรถยนต์คันหลังหยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์คันหน้า เช่นนี้ มิใช่เหตุสุดวิสัย เพราะคนขับรถยนต์คันหลังมีโอกาสระมัดระวังมิให้เกิดเหตุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้ขับขี่คันหลัง: หน้าที่ในการระมัดระวังและรักษาระยะห่างจากรถคันหน้า
จำเลยที่ 1 ขับรถประมาทตัดหน้ารถยนต์ของโจทก์โดยกะทันหัน ผู้ขับรถยนต์ของโจทก์ได้ระมัดระวังและหยุดรถยนต์ทันทีเพื่อป้องกันมิให้ชนกับรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ แต่จำเลยที่ 3ซึ่งขับรถยนต์ตามหลังรถยนต์ของโจทก์มา ไม่ใช้ความระมัดระวังทำให้หยุดรถไม่ทันและชนท้ายรถยนต์ ของโจทก์แล้วดันรถยนต์ของโจทก์ไปชนรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับ จึงเป็นความประมาทของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายและการลักทรัพย์: การประเมินเจตนาและพยานหลักฐานในการพิพากษา
พวกจำเลยล้อมรถขายไอศกรีม ของผู้เสียหายไว้ จำเลยที่ 3 เข้าต่อรองราคา แม้จะเป็นราคาที่อาจรู้ว่าผู้เสียหาย ไม่ตกลงด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อผู้เสียหาย การล้อมรถโดยไม่ปรากฏว่ามีท่าทางว่า จะเข้ามาทำร้ายผู้เสียหาย เพียงแต่ยืนจับกลุ่มกันอยู่ก่อน ไม่ถือว่าเป็นการใช้พวกเข้าขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ผู้เสียหายยอมจะให้ทรัพย์แก่พวกจำเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ จำเลยที่ 3 เจ้ามาขอซื้อไอศกรีม 7-8 แท่ง ในราคา 1 บาท จนผู้เสียหายไม่พอใจและชักอาวุธออกมา จำเลยทั้งสาม จึงกลุ้มรุมทำร้ายผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายชักอาวุธออกมา มิใช่เพราะเจตนาจะทำร้ายผู้เสียหายเพื่อประสงค์ต่อไอศกรีม ของผู้เสียหายแต่แรก ทั้งยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 หยิบเอาไอศกรีม ไปแจกจ่ายพวกจำเลย ประกอบกับ หลังจากนั้น โจทก์ไม่มีพยานยืนยันว่าจำเลยทั้งสามร่วมกัน ลักเอาไอศกรีม ดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่เป็นความผิดทำร้ายร่างกาย ผลการชันสูตรบาดแผลของแพทย์มีความเห็นว่ามีรอยบวมเล็กน้อยที่ขมับด้านซ้าย บาดแผลรักษาหายภายใน3 วัน เป็นความเป็นผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทมาตราโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ส่งผลต่อโทษจำคุก ทำให้จำเลยไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 จำคุก4 ปี และริบของกลาง ศาลอุทธรณ์แก้ เฉพาะบทกฎหมายที่ลงโทษจำเลยเป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. 288,80 ส่วนโทษจำคุกยังคงเท่ากับที่ศาลชั้นต้นกำหนดดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่มีอนุมัติจากผู้ว่าฯ ก็ไม่ออกได้
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย นอกจากจะเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ(3) แล้ว ยังต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดด้วย ซึ่งระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 4การขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย โดยมิได้แจ้งการครอบครอง กำหนดไว้ในข้อ 9 ว่า "การออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองและการทำประโยชน์ ในที่ดินเฉพาะรายโดยมิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ต้องอยู่ใน หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้...(2) ความจำเป็นในกรณีที่ จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้คือ...(ค) ในกรณีที่มี ความจำเป็นอย่างอื่น แต่ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นการเฉพาะราย"ที่ดินพิพาทโจทก์เข้าจับจองครอบครองหลังจากที่ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว จึงเป็นที่ดินที่ไม่อาจจะแจ้ง การครอบครองได้ตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497ถึงแม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 58 ทวิ(3) ก็ตาม เมื่อได้ความว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือให้ โจทก์ออกจากที่พิพาท แสดงให้เห็นว่าไม่มีการอนุมัติให้ออกหนังสือ รับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายสำหรับที่ดินพิพาท ดังนั้น ที่ดินพิพาท จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนด ไว้ในวันที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ต้องได้รับอนุมัติผู้ว่าฯ ตามระเบียบ
โจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเนื้อที่ 12 ไร่เศษ หลังจากที่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้วจึงเป็นที่ดินที่ไม่อาจจะแจ้งการครอบครองได้ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ถึงแม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ(3) ก็ตามแต่ก็ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดตามที่ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2515) หมวด 4ข้อ 9(2)(ค) กำหนดไว้ด้วย จึงจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีหนังสือให้โจทก์ออกจากที่พิพาทอันเป็นข้อแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการอนุมัติให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายสำหรับที่ดินที่พิพาทแล้วที่ดินที่พิพาทจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดไว้ในอันที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะราย ต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ รวมถึงต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าฯ
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายนอกจากจะต้องเข้า หลักเกณฑ์ตามที่ ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และมาตรา 59 แล้วยังจะต้องเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าจับจองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากประกาศใช้ ป.ที่ดินพ.ศ. 2497 แม้จะอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะรายได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 58 ทวิ (2) แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ยังไม่ได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น การเฉพาะรายตามระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2525) ข้อ 9ที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออก หนังสือรับรองประโยชน์ให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านขอถอนผู้จัดการมรดกไม่ได้
ผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทเสร็จสิ้นแล้วผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมจะต้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727
of 88