พบผลลัพธ์ทั้งหมด 876 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกทับที่ดินสาธารณประโยชน์
เดิมที่พิพาทเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมานายอำเภอท้องที่ ได้ประกาศหวงห้ามที่พิพาทไว้เพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ และอาบน้ำร้อน ซึ่งที่พิพาทมิใช่นายอำเภอท้องที่ประกาศหวงห้ามแล้วไม่มีประชาชนใช้ประโยชน์อะไรเลย กลับปรากฏว่าเป็นที่ที่ประชาชนใช้พักผ่อนหย่อนใจ ใช้อาบน้ำร้อน ทั้งมีท่อซีเมนต์ฝังลงในดิน เป็นบ่อมีศาลาสำหรับพักร้อนตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นที่พิพาทจึงเป็นที่ รกร้างว่างเปล่ามีสภาพเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์และเป็นที่ดินที่พลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นที่ สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(1)(2) การที่นายอำเภอท้องที่ประกาศหวงห้ามที่พิพาทไว้จะดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นที่สาธารณสมบัติของ แผ่นดินพ.ศ. 2478 โดยชอบหรือไม่ หาเป็นข้อสาระสำคัญแต่ประการใด ในเมื่อที่พิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว และแม้ต่อมาจะมีผู้ครอบครองที่พิพาทจนกระทั่งทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ และโจทก์ได้รับสิทธิครอบครองมาโดยการซื้อจากการขาย ทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย เฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 โจทก์จึงไม่อาจได้สิทธิครอบครองที่พิพาท รวมทั้งไม่อาจออกเอกสารสิทธิใด ๆ ในที่พิพาทได้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทที่โจทก์ได้รับโอนมาจึงเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลย มี อำนาจที่จะออกคำสั่งเพิกถอนเสียได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงตามคำแถลงของโจทก์ และเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์มาเป็นข้อวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็น ที่พลเมืองใช้ร่วมกันหาเป็นการนอกฟ้องไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยประทับตราบริษัท
ช.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีต่อจำเลยโดยระบุว่า"ช.ขอมอบอำนาจให้ ส.เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าโดย ให้มีอำนาจฟ้องกรมศุลกากร..." มิได้ระบุว่า ช. ได้มอบอำนาจในฐานะใด แต่เมื่อช.ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ไว้ ในช่องลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ และกิจการที่มอบให้ ส.ฟ้อง ก็เป็นกิจการของโจทก์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: การตีความหนังสือมอบอำนาจ
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะมีข้อความในตอนต้นระบุไว้เพียงว่า " ช.ขอมอบอำนาจให้ส. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าโดยให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรมศุลกากรตามใบขนสินค้าขาเข้า..." โดยมิได้ระบุไว้ในตอนนี้ว่า ช. ได้มอบอำนาจในฐานะใดก็ตาม แต่เมื่อ ช. ซึ่งเป็นกรรมการแต่ผู้เดียวที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้โดยต้องประทับตราของบริษัทเป็นสำคัญด้วยได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจนั้น และได้มีการประทับตราของโจทก์ไว้ในช่องที่ ช. ลงลายมือชื่อด้วย ซึ่งกิจการที่มอบให้กระทำตามใบมอบอำนาจนี้ก็เป็นกิจการของโจทก์ จึงไม่มีกรณีที่จะแปลใบมอบอำนาจนี้เป็นอย่างอื่นได้นอกเหนือจาก ช. ในฐานะผู้แทนของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. กระทำการตามที่ปรากฏในใบมอบอำนาจแทนโจทก์ก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยต้องแบ่งแยกที่ดินให้ชัดเจนก่อนโจทก์ชำระเงิน, ศาลบังคับได้แม้มีเจ้าของร่วม
จำเลยทั้งสองและ ส.ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน ต่อมาโจทก์ตกลงจะซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยเพื่อนำไปจัดสรรขาย โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายระบุเงื่อนไขว่า ผู้จะขายจะทำการรังวัดแบ่งแยกและออกโฉนดแปลงใหม่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของผู้จะขาย และแจ้งให้ผู้จะซื้อทราบ ผู้จะซื้อจะชำระเงินตามงวดที่ 1 จำนวน 1,416,000 บาท ภายใน 30 วัน หลังจากวันรับแจ้ง ปรากฏว่าจำเลยไปทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็นโฉนดย่อยแล้ว แต่ยังมีชื่อ ส.เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยอยู่ ดังนี้ แม้จำเลยจะนำสืบอ้างว่า ส.ยินดีจะโอนที่ดินให้โจทก์เมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจฟ้องบังคับ ส.ให้โอนที่ดินให้ได้ เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันข้อกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ให้จำเลยแบ่งแยกโฉนดออกมาเป็นส่วนของจำเลยก่อน ย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา เนื่องจากโจทก์จะซื้อที่ดินไปเพื่อจัดสรรขาย หากที่ดินที่จะซื้อขายกันยังมีชื่อของผู้ที่มิใช่คู่สัญญากับโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยโดยโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับ ก็ย่อมไม่อาจเสี่ยงซื้อที่ดินไปจัดสรรได้ กรณีเป็นเรื่องจำเลยไม่ปฏิบัติการอันเป็นข้อสำคัญก่อน จึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่การที่จำเลยมิได้ปฏิบัติการแบ่งแยกโฉนดออกมาเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของจำเลยตามข้อตกลง จำเลยจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาในส่วนที่สภาพแห่งหนี้สามารถให้บังคับได้
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามแผนที่ท้ายสัญญา เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทมี ส.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสอง และไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จะให้ ส.ปฏิบัติตามข้อขอตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง คำขอของโจทก์จึงไม่อยู่ในสภาพที่จะบังคับได้โดยไม่กระทบถึงสิทธิของ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี คำขอของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้
สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดให้ผู้ใดออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 457 คือพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย แม้คดีจะฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะขอให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการโอนเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามแผนที่ท้ายสัญญา เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทมี ส.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสอง และไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จะให้ ส.ปฏิบัติตามข้อขอตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง คำขอของโจทก์จึงไม่อยู่ในสภาพที่จะบังคับได้โดยไม่กระทบถึงสิทธิของ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี คำขอของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้
สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดให้ผู้ใดออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 457 คือพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย แม้คดีจะฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะขอให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการโอนเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย - เจ้าของรวม - การแบ่งแยกที่ดิน - การบังคับตามสัญญา - ฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยทั้งสองและ ส.ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน ต่อมาโจทก์ตกลงจะซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยเพื่อนำไปจัดสรรขายโดยทำสัญญาจะซื้อจะขายระบุเงื่อนไขว่า ผู้จะขายจะทำการรังวัดแบ่งแยกและออกโฉนดแปลงใหม่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของผู้จะขายและแจ้งให้ผู้จะซื้อทราบ ผู้จะซื้อจะชำระเงินตามงวดที่ 1 จำนวน1,416,000 บาท ภายใน 30 วัน หลังจากวันรับแจ้ง ปรากฏว่าจำเลย ไปทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็นโฉนดย่อยแล้ว แต่ยังมีชื่อส. เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยอยู่ ดังนี้ แม้จำเลยจะนำสืบอ้างว่าส. ยินดีจะโอนที่ดินให้โจทก์เมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตามโจทก์ก็ไม่อาจฟ้องบังคับ ส. ให้โอนที่ดินให้ได้ เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันข้อกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ให้จำเลยแบ่งแยกโฉนดออกมาเป็นส่วนของจำเลยก่อน ย่อมเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญา เนื่องจากโจทก์จะซื้อที่ดินไปเพื่อจัดสรรขาย หากที่ดิน ที่ จะซื้อขายกันยังมีชื่อของผู้ที่มิใช่คู่สัญญากับโจทก์ ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วยโดยโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับ ก็ย่อมไม่อาจ เสี่ยงซื้อที่ดินไปจัดสรรได้ กรณีเป็นเรื่องจำเลยไม่ปฏิบัติการ อันเป็นข้อสำคัญก่อนจึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ ยังไม่ชำระหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยไม่มีสิทธิ บอกเลิกสัญญาแต่การที่จำเลยมิได้ปฏิบัติการแบ่งแยกโฉนดออกมาเป็น กรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของจำเลยตามข้อตกลง จำเลยจึงตกเป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาในส่วนที่ สภาพแห่งหนี้สามารถให้บังคับได้ โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งสองดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามแผนที่ท้ายสัญญา เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทมี ส. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสอง และไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่ จะ ให้ ส.ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง คำขอของโจทก์จึงไม่อยู่ในสภาพที่จะบังคับได้โดยไม่กระทบถึงสิทธิของ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี คำขอของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ สัญญาจะซื้อจะขายมิได้กำหนดให้ผู้ใดออกค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 457 คือพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย แม้คดีจะฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ก็จะขอให้ จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการโอนเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และการแก้ไขการยื่นภาษีจากความสำคัญผิด
ประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเลือกเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทนี้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(1)และ (2) ก็ได้นั้น เป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษีและมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้มีเงินได้ในประเภทดังกล่าว และสิทธิตามมาตรานี้มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะหมดไปเมื่อใด ดังนั้น จึงต้องถือว่าสิทธิของผู้เสียภาษีคงมีอยู่ตลอดเวลาที่ภาระในการเสียภาษียังมีอยู่ โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรจึงมีสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(4) การที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมคำนวณด้วยความเข้าใจผิดเพราะคิดหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้จำนวนภาษีซึ่งคำนวณตามวิธีที่โจทก์ยื่นเสียภาษีขาดไปเป็นจำนวนถึงสองล้านบาทเศษซึ่งถ้าโจทก์แยกยื่นเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว โจทก์จะมีจำนวนภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีกเพียงเก้าหมื่นบาทเศษเท่านั้นเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมยื่นนั้นเกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิด เมื่อภาระหน้าที่ในการชำระภาษีของโจทก์ยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการยื่นเสียใหม่โดยใช้วิธีการยื่นแยกเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะไม่ทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์จะต้องเสียขาดจำนวนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอาการยื่นรวมที่โจทก์ยื่นด้วยความสำคัญผิดมาเป็นหลักในการประเมินโดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายย่อมเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกเสียภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่การค้า/หากำไร สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีคำนวณภาษีได้หากเกิดความสำคัญผิด
ตามมาตรา 48(4) แห่ง ป. รัษฎากร ที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้ จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือ หากำไรเลือกเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทนี้ โดยไม่ต้องนำไป รวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 48(1) และ (2) ก็ได้นั้น เป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษี และมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้แก่ผู้มีเงินได้ในประเภทดังกล่าว และสิทธิตามมาตรา 48(4) นี้ ก็มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะหมดไปเมื่อใด ดังนั้น จึงต้องถือว่า สิทธิของผู้เสียภาษีคงมีอยู่ตลอดเวลาที่ภาระในการเสียภาษียังมีอยู่ โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งใน ทางการค้าหรือหา กำไร จึงมีสิทธิตามมาตรา 48(4) การที่โจทก์ ยื่นเสียภาษีโดย วิธีรวมคำนวณ ด้วยความเข้าใจผิดเพราะคิดหัก ค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ทำให้จำนวนภาษี ซึ่งคำนวณตามวิธีที่โจทก์ยื่น เสียภาษีขาดไปเป็นจำนวนถึง2,276,397.80 บาท ซึ่งถ้าโจทก์ แยกยื่นเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากำไรแล้ว โจทก์จะมีจำนวนภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีกเพียง 98,800.99 บาท เท่านั้น เห็นได้ว่าการที่โจทก์ยื่นเสียภาษี โดยวิธีรวมยื่นนั้นเกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิดเมื่อภาระหน้าที่ ในการชำระภาษีของโจทก์ยังมีอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลง วิธีการยื่นเสียใหม่โดยใช้วิธีการยื่นแยกเฉพาะเงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเพื่อ บรรเทาภาระภาษีตามที่ ประมวลรัษฎากรให้สิทธิไว้ได้ เพราะไม่ทำให้ จำนวนภาษีที่โจทก์จะต้องเสียโดยวิธีแยกยื่นตามมาตรา 48(4)นี้ขาดจำนวนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอาการยื่นรวม ที่โจทก์ยื่นด้วยความสำคัญผิดมาเป็นหลักในการประเมินโดยไม่ให้ โอกาสโจทก์แก้ไขตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละข้อต่อสู้เรื่องรายรับและรายจ่ายต้องห้ามในการประเมินภาษี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และการไม่อาจพิสูจน์รายจ่ายจริง
โจทก์สละข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับประเด็นการลงยอดรายรับของห้างฯ ผิดพลาด ค่าใช้จ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ และการหักต้นทุนขายร้อยละ 90 ของรายรับปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ปัญหาการประเมินภาษีเกี่ยวกับยอดซื้อและค่าใช้จ่ายต่างจังหวัดว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้ออะไรจากใครเมื่อใดและได้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ลูกจ้างของโจทก์จริง ถือได้ว่ายอดซื้อและค่าใช้จ่ายต่างจังหวัดเป็นรายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5306/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างตามสัญญา แม้จำเลยอ้างไม่ได้รับประโยชน์จากโควตา ก็ยังต้องรับผิดตามสัญญา
ตามคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าพยานที่จะขอสืบเพิ่มเติมเป็นพยานสำคัญเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับโควตาส่งออกตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ตามข้ออ้างดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่ามิใช่เป็นพยานหลักฐานที่จะชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็น เพราะโจทก์ฟ้องเรียกค่าตอบแทนหรือค่าจ้างจากสัญญาที่โจทก์ได้จัดการให้จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยจะได้รับประโยชน์หรือไม่ จึงมิใช่ข้อสำคัญแห่งประเด็น ศาลล่างทั้งสองให้ยกคำร้องจำเลยที่ 1 และที่ 2ชอบแล้ว
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญเพราะจะได้สนับสนุนให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นขณะทำสัญญานั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้กล่าวอ้างมาแต่ในศาลล่างทั้งสอง เพิ่งจะมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์โดยตรง คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรื่องตัวแทน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3เป็นตัวแทนในการทำสัญญา จึงยังคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวว่าตามคำฟ้องโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนแล้วข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์ช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้ค่าตอบแทนโหลละ30 บาท โจทก์ได้จัดการติดต่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโควตา จึงเรียกเงินค่าตอบแทนเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนหรือค่าจ้างในการที่โจทก์ได้จัดการให้จำเลยที่ 1ตามสัญญา เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาเรียบร้อยแล้วย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าตอบแทนตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ได้รับประโยชน์จากโควตา และเรียกเก็บเงินจากการขายสินค้าไม่ได้ ทั้งไม่เคยนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ แม้จะเป็นจริงอย่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างก็ไม่ทำให้พ้นความรับผิด เพราะโจทก์ได้ดำเนินการตามสัญญาให้เรียบร้อยแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 ดังกล่าวอาจเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 3 ให้เป็นตัวแทนเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงนี้ศาลล่างรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิดตามสัญญา
การที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยได้ตกลงทำสัญญาโดยถ้อยคำในสัญญาใช้คำว่าช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวโจทก์เบิกความว่า ค่าวิ่งเต้นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศ เช่น ค่ารถ ค่าเสียเวลา เจ้าหน้าที่ไม่เคยเรียกเงินจากโจทก์ ส่วนจำเลยไม่มีพยานสืบให้เห็นว่าเป็นการให้วิ่งเต้นเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างไร เพียงแต่ในการดำเนินการยื่นคำขอโควตาให้จำเลยที่ 1 โจทก์ได้ให้ ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างของกรมการค้าต่างประเทศช่วยติดตามดูแลเรื่องให้และจะแบ่งค่านายหน้าให้ การกระทำของ ก.ทางกรมการค้าต่างประเทศเห็นว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ ประพฤติตนเป็นตัวแทนและนายหน้าให้บุคคลภายนอกโดยมีสินจ้าง เป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมจึงให้ออกจากราชการย่อมเห็นได้ว่า ก.เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาให้โควตาสิ่งทอ แต่ช่วยติดตามดูแลเรื่องให้โจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยทำสัญญาเพื่อให้โจทก์วิ่งเต้นให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการตกลงกันให้กระทำผิดกฎหมาย สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าพยานดังกล่าวเป็นพยานสำคัญเพราะจะได้สนับสนุนให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นขณะทำสัญญานั้นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้กล่าวอ้างมาแต่ในศาลล่างทั้งสอง เพิ่งจะมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์โดยตรง คงอุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องเรื่องตัวแทน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3เป็นตัวแทนในการทำสัญญา จึงยังคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวว่าตามคำฟ้องโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนแล้วข้อฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากับโจทก์ ให้โจทก์ช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้ค่าตอบแทนโหลละ30 บาท โจทก์ได้จัดการติดต่อให้จำเลยที่ 1 ได้รับโควตา จึงเรียกเงินค่าตอบแทนเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนหรือค่าจ้างในการที่โจทก์ได้จัดการให้จำเลยที่ 1ตามสัญญา เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญาเรียบร้อยแล้วย่อมมีสิทธิจะได้รับเงินค่าตอบแทนตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ได้รับประโยชน์จากโควตา และเรียกเก็บเงินจากการขายสินค้าไม่ได้ ทั้งไม่เคยนำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ แม้จะเป็นจริงอย่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างก็ไม่ทำให้พ้นความรับผิด เพราะโจทก์ได้ดำเนินการตามสัญญาให้เรียบร้อยแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 ดังกล่าวอาจเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 3 ให้เป็นตัวแทนเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงนี้ศาลล่างรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิดตามสัญญา
การที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยได้ตกลงทำสัญญาโดยถ้อยคำในสัญญาใช้คำว่าช่วยยื่นคำขอและวิ่งเต้นขออนุญาตโควตาสิ่งทอเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตัวโจทก์เบิกความว่า ค่าวิ่งเต้นหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศ เช่น ค่ารถ ค่าเสียเวลา เจ้าหน้าที่ไม่เคยเรียกเงินจากโจทก์ ส่วนจำเลยไม่มีพยานสืบให้เห็นว่าเป็นการให้วิ่งเต้นเพื่อให้สินบนแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างไร เพียงแต่ในการดำเนินการยื่นคำขอโควตาให้จำเลยที่ 1 โจทก์ได้ให้ ก.ซึ่งเป็นลูกจ้างของกรมการค้าต่างประเทศช่วยติดตามดูแลเรื่องให้และจะแบ่งค่านายหน้าให้ การกระทำของ ก.ทางกรมการค้าต่างประเทศเห็นว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ ประพฤติตนเป็นตัวแทนและนายหน้าให้บุคคลภายนอกโดยมีสินจ้าง เป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมจึงให้ออกจากราชการย่อมเห็นได้ว่า ก.เป็นเพียงลูกจ้างไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาให้โควตาสิ่งทอ แต่ช่วยติดตามดูแลเรื่องให้โจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์กับฝ่ายจำเลยทำสัญญาเพื่อให้โจทก์วิ่งเต้นให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ อันจะเป็นการตกลงกันให้กระทำผิดกฎหมาย สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290-5293/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุงานลูกจ้างเก่าเมื่อโอนมาทำงานการไฟฟ้านครหลวงตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 53 ที่บัญญัติว่า"นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป ให้ข้าราชการและลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล ซึ่งต้องออกจากราชการเพราะการยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาลและลูกจ้างของการไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นพนักงาน โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งเงินเพิ่มเท่าที่ได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อน และให้คณะกรรมการกำหนดอัตราเงินเดือนพนักงานดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องบรรจุโดยให้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่รับอยู่เดิม ทั้งนี้ให้เสร็จภายในหกสิบวัน"นั้น เป็นการกำหนดให้ลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล โอนมาเป็นพนักงานของการไฟฟ้านครหลวงตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้และมิได้ระบุถึงลูกจ้างประเภทใด จึงต้องหมายถึงลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงทุกประเภทแม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของกองไฟฟ้าหลวง ก็มีฐานะเป็นลูกจ้างตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 โจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย ส่วนการที่จำเลยจะดำเนินการเกี่ยวกับวิธีบรรจุโจทก์อย่างไรและเมื่อใดนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ถูกต้องตามวิธีการของจำเลยเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทกฎหมายดังกล่าวเสียไป
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย
ข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยกองทุนเงินบำเหน็จพนักงานอันเป็นข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จ กำหนดว่า "การนับอายุงานของพนักงานเพื่อคำนวณเงินบำเหน็จสำหรับพนักงานซึ่งเดิมเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาล และได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงตามความในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 ติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่และได้รับบำเหน็จ บำนาญ หรือเงินทดแทนกรณีที่ต้องออกจากราชการเพราะยุบเลิกกองไฟฟ้าหลวงกรมโยธาเทศบาลแล้ว ให้นับอายุงานตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501... โจทก์เป็นลูกจ้างของกองไฟฟ้าหลวงและได้รับบรรจุให้ปฏิบัติงานในการไฟฟ้านครหลวงโดยได้ทำงานติดต่อกันมาจนถึงวันที่พ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุ การนับอายุงานของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2501 ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย