พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือน และข้อยกเว้นภาษีสำหรับโรงเรือนที่ไม่ได้ให้เช่า
ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมนั้นมิใช่จำนวนอันเป็นการจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้น ฟ้องโจทก์มิได้ยกขึ้นเลยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้น จึงต้องถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุพึงกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้น ส่วนที่กำหนดเพิ่มใหม่จะเป็นค่ารายปีที่ชอบหรือไม่นั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่า ค่ารายปีที่ประเมินใหม่นั้นเป็นค่ารายปีที่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้น โจทก์มิได้นำสืบในข้อนี้กรณีต้องฟังว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่นั้นเป็นการประเมินที่ชอบ โรงเรือนที่จะได้รับการยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(5) จะต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือน โรงเรือนที่พิพาทนั้นมิใช่โรงเรือนที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เอง การที่ข้อเท็จจริงยุติเพียงว่า โรงเรือนที่พิพาทมิได้ให้เช่านั้นมิได้หมายความว่าโรงเรือนนั้นจะมิได้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นอันจะถือได้เหมือนกับเป็นโรงเรือนซึ่งปิดไว้ตลอดปี ดังนั้นโรงเรือนที่พิพาทของโจทก์จึงไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือน: อำนาจแก้ไขค่ารายปีและข้อยกเว้นโรงเรือนปิดทำการ
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะแก้ไขค่ารายปีเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมมิใช่จำนวนอันสมควรจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินค่ารายปีแล้วแต่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่ไม่ชอบ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้นถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นก็ต้องถือว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่ ชอบแล้ว โรงเรือนที่จะได้รับยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 9(5) ต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี การที่โรงเรือนพิพาทมิได้ให้เช่าตลอดปีนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนปิดไว้ตลอดปี กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะได้รับการยกเว้นภาษี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6105/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การหลีกเลี่ยงภาษี การหักค่าใช้จ่าย และเบี้ยปรับ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรณีที่จะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 14) มาตรา 30 นั้น ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำขอเสียภาษีอากรและได้ชำระภาษีอากรตามจำนวนที่จะต้องเสียภายในระยะเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดโจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรแล้ว โจทก์ผ่อนชำระภาษีเป็นรายเดือนตามแบบผ่อนชำระภาษีอากร แต่โจทก์มิได้ผ่อนชำระงวดแรกในกำหนด จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ชำระภาษีอากรตามเงื่อนไขและภายในเวลาที่กำหนดไว้ต้องถือว่าโจทก์มิได้ชำระภาษีอากรภายในเวลาและหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด ดังนี้โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ตามมาตรา 30 โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการประเมินทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แม้โจทก์ยกขึ้นมาเป็นข้อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานตามคำอุทธรณ์เฉพาะในเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีการพิจารณาถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรสด้วย แสดงว่าภาษีสองประเภทนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มาแล้วตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย โจทก์ยอมรับว่ามิได้มีการหักภาษีเงินได้เมื่อจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ และโจทก์จึงยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นการเหมาพร้อมเงินเพิ่มและโจทก์ก็มิได้โต้แย้งจำนวนเงินค่าจ้างแรงงานที่เจ้าพนักงานตรวจพบ ดังนั้น การประเมินจึงมิใช่การประเมินที่มิชอบด้วยกฎหมาย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส นั้น เมื่อโจทก์รับซื้อข้าวโพดและข้าวซึ่งเป็นพืชผลในทางการเกษตร โจทก์จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าทางการเกษตรโจทก์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องหักภาษี ณที่จ่าย เพื่อนำส่งเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้หักภาษีณ ที่จ่าย และนำส่ง ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีจากเงินจำนวนที่ตรวจพบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามกฎหมาย แต่โจทก์ไม่หักไว้และนำส่ง โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระเงินเพิ่มจนกว่าโจทก์จะชำระภาษีในส่วนนี้เสร็จ แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่จะต้องเสียหรือนำส่งตามมาตรา 27 มิใช่ชำระเงินเพิ่มเพียงวันที่มีผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการ ค่าโทรศัพท์ และค่ากระแสไฟฟ้า เป็นกรณีที่จะต้องมีเอกสารหลักฐานเก็บไว้แต่โจทก์ไม่มีมาแสดงและจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ตลอดจนค่าดำเนินการตามพิธีศุลกากร และอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่โจทก์สั่งเข้ามา ไม่ปรากฏหลักฐานว่า โจทก์จ่ายให้ใคร อย่างไรเมื่อใด จึงเป็นรายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (18) โจทก์ส่งข้าวสาร ไปขายต่างประเทศ โดยไม่ลงบัญชี และสั่งสินค้ากากถั่วเหลืองมาจากต่างประเทศเพื่อขายไม่ลงบัญชี ส่วนที่ลงบัญชีโจทก์แสดงต้นทุนซื้อสูงกว่าความเป็นจริง พฤติการณ์ในการกระทำของโจทก์แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากรที่ตนมีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีณ ที่จ่าย โจทก์ละเลยโดยไม่มีเหตุผล เมื่อกฎหมายให้โอกาสโจทก์ก็ใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ต่อมาไม่ปฏิบัติตาม ดังนี้ไม่มีเหตุอันควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อบุคคลภายนอก การเปลี่ยนแปลงสิทธิ และผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้าง จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามป.พ.พ. มาตรา 375 นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา374 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกจากสัญญาประนีประนอม สัญญาฉบับหลังไม่ผูกพันโจทก์
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และนายอรุณทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงเลิกห้างจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้สิทธิในทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 กับต้องชำระหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ทั้งหมดรวมทั้งหนี้ภาษีอากรในคดีนี้ สัญญาฉบับแรกนี้จึงเป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ภาษีอากรจากจำเลยที่ 3 โดยตรงได้ เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จึงเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว
สิทธิของบุคคลภายนอกจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 375นั้น จะต้องกระทำโดยคู่สัญญาทุกฝ่าย แต่สัญญาฉบับหลังที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและนายอาภรณ์ผู้ชำระบัญชีฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 อีกฝ่ายหนึ่งได้ทำขึ้นเพื่อยกเลิกสัญญาฉบับแรกนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและนายอรุณมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาฉบับหลัง สัญญาฉบับหลังจึงไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งได้เกิดมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรแสตมป์ต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นคำร้อง ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ซึ่งตามมาตรา 9 และ ป.รัษฎากร มาตรา 122การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนด ถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะขอคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาท และการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องร้องจะขาดอายุความ
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ซึ่งตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และประมวลรัษฎากร มาตรา 122 การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนดถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาทและการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การยินยอมปฏิบัติตามและอายุความ 10 ปี กรณีแสดงรายรับขาดเกิน 25%
หมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินให้เวลาโจทก์ฟ้องน้อยกว่า 7 วัน โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียกตลอดจนร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้วโจทก์มากล่าวอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบภายหลังหาได้ไม่ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาประเมินภาษีตามประกาศ คปถ.ฉบับที่ 8 และการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับปกติวิสัยทางการค้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 กำหนดให้การประเมินตามหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนที่ออกก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับให้แล้วเสร็จภายในเวลาสองปี ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหมายเรียกลงวันที่ 26 สิงหาคม 2517 ไปยังโจทก์ว่าประสงค์จะทำการตรวจสอบการเสียภาษีอากรตั้งแต่ปี 2512 ถึงปัจจุบัน ซึ่งตามข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยประสงค์จะตรวจสอบภาษีสำหรับปี 2517 อันเป็นปีปัจจุบันด้วย กรณีไม่จำต้องให้จำเลยมีหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรปี 2517 อีก เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีอากรปี 2517 แล้วเสร็จเกินกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว การประเมินจึงไม่ชอบ
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของบริษัทจำกัด: กรรมการต้องดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท และมีอำนาจกระทำการแทนตามที่จดทะเบียน
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ3 คน คือ โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.