พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัทจำกัด ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลงนามโดยกรรมการคนเดียวจึงไม่มีอำนาจผูกพันบริษัท
โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด กรรมการ 2 ใน 3 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนได้ การที่โจทก์ ที่ 2กรรมการของบริษัทลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียว จึงไม่มี อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้ กรณีเป็นการฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ เป็นกรณีความประสงค์ของนิติบุคคล นั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 ไม่ใช่กรณีเป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 56 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึง เป็นคำฟ้องที่ศาลไม่อาจรับไว้พิจารณาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6016/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรรมการบริษัทจำกัด: ต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท และความประสงค์ของนิติบุคคล
ฟ้องโจทก์ได้ความว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีกรรมการ 3 คน คือโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 7 ที่ 8 กรรมการสองคนในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีจะมีการฟ้องคดีในฐานะที่บริษัทเป็นโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนไว้ ถึงแม้ในคำฟ้องของบริษัทโจทก์ที่ 1 จะกล่าวอ้างว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ร่วมกับจำเลยอื่นทำให้บริษัทเสียหาย โจทก์ที่ 2 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทคนหนึ่งนั้นจะมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องตามกรณีที่กล่าวอ้างในคำฟ้องได้ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่จะต้องดำเนินการในฐานะนั้นเท่านั้น ไม่อาจดำเนินการฟ้องร้องในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทอันจะถือว่าบริษัทเป็นผู้ฟ้องคดีได้ เพราะในกรณีที่บริษัทจำกัดฟ้องคดีนั้น บริษัทจำกัดจะต้องเข้าไปรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่ศาลจะให้ใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่งโดยบังคับเอาจากทรัพย์สินของบริษัทมิใช่ผู้ฟ้องคดีแทนจะต้องรับผิดหรือบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีแทน การที่โจทก์ที่ 2 เพียงผู้เดียวแม้จะเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์ที่ 1 แต่ก็ไม่อาจที่จะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลได้กรณีเป็นเรื่องบริษัทโจทก์ที่ 1 ในฐานะนิติบุคคลฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำแทนได้ เป็นเรื่องฟ้องคดีโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ ไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องบกพร่องในความสามารถที่ศาลต้องสั่งให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 แต่เป็นกรณีที่ความประสงค์ของนิติบุคคลนั้นไม่แสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75 คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ซึ่งดำเนินการโดยโจทก์ที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพินัยกรรมปลอม และสิทธิผู้รับพินัยกรรม/ทายาทโดยธรรมในการเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องอ้างสิทธิในคำร้องขอจัดการมรดกว่าร้องขอในฐานะที่ผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรม มิได้ร้องขอในฐานะทายาทโดยธรรมด้วย เมื่อผู้คัดค้านอ้างในคำคัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวผู้ร้องทำปลอมขึ้นปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่ย่อมเป็นประเด็นที่จำต้องวินิจฉัยเพราะหากพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องทำปลอมขึ้นผู้ร้องย่อมถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(5) จึงไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ถูกต้องได้ ท. ซึ่งมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมข้อ 9 และข้อ 10 ตายก่อนเจ้ามรดก ข้อกำหนดในพินัยกรรมส่วนนี้จึงเป็นอันตกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคสอง กล่าวคือต้องตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ซึ่งรวมทั้งผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านในฐานะทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมหรือพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้คัดค้านมีความประพฤติดีไม่เคยทำร้ายหรือเป็นหนี้เจ้ามรดกดังคำพยานผู้ร้อง ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นเหตุไม่สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 จึงสมควรตั้งผู้ร้องและ ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการจัดเก็บภาษีสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชี 2 พ.ร.ฎ. สินค้าอเนกประสงค์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ ถือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้าย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526มาตรา 9 มิได้จำกัดเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือนโดยเฉพาะดังนั้น แม้ว่าสินค้าพิพาทจะเป็นท่อเหล็กเอนกประสงค์ใช้ทำของใช้อย่างอื่นนอกจากเครื่องเรือนด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำเครื่องเรือนได้ และมิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของบัญชีที่ 1อีกทั้งเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร สินค้าท่อเหล็กกลมและเหลี่ยมที่โจทก์ผลิตจึงเป็นสินค้าตามหมวด 4(3) บัญชีที่ 2 ท้ายพ.ร.ฎ. ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเสียภาษีท่อเหล็ก: สินค้าอเนกประสงค์เข้าข่ายผลิตภัณฑ์ใช้ทำเครื่องเรือนได้หรือไม่
สินค้าตามหมวด 4(3) แห่งบัญชีที่ 2 ท้ายพระราชกฤษฎีกา ออก ตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำ เครื่องเรือนที่มิได้ผลิตจากสินค้าตามหมวด 4(4)(5) หรือ (6) ของ บัญชี ที่ 1 เฉพาะที่ผลิตในราชอาณาจักรนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติ จำกัด เฉพาะ เจาะจง ว่าต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำเครื่องเรือน โดยเฉพาะ ท่อ เหล็ก กลมและเหลี่ยมเอนกประสงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ต่าง ๆ ยาว มาตรฐาน6 เมตร ที่โจทก์ผลิตจากเหล็กแผ่นชนิดบาง แม้ จะ ใช้ ทำของ อย่างอื่นได้ด้วยแต่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำ เครื่องเรือนได้ สินค้าที่โจทก์ผลิตจึงเข้าบทบัญญัติของกฎหมาย ดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเรียกค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน หลังจาก พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มีผลใช้บังคับ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน เลิกจ้างเพราะลูกจ้างมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หาใช่ลูกจ้างออกจากงานไปเองไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการขายลดเช็คถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ไม่มีการลงบัญชีซื้อขาย
เช็คที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆมีอยู่ 3 ประเภท คือ เช็คของลูกค้า เช็คของโจทก์เอง และเช็คที่ไม่ปรากฏที่มา สำหรับเช็คของลูกค้า เป็นเช็คที่ได้มาจากการประกอบกิจการของโจทก์ โดยโจทก์ได้รับชำระหนี้มาเป็นเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจึงนำไปขายลด จำนวนเงินที่ได้จากการขายลดเช็คประเภทนี้ต้องถือว่าเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์ ส่วนเช็คของโจทก์เองที่นำไปขายลดนั้น ต่อมาโจทก์ต้องนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น การที่โจทก์จะมีเงินไปเข้าบัญชีโจทก์ก็จะต้องมีเงินได้จากรายรับเนื่องจากการประกอบกิจการเช่นกันสำหรับเช็คที่ไม่ปรากฏที่มานั้น โจทก์อ้างว่าเป็นเช็คของหุ้นส่วนที่โจทก์ยืมมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปีที่โจทก์นำเช็คที่ยืนมาไปขายลดนั้น โจทก์ยังเป็นหนี้หุ้นส่วนที่โจทก์ยืมเช็คมา ย่อมแสดงว่าถ้ามีการยืมเช็คของหุ้นส่วนมาขายลดจริง ก็ต้องมีการชำระหนี้ตามเช็คที่ยืมมานั้นหมดแล้ว และโจทก์ต้องมีรายรับจากการประกอบกิจการอย่างน้อยตามจำนวนเงินในเช็คที่ยืมมาขายลด โจทก์จึงจะสามารถชำระหนี้เงินตามเช็คที่ยืมมาได้หมดสิ้น จึงถือได้ว่าเงินตามเช็คที่โจทก์ยืมมาขายลดนี้ เป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์เช่นเดียวกัน ดังนั้น เงินตามเช็คทั้ง 3 ประเภทที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงเป็นรายรับจากกิจการของโจทก์ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายลด โจทก์ก็ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่คิดจากยอดรายรับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าแยกกันได้: การพิจารณาความผิดฐานฆ่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ล. 2 นัดและยิง น. 1 นัด เป็นเหตุให้ล. และ น. ถึงแก่ความตาย โดยจำเลยยิงในเวลาต่อเนื่องกันแสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่ากระสุนนัดใด จำเลยยิงผู้ตายคนใด เจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสองในขณะกระทำความผิด จึงแยกออกจากกันได้การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าแยกจากกัน ความผิดฐานฆ่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ขณะที่จำเลยยิงผู้ตายทั้งสอง ผู้ตายทั้งสองอยู่ด้วยกันในห้องนอน จำเลยยิงนายล.ก่อนแล้วจึงยิงนาง น. จำเลยยอมรับว่าจำเลยยิงนาย ล. 2 นัด แล้วจึงยิงนางน. 1 นัด แสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่ากระสุนนัดใดจำเลยยิงผู้ตายคนใด เจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสองในขณะจำเลยลงมือกระทำความผิดจึงแยกออกจากกันได้ ความต้องการให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตายแม้จะเกิดขึ้นในใจของจำเลยพร้อม ๆ กันและต่อเนื่องกับการลงมือกระทำความผิดก็มิใช่เจตนาในขณะที่จำเลยลงมือกระทำความผิด การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าแยกกรรม: การยิงผู้ตายหลายราย
ขณะที่จำเลยยิงผู้ตายทั้งสอง ผู้ตายทั้งสองอยู่ด้วยกันในห้องนอน จำเลยยิงนาย ล.ก่อนแล้วจึงยิงนาง น. จำเลยยอมรับว่าจำเลยยิงนาย ล. 2 นัด แล้วจึงยิงนาง น.1 นัด แสดงว่าในการยิงปืนแต่ละนัดความประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่ากระสุนนัดใดจำเลยยิงผู้ตายคนใด เจตนาฆ่าผู้ตายทั้งสองในขณะจำเลยลงมือกระทำความผิดจึงแยกออกจากกันได้ ความต้องการให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตายแม้จะเกิดขึ้นในใจของจำเลยพร้อม ๆ กัน และต่อเนื่องกับการลงมือกระทำความผิดก็มิใช่เจตนาในขณะที่จำเลยลงมือกระทำความผิด การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม