พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบธรรมของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญในคดีล้มละลาย
การที่ ป.รัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไขยกเลิกหรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องไม่เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ. จำกัด ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างลูกหนี้ แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของห้างลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษ หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระจากทรัพย์สินของห้างลูกหนี้มีถึง 59 ล้านบาทเศษในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85คิดเป็นเงินเพียง 25,024.58 บาท และห้างลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีก ถือว่าโจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา65ทวิ (9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิจำหน่ายหนี้จำนวนดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525ได้ หาจำต้องรอจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาให้ห้างลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเสียก่อนจึงจะจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินและตึกแถวเพื่อหากำไร ถือเป็นการค้า ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
โจทก์กับพวกซื้อที่ดินตามโฉนดรวม 9 แปลง ในปลายปี พ.ศ.2526นำมาขอรวมโฉนดแล้วแบ่งแยกโฉนดเป็นแปลงย่อม และโจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างตึกแถวลงบนที่ดินดังกล่าวแล้วขายที่ดินพร้อมตึกแถวไปเป็นห้อง ๆ ในปี พ.ศ.2527 และ 2528 แสดงว่าโจทก์ขายที่ดินดังกล่าวในทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินคานำเข้า: การพิจารณาจากราคาที่เคยตกลงกันและชนิดสินค้าที่เหมือนกัน
ของรายพิพาทที่โจทก์นำเข้าห่างจากวันที่นำเข้าครั้งก่อน 7 วันซึ่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดยุติกันว่ามีราคาเครื่องละ 177เหรียญสหรัฐฯ ไม่น่าที่ราคาของของที่นำเข้าจะทันได้เปลี่ยนแปลงไปและเมื่อของที่นำเข้ามาเป็นของชนิดเดียวกันจากบริษัทผู้ผลิตขายในต่างประเทศบริษัทเดียวกัน แสดงให้เห็นได้ว่าน่าจะเป็นของที่ผลิตในคราวเดียวกัน เพราะระยะเวลา 7 วัน ไม่น่าจะผลิตของต่างคราวกันเป็นจำนวนมากได้ เป็นไปไม่ได้ว่าเมื่อของนั้นนำเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว จะมีราคาที่ขายโดยไม่ขาดทุนเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ในประเทศของผู้ผลิต ต้องถือว่าราคาของในการนำเข้าคราวก่อนที่โจทก์จำเลยรับกันว่ามีราคาเครื่องละ 177 เหรียญสหรัฐฯนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอำเภอใจ และการคิดเงินเพิ่มจากกำหนดเวลาที่ถูกต้อง
ตามคำฟ้อง โจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการและหลักเกณฑ์การคำนวณหายอดขายจากกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ว่าได้มาอย่างไร แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้ว โจทก์ไม่จำต้องเสนอพยานหลักฐานและข้ออ้างอิงมาในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.5/2527 กำหนดห้ามใช้อำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1) แก่กิจการที่สามารถหาหลัก-ฐานเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้โดยง่าย เช่น กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย นั้น ปัญหาข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้ในคดีสำนวนแรก หรือกล่าวไว้ในคำฟ้องคดีสำนวนหลังจึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้กิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลยจะสามารถคำนวณหากำไรขั้นต้นได้ โดยนำยอดขายน้ำมันหน้าปั้ม หักด้วยยอดซื้อก็ตาม แต่จำเลยก็เถียงอยู่ว่า กำไรขั้นต้นนี้ไม่อาจถือเป็นกำไรสุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีได้ จะต้องนำไปหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีอีก และจำเลยส่งบัญชี เอกสาร และหลักฐานประกอบการลงบัญชีให้โจทก์ไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรสุทธิได้ อีกทั้งเจ้าพนักงาน-ประเมินได้พยายามหาวิธีคำนวณค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพิจารณาย้อนหลังขึ้นไป3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้ เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่สัมพันธ์และสอดคล้องกัน บางปีมีค่าใช้จ่ายบางอย่างสูงแต่บางปีไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นนั้นเลย จึงมีเหตุผลให้รับฟังว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลย โดยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิได้ ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 71 (1)
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินภาษีไปชำระภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนี้ กำหนดเวลาดังกล่าว เป็นเพียงโจทก์ให้โอกาสจำเลยชำระเงินภาษีแก่โจทก์ ก่อนที่โจทก์จะดำเนิน-การฟ้องคดีต่อศาลหาใช่กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่บัญญัติไว้ในประมวล-รัษฎากรมาตรา 27 วรรคหนึ่งไม่ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มคิดตั้งแต่วันครบ-กำหนดเวลาการเสียภาษีหรือนำส่งภาษี มิใช่คิดตั้งแต่วันครบกำหนดเวลาตามหนังสือแจ้ง-การประเมินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์: เจตนาในการได้มาอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2)เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดีมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และถึงแม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในป.รัษฎากร ศาลมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จำเลยฟ้องโจทก์ให้ชำระหนี้ภาษีอากรกรณีเดียวกันนั้นศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า การประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่พฤติการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42(9) นั้น ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแสดงว่าต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่การที่ จ. ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี พ.ศ. 2523 จึงได้ขายไปโดยไม่ปรากฏว่า จ. ได้ปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นอันเป็นปกติวิสัยของผู้ที่มีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรพึงกระทำและเหตุที่ จ. ซื้อที่ดินมาก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า จ. ซื้อที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อขายที่ดินแปลงดังกล่าวไปย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ในส่วนนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย และการพิจารณาเจตนาในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้องมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 30(2)ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรกลางฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523 จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองมานานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่าจ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไปถือได้ว่า จ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้ จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42(9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่ (วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์ภาษี: ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และพิจารณาเจตนาในการซื้อขายที่ดินเพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้ แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.252 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลภาษีอากร-กลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 252
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5511-5512/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลซ้ำซ้อนเกิน 5 ปี และการประเมินภาษีการค้าเกิน 10 ปี หลังการยื่นแบบแสดงรายการ
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์ครั้งเดียวภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้ว โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์โจทก์ ถือว่าการเรียกตรวจสอบไต่สวนตามหมายเรียกดังกล่าวได้เสร็จสิ้นลงแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมาแจ้งประเมินครั้งที่สองโดยมิได้ออกหมายเรียกมาไต่สวนใหม่ภายในกำหนด 5 ปีนั้นจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเพิ่มไม่ถูกต้องเพราะโจทก์มิได้มีรายรับจากการค้าเพิ่มการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิตตามคำสั่งของกรมสรรพากร ที่ ป.4/2527จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง อันมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 โจทก์ลงลายรับเฉพาะจำนวนที่ได้รับจากลูกช่วงทำไม้หลังจากหักค่าจ้างออกแล้วเป็นการลงรายรับเฉพาะส่วนที่เป็นกำไรเท่านั้นเจ้าพนักงานคิดคำนวณปริมาตรไม้แล้วปรับปรุงบัญชีรายรับของโจทก์ตามราคาที่ขายตามหลักฐานที่ตรวจสอบได้ไม่เป็นการคำนวณรายรับที่ไม่ถูกต้อง ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับของโจทก์ที่เจ้าพนักงานตรวจสอบได้ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดขอให้บุคคลซึ่งเป็นคู่ความในคดีอยู่แล้วเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข
กรณีที่จะมีการเข้ามาเป็นคู่ความโดยการร้องสอดตามป.วิ.พ. มาตรา 57 ได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นการขอเข้ามาเองหรือถูกหมายเรียกเข้ามาก็ดี ผู้ที่จะเข้ามานั้นต้องเป็นบุคคลนอกคดีจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 ขอให้เรียกเข้ามานั้นเป็นคู่ความอยู่ในคดีนี้แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่โจทก์ก็ยังดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 ต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลภายนอกที่จำเลยที่ 2 จะเรียกเข้ามาโดยการร้องสอดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57(3) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีอาญาเล็กน้อยและการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิคดีนี้โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์มีภารกิจจำเป็นทางการค้าและทนายโจทก์ป่วยกะทันหันไม่สามารถมาศาลได้ อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีจึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์มา จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะฎีกาปัญหาดังกล่าวต่อมาไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย