พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานกับการข่มขืนใจผู้อื่นเพื่อเอาทรัพย์: การแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านยังคงมีผลแม้มีคณะกรรมการอื่น
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงาน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ทั้งได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา 27 ของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา แม้ต่อมาทางราชการจะได้ตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยขึ้นมาอีกคณะหนึ่งก็ไม่เป็นการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามคำสั่งของนายอำเภอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานของกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน แม้มีคณะกรรมการอื่นเข้ามาดูแล
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน อันเป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายจากอุทกภัย แล้วให้ทำเรื่องผ่านคณะกรรมการตรวจสอบการจ่ายเงิน แม้ต่อมาทางราชการได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายโดยไม่มีจำเลยเป็นกรรมการด้วยก็ตาม แต่คำสั่งในภายหลังก็ไม่มีการยกเลิกเพิกถอนหน้าที่ของจำเลยตามที่นายอำเภอมีคำสั่ง จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวล-กฎหมายอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก
จำเลยฎีกาว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายหรือศาลรับฟังพยานโจทก์ที่เบิกความแตกต่างกันเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง การโต้แย้งเหตุลดโทษที่ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนนั้นจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า เหตุที่ศาลชั้นต้นเป็นเหตุลดโทษจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เป็นเหตุในลักษณะคดีโดยที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยที่ 1 เพราะให้การรับสารภาพชั้นศาล และลดโทษให้จำเลยที่ 2 เพราะรับสารภาพในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นคนละเหตุกัน การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าเป็นเหตุเดียวกันนั้น เป็นการปิดบังข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งในเนื้อหาก็คือการฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมาย ดังกล่าวเช่นกันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นและข้อเท็จจริงปิดผัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนนั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า เหตุที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นเหตุลดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุในลักษณะคดี โดยที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยที่ 1 เพราะให้การรับสารภาพชั้นศาล และลดโทษให้จำเลยที่ 2 เพราะรับสารภาพในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นคนละเหตุกัน การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าเป็นเหตุเดียวกันนั้นเป็นการปิดผันข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งในเนื้อหาก็คือการฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า เหตุที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นเป็นเหตุลดโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุในลักษณะคดี โดยที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยที่ 1 เพราะให้การรับสารภาพชั้นศาล และลดโทษให้จำเลยที่ 2 เพราะรับสารภาพในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นคนละเหตุกัน การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าเป็นเหตุเดียวกันนั้นเป็นการปิดผันข้อเท็จจริงเพื่อให้เข้าใจว่าเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งในเนื้อหาก็คือการฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า "...ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวก รวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว..." ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออก แล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1 กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ144.1 นี้เช่นกัน
เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และพ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2524 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2524ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธรับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อหุ้มตามไปรษณียนิเทศ ไม่ถือเป็นการละเมิด
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ข้อ 131.1 กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห่อซองหรือการหุ้มห่อสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทของตีพิมพ์ว่า"ต้องได้รับการหุ้มห่อในลักษณะที่สิ่งบรรจุภายในได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องสามารถเปิดตรวจได้โดยสะดวกรวดเร็ว เช่น ใช้แถบกระดาษพันไว้ ใส่ไว้ในหลอดกระดาษแข็ง ใส่ไว้ในระหว่างกระดาษแข็ง ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ไม่ปิดผนึก ใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว" ซึ่งจะเห็นได้ว่า ของตีพิมพ์นั้นอาจใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกก็ได้ แต่ต้องเป็นการใส่ซองหรือเครื่องบรรจุที่ปิดผนึกโดยวิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็ว แต่ของตีพิมพ์ของโจทก์เป็นนิตยสารซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษขาว ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองตลอดความยาวของซองและใช้เชือกขาวผูกรัดด้วยเงื่อนตายซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า หากต้องการเปิดตรวจ จะต้องแก้หรือตัดเชือกขาวที่ผูกรัดด้วยเงื่อนตายออกแล้วต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทปซึ่งอาจทำให้ซองขาด และไม่อาจปิดผนึกใหม่ได้โดยไม่ใช้เทปใหม่ การเข้าห่อซองของตีพิมพ์ของโจทก์เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการใส่ซองที่ปิดผนึกโดยใช้วิธีการที่สามารถเปิดตรวจและปิดผนึกใหม่ได้โดยสะดวกรวดเร็วตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯ ข้อ 131.1 สำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อย นั้น ตามข้อ 144.1กำหนดว่า จะต้องเข้าห่อซองหรือหุ้มห่อในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ แต่พัสดุย่อยของโจทก์เป็นตลับเทปคาสเซ็ท 1 ตลับ ซึ่งโจทก์เข้าห่อซองโดยบรรจุในซองกระดาษ ใช้เทปกาวใส ขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ปิดทับฝาซองเกือบตลอดความยาวของฝาซอง และใช้เทปกาวใสขนาดเดียวกัน ปิดทับรอบความกว้าง ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าหากต้องการเปิดตรวจดู ก็จะต้องแกะลอกเทปหรือใช้มีดตัดเทป อาจทำให้ซองฉีกขาด และการปิดผนึกก็ต้องใช้เทปใหม่ จึงถือไม่ได้ว่าการเข้าห่อซองพัสดุย่อยของโจทก์เป็นการเข้าห่อซองในลักษณะที่อาจเปิดตรวจดูสิ่งของภายในได้โดยไม่ทำให้การหุ้มห่อนั้นเสียสภาพ ตามข้อกำหนดแห่งไปรษณียนิเทศฯข้อ 144.1 นี้เช่นกัน เมื่อการเข้าห่อซองของตีพิมพ์และพัสดุย่อยของโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะการหุ้มห่อไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในข้อ 131.1 และ 144.1 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์ได้ตามข้อ 80 แห่งไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และประกาศการสื่อสารแห่งประเทศไทย เรื่องให้ใช้ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ลงวันที่25 มิถุนายน 2524 ดังนั้นจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับฝากส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ทั้งสองชนิดของโจทก์ดังกล่าวได้ และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านจากการครอบครองปรปักษ์และการยกให้ โดยพิจารณาผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์และจำเลย
หลังจาก ต. มารดาได้ลงชื่อโจทก์จำเลยและ ป. ซึ่งเป็นบุตรทั้งสาม เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินในปี 2511 แล้ว ต.มารดาก็ยังคงครอบครองบ้านพิพาทอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวต่อไป แม้บ้านพิพาทจะเป็นส่วนควบของที่ดินซึ่งกรรมสิทธิ์ในบ้านจะเป็นของโจทก์จำเลยและ ป. ด้วยโดยผลของกฎหมายและ ต. มารดาไม่ทราบการครอบครองบ้านพิพาทของ ต.มารดาก็เป็นการครอบครองโดยปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ในส่วนของโจทก์จำเลยและ ป. ก่อนที่ ต.มารดาจะถึงแก่ความตายได้ยกบ้านพิพาทให้จำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทอยู่แล้ว การที่จำเลยอยู่ในบ้านพิพาทต่อมาจำเลยย่อมครอบครองบ้านพิพาทโดยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจาก ต. มารดา เมื่อรวมระยะเวลาครอบครองเกิน10 ปีแล้ว บ้านพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือ และพยานหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้ศาลยกฟ้องคดีอาญา
ตามคำของ พ. ได้ความว่า เห็นจำเลยเดินวนเวียนอยู่ในที่เกิดเหตุ และตามคำของ ส.ก็คงได้ความว่าเมื่อไปถึงที่เกิดเหตุเห็นผู้ตายกับผู้เสียหายถูกทำร้ายนอนอยู่ มีจำเลยถือไม้เดินอยู่บริเวณนั้น แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำร้ายด้วยสาเหตุอะไร ส่วน ณ.แม้จะเบิกความว่าเห็นจำเลยใช้ไม้เข้าร่วมชุลมุนตีกันด้วย แต่ก็ตอบคำซักค้านของทนายจำเลยว่าไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ตีทำร้ายผู้เสียหายเพราะตีกันยุ่งไปหมดทั้งตามคำของพนักงานสอบสวนประกอบรายงานการชันสูตรพลิกศพก็ได้ความว่าคนร้ายที่ร่วมกันทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายคือ อ.กับพวก ไม่มีจำเลยร่วมทำร้ายด้วย คำของ ณ.ไม่แน่นอนขัดแย้งกับคำของพนักงานสอบสวน ไม่น่าเชื่อว่า ณ.รู้เห็นว่าจำเลยเป็นคนร้ายจริงโจทก์จึงมีเพียงคำรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยเท่านั้น ซึ่งจำเลยโต้เถียงอยู่ว่าถูกบังคับขู่เข็ญให้รับสารภาพ คดีฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการ ตัวแทน และความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ ส. เป็นตัวแทนในการก่อสร้างและสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการและ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์ก็นำสืบในข้อนี้ได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น