พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งประเด็นคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าข้ออ้างของผู้คัดค้านไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านฎีกาโดยมิได้กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบอย่างไร คงกล่าวมาในฎีกาเพียงว่า ทรัพย์ที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ตายนั้น ผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องร้องขอมา ผู้คัดค้านก็มิได้ฎีกาว่าปัญหาที่ยกขึ้นมานั้นจะเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีหรือไม่ อย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกบัญญัติไว้ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ศาลให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว โดยมีเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองทายาทรายอื่น
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเป็นทายาทและ ไม่ขาดคุณสมบัติในการที่จะเป็นผู้จัดการมรดกแต่หากให้เป็นผู้จัดการมรดกทั้งสองฝ่ายแล้วคนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้ ข้อขัดข้องในการจัดการมรดก ก็คงมีอยู่ต่อไปและไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ปรากฏว่า เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน และเป็นทายาท ที่เป็นผู้เยาว์ถึง 3 คน ที่ผู้ร้องเป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครอง ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิด มากกว่าผู้คัดค้านผู้ร้องจึงน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาท ส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทคนเดียว ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดก แต่กำหนดเงื่อนไข ว่า ถ้าจะจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกทางทะเบียน ให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความ เห็นชอบจากทายาททุกคนแล้ว ผู้ร้อง จะต้องขออนุญาตศาลก่อนเป็นกรณีไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน หากขัดแย้งกัน ศาลอาจแต่งตั้งผู้จัดการคนเดียวเพื่อประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่
การจัดการมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท อำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคน การจัดการจะต้องดำเนินการร่วมกันเพราะกรณีไม่อาจจะหาเสียงข้างมากได้ ถ้าเกิดเป็นสองฝ่ายแล้ว คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้ การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็จะไม่มีผล ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไป ไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ทั้งยังมีข้อโต้แย้งว่าทรัพย์ที่ปรากฏในคำร้องนั้นเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่การที่จะให้จัดการร่วมกันจึงมีข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านไม่อาจที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความลัมพันธ์ กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้านทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่นเป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวเมื่อมีข้อขัดแย้งและผลประโยชน์ทับซ้อน
การจัดการมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท อำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคน การจัดการจะต้องดำเนินการร่วมกันเพราะกรณีไม่อาจจะหาเสียงข้างมากได้ ถ้าเกิดเป็นสองฝ่ายแล้ว คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็จะไม่มีผล ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไป ไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ทั้งยังมีข้อโต้แย้งว่า ทรัพย์ที่ปรากฏในคำร้องนั้นเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ การที่จะให้จัดการร่วมกันจึงมีข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านไม่อาจที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์ 3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวแต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์ 3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวแต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้มีอำนาจจัดการเมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างทายาทและผู้จัดการมรดก
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ตามที่แสดงไว้นั้นผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วย ศาลฎีกาจึงกำหนดเงื่อนไขในการตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้ด้วยว่า ในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลที่มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคน จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกและการขาดอายุความฟ้องร้องแบ่งมรดก
การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย กรณีจะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่นหรือครอบครองไว้เพื่อตนเองย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแต่ละคดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแต่จำเลยเป็นผู้ครอบครองซึ่งเป็นการครอบครองไว้เพื่อ ตนเอง มิได้ครอบครองไว้แทนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทด้วย โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ จ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น ศาลตัดสินว่าฟ้องเกินอายุความ
การครอบครองทรัพย์มรดกจะเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยหรือไม่ ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแต่ละคดีว่า พฤติการณ์ใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดก แทนทายาทอื่นหรือครอบครองเพื่อตนเอง เพราะไม่มีกฎหมาย สนับสนุนว่าใครครอบครองทรัพย์มรดกแล้วถือว่าครอบครองแทนทายาท อื่น เมื่อเจ้ามรดกตายตั้งแต่ปี 2525 โจทก์มาฟ้องเมื่อปี 2530 เกิน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข, รถหาย, ความรับผิดของผู้ซื้อและผู้ค้ำประกัน, ราคารถที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ 1 คัน สัญญาดังกล่าวข้อ 3 ระบุว่า "กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อชำระราคาตามเงื่อนไขครบถ้วน" และ ข้อ 6 ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด จำนวนใดตามที่มีหน้าที่ต้องชำระโดยสัญญาฉบับนี้ และหรือสัญญาฉบับอื่นใดที่ผู้ซื้อได้ทำไว้แก่ผู้ขาย ก็ดี...ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่ในขณะนั้นเสียโดยครบถ้วนโดยพลัน ก็ได้..." ซึ่งสาระสำคัญของข้อความแตกต่างกับข้อความในบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อ จึงมีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ เมื่อปรากฏว่ารถยนต์ที่ซื้อขายได้สูญหายไปเพราะถูกคนร้ายลัก แม้จะไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ส. พยานโจทก์เบิกความตอบ คำถามค้านว่า รถยนต์คันพิพาทราคาเงินสดจำนวนเท่าใดจำไม่ได้และจำเลยที่ 1 เบิกความยืนยันว่าก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ตกลงว่า ถ้า ซื้อรถยนต์ด้วยราคาเงินสดจะเป็นจำนวน 163,000 บาท และเมื่อสัญญาซื้อขายก็ไม่ได้ระบุว่า หากรถยนต์สูญหายจำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ราคารถยนต์จำนวนเท่าใด ราคารถยนต์ ในสัญญาที่ระบุจำนวน 199,000 บาท ไม่ใช่ราคารถยนต์ที่แท้จริง ต้องถือราคารถยนต์จำนวน 163,000 บาท เป็นราคาที่นำมาเป็น ฐานที่ตั้งของการคำนวณค่าเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกับสัญญาเช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของตัวแทน
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โดยมีข้อตกลงว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคา ตามเงื่อนไขครบถ้วนและในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด ผู้ขายมีสิทธิที่จะเรียก ให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่โดยพลัน ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และ มาตรา 574 ในสาระสำคัญ จึงเป็น สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าซื้อตามที่จำเลยอ้าง โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม.มีอำนาจจดทะเบียนและโอนทะเบียนรถยนต์ไปยังผู้ซื้อแทนโจทก์ได้ ม.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายแทนโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อรถยนต์สูญหาย
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ ข้อ 3 ระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคาตามเงื่อนไขครบถ้วน ข้อ 6 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด จำนวนใด ผู้ขายย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่ในขณะนั้นเสียโดยครบถ้วนโดยพลันก็ได้นั้นมีสาระสำคัญแตกต่างกับสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572,574 จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เมื่อในระหว่างที่ยังชำระเงินค่างวดอยู่รถยนต์ที่ซื้อขายได้สูญหายไปเพราะถูกคนร้ายลัก แม้จะไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันสัญญาดังกล่าวต้องร่วมรับผิดด้วย