พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5711-5723/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและค่าชดเชย: เงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย, การนับอายุการทำงาน, ผู้ผิดนัดและดอกเบี้ย
พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2518 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดคุณสมบัติและเหตุที่พนักงานรัฐวิสาหกิจจะต้องพ้นจากตำแหน่ง มิได้หมายความว่าเมื่อพนักงานผู้ใดขาดคุณสมบัติ หรือมีเหตุต้องพ้นจากตำแหน่ง การจ้างเป็นอันระงับไปทันที แต่รัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งไปด้วยเท่านั้น โจทก์ที่ 1 ถึง 12 บกพร่องต่อหน้าที่หรือมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐานอันถือว่าเป็นผู้ไม่สามารถทำงานให้แก่จำเลยได้เต็มเวลา และเป็นการขาดคุณสมบัติ แต่ก็มิใช่การฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ที่จำเลยให้โจทก์ที่ 1 ถึง 12 ออกจากงานจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมายความว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นการจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อออกจากงานของจำเลยตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ มีหลักเกณฑ์การจ่ายแตกต่างจากการจ่ายค่าชดเชย ถือมิได้ว่าเงินที่จ่ายตามข้อบังคับดังกล่าวเป็นการจ่ายค่าชดเชย แม้จะมีข้อบังคับระบุว่าพนักงานมีสิทธิรับเงินบำเหน็จเพียงอย่างเดียว และถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายก็ไม่มีผลบังคับ อุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้ง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางโดยยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายก็ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง ข้ออ้างว่าไม่เจตนาหาเป็นเหตุให้พ้นความรับผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาของประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกัน แหล่งที่มา และระยะเวลาที่นำเข้า
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" แห่งของอย่างใด ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 2 นั้น หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและ ชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้าหรือส่งออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ฉะนั้นการที่ จะนำราคาของของที่มาจากคนละแห่งคนละยี่ห้อ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ นำเข้ามาในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันหรือไม่อย่างไร มาถือว่าเป็นราคาเดียวกันนั้น จึงเป็นการประเมินราคาที่ไม่อยู่ในเงื่อนไข ตามที่กฎหมายบัญญัติ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายร่วมกัน: การกระทำเป็นทีมและคำพูดแสดงเจตนา
จำเลยกับพวกมาด้วยกันและทำร้ายผู้เสียหายในลักษณะที่เป็นการช่วยกันทำร้าย ถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย ไม้ไผ่ที่จำเลยใช้และจอบที่ ย. พวกของจำเลยใช้ตีทำร้ายผู้เสียหายมีขนาดใหญ่และตีหลายครั้ง ทั้งตีที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้โดยง่าย ประกอบกับก่อนที่จำเลยจะหยุดตีทำร้าย จำเลยได้พูดว่าตายแล้วพอ หยุดแสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสัญญาก่อสร้าง: สิทธิริบเงินค้ำประกันและดอกเบี้ยเมื่อผิดนัดชำระ
สัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารมิได้กำหนดให้เงินตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารได้สิ้นสุดลงหรือภายหลังโจทก์บอกเลิกสัญญาด้วย เงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 โจทก์มีสิทธิริบเงินตามสัญญาค้ำประกันได้ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2528 จำเลยที่ 3 ไม่ชำระถือว่าจำเลยที่ 3 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528 แม้ภายหลังโจทก์จะมีหนังสือทวงถามซ้ำอีก โดยกำหนดวันที่นำเงินมาชำระใหม่อีกก็ตามก็ไม่ทำให้การผิดนัดของจำเลยที่ 3 ที่เกิดขึ้นแล้วเปลี่ยนแปลงไปโจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืน เริ่มนับแต่วันวางทรัพย์ต่อศาล หรือรับเงินจากเจ้าหน้าที่
การวางเงินค่าทดแทนต่อศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295ข้อ 67 วรรคแรก หมายถึงการวางเงินค่าทดแทนต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางหรือสำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค 1 ถึง 9 กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม แล้วแต่กรณี เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์วางเงินค่าทดแทนไว้ให้โจทก์ ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เมื่อ วันที่ 30สิงหาคม 2528 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์ เห็นว่า ควร ได้รับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2529 จึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ดื่มสุราขณะทำงาน แม้ดื่มนอกสถานที่ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
จำเลยที่ 15 เป็นลูกจ้างโจทก์ ทำหน้าที่ขับรถเครนยกของหนักต้องใช้ความระมัดระวัง เมื่อจำเลยที่ 15 ดื่มสุราในเวลาทำงานแม้เป็นการดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุราถ้าจำเลยที่ 15 เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับรถเครนก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้การกระทำของจำเลยที่ 15จึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 15 ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: ดื่มสุราขณะทำงานและเข้าปฏิบัติหน้าที่เสี่ยง
จำเลยมีหน้าที่ขับเครนยกของหนัก ต้องใช้ความระมัดระวังเมื่อจำเลยดื่มสุราในเวลาทำงาน แม้ได้ดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุรา ถ้าจำเลยเข้าปฏิบัติหน้าขับรถเครน ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน โจทก์จึงมีสิทธิเลิกจ้างจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 (3)
แม้โจทก์ไม่ได้ลงโทษเลิกจ้าง ส.ด้วย ก็เป็นดุลพินิจในการลงโทษของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างซึ่งหน้าที่ในความรับผิดของลูกจ้างแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การไม่ลงโทษเลิกจ้าง ส.จึงไม่อาจถือเป็นเหตุที่จะถือว่าการเลิกจ้างจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121แต่อย่างใด
การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดกรณีร้ายแรง เข้าเกณฑ์ที่โจทก์จะลงโทษเลิกจ้างได้ การเลิกจ้างของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้โจทก์ไม่ได้ลงโทษเลิกจ้าง ส.ด้วย ก็เป็นดุลพินิจในการลงโทษของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างซึ่งหน้าที่ในความรับผิดของลูกจ้างแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การไม่ลงโทษเลิกจ้าง ส.จึงไม่อาจถือเป็นเหตุที่จะถือว่าการเลิกจ้างจำเลยเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121แต่อย่างใด
การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดกรณีร้ายแรง เข้าเกณฑ์ที่โจทก์จะลงโทษเลิกจ้างได้ การเลิกจ้างของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์ ศาลรับฟังพยานบุคคลได้
ทะเบียนบ้านเป็นเพียงหลักฐานของทางราชการ ที่ระบุว่าใครเป็นเจ้าของบ้านและมีใครอาศัยอยู่ในบ้าน ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้าน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงย่อมนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้าน: พยานบุคคลพิสูจน์ได้แม้ไม่มีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์
ทะเบียนบ้านที่ระบุว่าผู้ร้องเป็นเจ้าบ้าน เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่ระบุว่าใครเป็นเจ้าบ้านและมีใครอาศัยอยู่ในบ้านบ้าง ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในบ้าน ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลและศาลย่อมรับฟังพยานบุคคลได้ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขพยานเอกสารอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบธรรมของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญในคดีล้มละลาย
การที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องไม่เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ. จำกัด ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของห้างลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษ หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระจากทรัพย์สินของห้างลูกหนี้มีถึง 59 ล้านบาทเศษในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85คิดเป็นเงินเพียง 25,024.58 บาท และห้างลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีก ถือว่าโจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา65ทวิ (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิจำหน่ายหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525ได้ หาจำต้องรอจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาให้ห้างลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเสียก่อนจึงจะจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ไม่.