คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม เฟื่องฟุ้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย ต้องพิจารณาความร้ายแรงและข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันนั้นได้ระบุเกี่ยวกับการพิจารณาลงโทษ ว่าอาจจะเป็นการว่ากล่าวด้วยวาจา ตักเตือนเป็นหนังสือ ตัดค่าจ้าง ลดค่าจ้าง ให้พักงาน หรือให้ออกจากงานตามที่เห็นสมควรแสดงว่า ผู้ร้องมิได้กำหนดว่ากรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันเป็นกรณีร้ายแรงสถานเดียวจึงได้วางบทลงโทษเป็นลำดับขั้น ดังกล่าวตามที่เห็นสมควร เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองทะเลาะวิวาท ทำร้ายกับเพื่อนร่วมงาน โดยไม่ปรากฏว่าได้ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ร้องแต่อย่างใด แม้จะผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของ ผู้ร้องก็มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขั้นที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน ทั้งสองได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทะเลาะวิวาท: ข้อบังคับบริษัทต้องระบุความร้ายแรงชัดเจน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างมิได้กำหนดว่ากรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันเป็นกรณีร้ายแรงสถานเดียว การที่กรรมการลูกจ้างทั้งสองทะเลาะวิวาททำร้ายกับเพื่อนร่วมงานที่บริเวณหน้าห้องน้ำ และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง แม้จะผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างก็มิใช่กรณีร้ายแรงถึงขั้นที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างและผู้ค้ำประกันจากลูกจ้างประมาทเลินเล่อ และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 426 และจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ตามสัญญาค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้าง/ผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง: อายุความ 10 ปี
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามป.พ.พ. มาตรา 425 เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้วโจทก์ชอบที่จะได้รับการชดใช้จากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 426 และจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตาม มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องอาศัยเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากการกระทำไม่เข้าข่ายเหตุร้ายแรงที่กำหนดไว้ แม้จะผิดระเบียบวินัย ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดกรณีที่ถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรงที่จะลงโทษถึงเลิกจ้างได้โดยกำหนดไว้รวม 10 ประการแต่การที่กรรมการลูกจ้างพูดจาส่อเสียด พนักงานด้วยกันไม่อยู่ใน 10 ประการที่นายจ้างกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงนายจ้างย่อมไม่อาจอ้างมาเป็นเหตุเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานบุคคลและการพิจารณาพฤติการณ์ก่อนลงมือ
เหตุเกิดเวลากลางวัน ก่อนเกิดเหตุ เด็กชาย ส. อายุ13 ปีพบกับจำเลยกับพวก จำเลยถาม หาไร่ของผู้ตายและให้เด็กชาย ส.ไปตามผู้ตายมาพบ เมื่อผู้ตายกับโจทก์ร่วมมาพบจำเลยได้พูดคุยกันนานประมาณ 10 นาที จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การที่คนร้ายนั่งพูดคุยกับผู้ตายนานถึง 10 นาที จึงใช้อาวุธปืนยิงนั้น ไม่ใช่เป็นข้อพิรุธ เพราะคนร้ายจะยิงผู้ตายเมื่อไรก็เป็นการเลือกหาโอกาสของคนร้ายเอง มิใช่ว่าเมื่อคนร้ายพบผู้ตายที่คนร้ายประสงค์จะฆ่าแล้วจะต้องลงมือฆ่าในทันที พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การซื้อรถยนต์ที่ได้จากการปล้นในราคาต่ำกว่าตลาด ชี้ความไม่สุจริต
การที่จำเลยที่ 4 อ้างว่าเช่าซื้อรถยนต์ต่อจากผู้เช่าซื้อเดิม โดยชำระเงินดาวน์ ให้ จ. ทันที เป็นเงินถึง 20,000 บาททั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนเช่าซื้อและใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงทั้งยังไม่ทราบว่าคู่สัญญาเดิม จะยอมให้จำเลยที่ 4 เข้าเป็นผู้เช่าซื้อแทนหรือไม่ เป็นการผิดปกติวิสัยที่คนทั่วไปจะทำกัน ไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้ นอกจากนั้นในชั้นสอบสวน จำเลยที่ 4 ก็ให้การว่าเป็นการซื้อขายไม่ใช่เช่าซื้อ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4ซื้อรถยนต์ของผู้เสียหายจากจำเลยที่ 1 ในราคาเพียง 20,000 บาท จำเลยที่ 4 รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์คันที่ถูกปล้นราคาที่แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด และรับซื้อไว้ในราคาที่ถูกกว่ากันมาก เป็นการชี้ให้เห็นว่าไม่น่าจะซื้อไว้โดยสุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักฐานการจ่ายเงินต้องชัดเจน หากไม่มีหลักฐาน เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าใช้จ่ายให้เหมาได้
ค่าใช้จ่ายที่โจทก์อ้างว่ามีการหักให้เจ้าของฟิล์มภาพยนต์ ที่ นำมาฉายนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการจัดทำหลักฐานการรับเงินไว้ บัญชีแสดงการจ่ายเงินก็ไม่มีจ่ายให้แก่ผู้ใด จำนวนเท่าใดก็ไม่ปรากฏ จึงไม่อาจนำจำนวนค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการ คำนวณภาษีที่ต้องชำระของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนด ค่าใช้จ่ายให้เป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 75 เป็นประโยชน์แก่โจทก์ มากกว่า ไม่มีข้อที่โจทก์จะอ้างได้ว่าหักค่าใช้จ่ายให้ไม่ถูกต้อง และเป็นผลร้ายแก่โจทก์ โจทก์จึงนำเหตุดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง เพื่อให้เพิกถอนการประเมินไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ แม้จะอ้างเหตุอื่นเพิ่ม ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามสำนวนในคดีก่อนและคำฟ้องโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ตรงกันว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามในคราวเดียวกัน ทั้งอ้างเหตุที่จำเลยเลิกจ้างว่าโจทก์ทั้งสามอายุครบ55 ปีบริบูรณ์อย่างเดียวกัน แต่ฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้กล่าวอ้างเหตุเพิ่มว่าโจทก์ทั้งสามยังไม่เกษียณอายุ จำเลยเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ ซึ่งปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามยอมรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามข้อ 1 ในคดีก่อนว่า ระเบียบข้อบังคับของจำเลยในการทำงานกำหนดว่าพนักงานโรงงานเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นเหตุที่จำเลยเลิกจ้างในคดีนี้ก็เพราะโจทก์ทั้งสามมีอายุครบ 55 ปีซึ่งเกษียณอายุนั่นเอง ประเด็นคดีนี้จึงประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาแล้วซึ่งมีมูลมาจากการเลิกจ้างของจำเลยในคราวเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสามคดีนี้ที่อ้างเหตุต่าง ๆ เพิ่ม ก็ไม่ทำให้มีประเด็นเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ฟ้องโจทก์ทั้งสามคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การเลิกจ้างเนื่องจากอายุครบเกษียณ แม้จะอ้างเหตุไม่เป็นธรรมก็ไม่เปลี่ยนแปลง
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามสำนวนในคดีก่อนและฟ้องโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ตรงกันว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามในคราวเดียวกันทั้งอ้างเหตุที่จำเลยเลิกจ้างว่าโจทก์ทั้งสาม อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์อย่างเดียวกัน แต่ฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้กล่าวอ้างเหตุเพิ่มว่า โจทก์ทั้งสามยังไม่เกษียณอายุ จำเลยเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามยอมรับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนว่า ระเบียบข้อบังคับของจำเลยในการทำงานกำหนดว่า พนักงานโรงงานเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นเหตุที่จำเลยเลิกจ้างในคดีนี้เมื่อโจทก์ทั้งสาม มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นการเกษียณอายุ ประเด็นคดีนี้จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่ามีมูลมาจากการเลิกจ้างของจำเลยในคราวเดียวกัน ฟ้องของโจทก์ทั้งสามคดีนี้ที่อ้างเหตุต่าง ๆ เพิ่มก็ไม่ทำให้มีประเด็นหรือเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ทั้งสามคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.
of 88